"การบินไทย" เขย่าองค์กรโครงสร้างองค์กรใหม่ ปลดอีก6พันคน

20 ก.พ. 2564 | 00:30 น.

การบินไทย ไฟเขียวโครงสร้างองค์กรใหม่ ทั้งวางแผน 5 ปี เขย่าโครงสร้างคน-ฝูงบิน รับแผนฟื้นฟูกิจการที่จะชงศาลพิจารณา 2 มี.ค.นี้ ลุยดาวน์ไซส์องค์กร ปีนี้เหลือ9 พัน-1.1 หมื่นคน วางเป้าลดพนักงานเหลือ 1.3-1.5 หมื่นคนในปี 68 เปิดเออรี่รีไทร์ ล็อต 2 และ 3 พร้อมกัน ทยอยให้พนักงานยื่นสมัครลาออกได้ใน 4 ช่วง

การบินไทย ไฟเขียวโครงสร้างองค์กรใหม่ มีผล 1 พ.ค.นี้ ผุด 8 สายงานลดระดับชั้นฝ่ายบริหาร ทั้งวางแผน 5 ปี เขย่าโครงสร้างคน-ฝูงบิน รับแผนฟื้นฟูกิจการที่จะชงศาลพิจารณา 2 มี.ค.นี้ ลุยเดินหน้าดาวน์ไซส์องค์กร ปีนี้เหลือ 9 พัน-1.1 หมื่นคน วางเป้าลดพนักงานเหลือ 1.3-1.5 หมื่นคนในปี 68 เปิดโครงการเออรี่รีไทร์ ล็อต 2 และ 3 พร้อมกันทยอยให้พนักงานมายื่นสมัครได้ใน 4 ช่วง

ขณะนี้บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างองค์กรและแผนการปรับปรุงฝูงบิน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนฟื้นฟูกิจการ ที่บริษัทฯ จะยื่นแผนฟื้นฟูต่อศาลล้มละลายกลาง ในวันที่ 2 มีนาคมนี้

พนักงานไม่เกิน 1 หมื่นคน 

ทั้งนี้แผนการลดจำนวนพนักงาน การบินไทยวางเป้าหมายไว้ในอีก 5 ปีข้างหน้าหรือภายในปี 68 การบินไทยจะคงเหลือพนักงานอยู่ที่ 1.3-1.5 หมื่นคน ลดลงราว52% จากที่ก่อนที่การบินไทยจะยื่นฟื้นฟูกิจการ เมื่อวันที่ 27 พ.ค. 63 การบินไทยมีจำนวนพนักงานในปี 62 อยู่ที่ 2.9 หมื่นคน ในปี 63 การบินไทย มีพนักงาน 1.9-2.1 หมื่นคน

ส่วนในปี 64 ก่อนปรับโครงสร้างจะมีพนักงานอยู่ที่ 1.3-1.5 หมื่นคน (รวมพนักงานที่ลาหยุดระยะยาว)รวมพนักงานที่จะเกษียณอายุในปีนี้ 550 คน แต่หลังปรับโครงสร้างและการเปิดโครงการร่วมใจจากในล็อตที่ 2 และล็อตที่ 3 รวมถึงการเปิดโครงการลาหยุดโดยไม่รับเงินเดือนที่เกิดขึ้น ก็คาดว่า จำนวนพนักงานในปีนี้จะอยู่ที่ 9 พันคน-1.1 หมื่นคน และจนถึงปี 68 พนักงานการบินไทยน่าจะขยับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 1.3-1.5 หมื่นคน

แหล่งข่าวระดับสูงจากบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ในปี 62 การบินไทยมีค่าใช้จ่ายเงินเดือนพนักงาน(ไม่รวมค่าเบี้ยเลี้ยง) อยู่ที่ 13,800 ล้านบาท แต่หลังจากการบินไทยเปิดโครงการร่วมใจเสียสละเพื่อองค์กร(Mutual Separation Plan A หรือ (MAP A) ที่มีพนักงานสมัครใจลาออกไปแล้ว 2,200 คนซึ่งมีผลไปเมื่อวันที่ 1 ธ.ค.63

รวมถึงโครงการ Together We Can (ปรับลดเงินและค่าตอบแทน หรือจ่ายเงินเดือนอยู่ที่ 20% และโครงการลาระยะยาว (LW20) ก็ทำให้ค่าใช้จ่ายเงินเดือนลดลงไป18% อยู่ที่ราว 11,300 ล้านบาท

 

เปิดเออร์ลี่ล็อต 2-3

ล่าสุดการบินไทยได้มีการเปิดโครงการร่วมใจเสียสละเพื่อองค์กร(Mutual Separation Plan B หรือ (MAP B) ก็จะทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายเงินเดือนในปี 64 ลงได้ 33% เหลืออยู่ที่ราว 9,300 ล้านบาท (ยังไม่รวมการเปิดโครงการร่วมใจเสียสละเพื่อองค์กร(Mutual Separation Plan C หรือ (MAP C ) ที่เปิดให้พนักงานทยอยยื่นสมัครใจลาออกในทั้ง 2 โครงการได้ตั้งแต่วันที่ 19 ก.พ.64 เป็นต้นไป

