อดีตสหภาพร้อง “ITF” กดดันคงสวัสดิการคน”การบินไทย” 

27 พ.ค. 2563 | 14:22 น.

อดีตสหภาพฯ การบินไทย ออกโรงเตรียมส่งหนังสือถึงสหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศ ITF กดดันรัฐบาลไทยเดินตาม 3 ข้อคงสิทธิ์สวัสดิการพนักงาน  สภาพการจ้างจนถึงขอเอี่ยวทำแผนฟื้นฟู 

นายนเรศ ผึ้งแย้ม อดีตประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย เผยว่า หลังจากอดีตตัวแทนสหภาพฯ ได้เข้าร่วมประชุมในคณะกรรมการสหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศ (ITF) ของไทย ซึ่งเป็นการประชุมวาระพิเศษกรณี บริษัทการบินไทยจำกัด(มหาชน) ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการผ่านศาลล้มละลายกลาง และกระทรวงการคลังได้ขายหุ้น 3.17 % จนส่งผลให้การบินไทยกลายเป็นบริษัทเอกชน หลุดพ้นจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ 

อดีตสหภาพร้อง “ITF” กดดันคงสวัสดิการคน”การบินไทย” 

การประชุมครั้งนี้ที่ประชุมได้มีมติให้ส่งคำร้องต่อสหพันธ์แรงานขนส่งระหว่างประเทศ(ITF) ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ เพื่อให้ทำหนังสือกดดันมายังรัฐบาลไทย 3 ข้อคือ 
1.คงสวัสดิการและสภาพการจ้างพนักงาน 
2.การปลดพนักงานให้ทำหลังจากแผนฟื้นฟูสำเร็จ
3.แผนฟื้นฟูให้มีตัวแทนแรงงานเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย 

นอกจากนี้ วันนี้ (27 พ.ค.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ได้ออกแถลงการณ์ ฉบับที่1 เรื่องมติเอกฉันท์องค์กรสมาชิก สรส. แต่งตั้งคณะทำงานฟื้นฟูการบินไทย โดยมีสาระสำคัญ คือ ตามที่รัฐบาลโดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติในการฟื้นฟการบินไทย ผ่านกระบวนการล้มละลาย

อดีตสหภาพร้อง “ITF” กดดันคงสวัสดิการคน”การบินไทย” 

อันเนื่องมาจากความล้มเหลวในการฟื้นฟูการบินไทยตามแผนที่ฝ่ายบริหารได้จัดทำขึ้น และได้เสนอผ่านสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) สังกัดกระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่และผ่านคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานและได้ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปก่อนหน้านี้กว่า 2 ปี ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ทุกฝ่ายมีการรับรู้ในการดำเนินการทำแผน มีการรายงานทุกครั้งในการประชุม คนร. ยกเว้น สหภาพแรงงานและพนักงานที่ไม่มีส่วนรับรู้แต่ประการใด

จนในที่สุดกระบวนการฟื้นฟูตามแผนเติมที่ผู้บริหาร สคร. คนร. และ ครม. รับรู้และมีส่วนร่วมนั้นล้มเหลวโดยสิ้นเชิง แต่ปราศจากผู้รับผิดชอบ จนในที่สุดต้องเข้าสู่กระบวนการล้มละลายและจะค้ำประกันเงินกู้ให้การบินไทยฟื้นฟู อีกเป็นจำนวน 54,000 ล้านบาท จนสังคมต้องก่นด่าผ่านสื่อออนไลน์รวมทั้งสื่อมวลชนต่างพร้อมใจกันเสนอข่าวและเป็นช่วงในสถานการณ์การแพร่ระบาตของไวรัสโควิด-19

อดีตสหภาพร้อง “ITF” กดดันคงสวัสดิการคน”การบินไทย” 

และรัฐบาลต้องออก พ.ร.ก. กู้เงิน 1.9 ล้านล้าน บาทเพื่อเยียวยาประชาชน และยังไม่ทันเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย ยังไม่ยื่นต่อศาลล้มละลาย ยังไม่มีการแต่งตั้งคณะทำงานในการฟื้นฟู กระทรวงการคลังก็ได้ขายหุ้นบริษัทการบินไทยออกไปทันทีจำนวน 69 ล้านหุ้น ๆ ละ 4.03 บาท จำนวนเงิน 278 ล้นบาท คิดเป็นสัดส่วน 3.17 เปอร์เซ็นต์ ทั้ง ๆ ที่การบินไทยมีหนี้สินสูงถึง 246,000 ล้านบาท ซึ่งการขายหุ้นออกไปจำนวนดังกล่าวไม่ได้ช่วยให้สถานะหนี้ของการบินไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากแต่ประการใด

ทั้งนี้ การขายหุ้นออกไปจนกระทรวงการคลังถือหุ้นน้อยกว่า 51%  ทำให้บริษัทการบินไทยพันสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ และทำให้การตรวจสอบ การมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูจากพนักงานการบินไทยสิ้นสุดลงตามนัยของกฎหมายเพราะจะทำให้สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยสิ้นสภาพไปด้วย จากนี้ไปการดำเนินการก็ปราศจากการมีส่วนร่วมและการตรวจสอบจากคนการบินไทย จากที่กล่าวมาคงกล่าวได้ว่านี่คือ "ขบวนการปล้นการบินไทย สายการบินแห่งชาติ" "คือขบวนการล้มสหภาพแรงงาน"

อดีตสหภาพร้อง “ITF” กดดันคงสวัสดิการคน”การบินไทย” 

ซึ่งได้พยายามทำมาก่อนหน้านี้และมาบรรลุในสถานการณ์โควิด-19 และการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และที่สำคัญ "คนที่พยายามทำลายการบินไทย สายการบินแห่งชาติ ตั้งแต่ต้น นับแต่ปี 2544 ก็ยังเป็นเสนาบดีในรัฐบาลชุดนี้" ทั้งที่จริงแล้ว เมื่อมีเหตุที่ต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูโดยผ่านกระบวนการโดยศาลล้มละลายทุกอย่างต้องหยุด เพื่อรอคำสั่งของศาลว่าให้ดำเนินการอย่างไร แต่กรณีนี้เร่งรีบในการขายหุ้น เร่งรีบแย่งชิงในการเสนอคนของตนเองเข้าไปเป็นคณะทำงาน และคณะกรรมการในการตรวจสอบของรัฐมนตรีและพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องซึ่งชี้ให้เห็นถึงเงื่อนงำที่ไม่น่าไว้วางใจ

อดีตสหภาพร้อง “ITF” กดดันคงสวัสดิการคน”การบินไทย”  อดีตสหภาพร้อง “ITF” กดดันคงสวัสดิการคน”การบินไทย”