ทั้ง 2 โครงการเปิดให้ยื่นสมัครได้ 4 ช่วง ช่วงที่ 1 เปิดให้ยื่นวันที่19ก.พ.-2 มี.ค.64 ประกาศผล 5 มี.ค.64 ช่วงที่ 2 เปิดให้ยื่นวันที่ 2 มี.ค.-16 มี.ค. 64 ประกาศผล 19 มี.ค.64 ช่วงที่ 3 เปิดให้ยื่นวันที่ 16 มี.ค.-1 เม.ย.64 ประกาศผล 5 เม.ย.64 และช่วงที่ 4 เปิดให้ยื่นวันที่ 1-19 เม.ย.64 ประกาศผล 23 เม.ย.64 และการลาออกของทุกช่วง จะมีผลพร้อมกันในวันที่ 1 พ.ค.64

ทั้งนี้โครงการMAP B จะเปิดให้ผู้ที่ยื่นเคยสมัครโครงการลาระยะยาว (LW20)ไว้แล้ว เป็นเวลา 6 เดือน (วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563-30 เมษายน 2564) ที่มีผู้เข้าร่วมโครงการ 2,699 คน สามารถยื่นสมัครใจลาออกในโครงการนี้ได้ ซึ่งเดิมคนที่เข้าร่วมโครงการนี้เคยแสดงความสนใจว่าจะยื่นสมัครใจลาออก (MAP B) ไว้แล้ว 360 คน

โดยส่วนใหญ่กลุ่มที่ลาระยะยาวจะเป็นนักบินและลูกเรือ เนื่องจากการบินไทยไม่ได้ทำการบินเหมือนเดิม โดยในปี 62 จากที่เคยทำการบินอยู่ 83 เมือง มีเครื่องบินทั้งหมด 102 ลำ ในปี 63 ทำการบินได้ 15-25 เมืองเท่านั้นส่วนใหญ่เป็นคาร์โก้ และเที่ยวบินกึ่งพาณิชย์บ้าง ใช้เครื่องบินได้อยู่เพียง 17-25 ลำ (รวมไทยสมายล์)

ประกอบกับแผนการบินในปี 64 ก็ยังคงต้องขึ้นกับสถานการณ์ของโควิด-19 โดยในปี 64 การบินไทยวางแผนว่าจะทำการบินเพิ่มเป็น 45-55 เมือง ใช้เครื่องบินได้ 37-45 ลำ และจนถึงปี 68 จะเพิ่มมาเป็น 75-80 เมือง ใช้เครื่องบินราว 69-75 ลำ หรือลดจำนวนการใช้เครื่องบินลงกว่า 26% แต่จะทำการบินได้หรือไม่ ต้องรอดูนโยบายของแต่ละประเทศด้วย

ดังนั้นกลุ่มนักบินและลูกเรือ ก็ยังคงได้รับผลกระทบต่อเนื่อง เพราะการบินไทยมีแผนจะลดปรับจำนวนฝูงบินลง โดยในปี 62 การบินไทยมีเครื่องบินทั้งหมด 102 ลำ (รวมให้ไทยสมายล์เช่า) แต่ท้ายสุดในปี 68 จะเหลือเครื่องบินสูงสุดใช้งานไม่เกิน 75 ลำ โดยการบินไทยมีแผนจะขายเครื่องบินออกไปจำนวน 9 รุ่น รวม 42 ลำ และคงเหลือเครื่องบินไว้บริการจำนวน 3 รุ่น ได้แก่ แอร์บัสเอ 350-900, โบอิ้ง 777-300ER และโบอิ้ง 787 ทำให้เหลือนักบินอยู่ที่ 905 คน นักบินราว 400 คน และลูกเรือก็จะได้รับผลกระทบ

ส่วนการเปิดโครงการ MAP Cจะเปิดให้พนักงานที่ไม่ประสงค์คัดเลือกเข้าทำงานตามโครงสร้างใหม่ หรือพนักงานที่สมัครคัดเลือกเข้าตำแหน่งตามโครงสร้างใหม่ แต่ไม่ได้รับคัดเลือก สามารถยื่นสมัครใจลาออกในโครงการนี้ได้


แผนการลดจำนวนพนักงาน

ไฟเขียวโครงสร้างใหม่

ทั้งนี้สำหรับการปรับโครง สร้างใหม่ของการบินไทย ที่จะมีผลในวันที่ 1 พ.ค.นี้ จะแบ่งออกเป็น 8 ฝ่าย ขึ้นกับประธานเจ้าหน้าที่บริหารการบินไทย ได้แก่ สายการพาณิชย์, สายปฏิบัติการ,สายช่าง, สายการเงินและการบัญชี,สายทรัพยากรบุคคล,ฝ่ายดิจิทัล, ฝ่ายขับเคลื่อนองค์กร และหน่วยธุรกิจการบิน

โครงสร้างใหม่การบินไทย

รวมถึงปรับลดระดับชั้นฝ่ายบริหารจาก 8 ระดับเหลือ 4 ระดับ (ไม่รวมตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารหรือ DD ได้แก่ 1.ระดับประธานเจ้าหน้าที่ 2. ระดับผู้อำนวยการฝ่าย/กรรมการผู้จัดการ 3.ระดับหัวหน้าฝ่าย 4.ระดับหัวหน้ากลุ่มงาน เพื่อลดความซ้ำซ้อน และแก้ปัญหาโครงสร้างขององค์กรที่เป็นในลักษณะไซโล

อย่างไรก็ตามโครงการ MAP B และได้รับสิทธิประโยชน์บัตรโดยสารสำรองที่นั่งไม่ได้ (R2 100%) รวม 20 ใบ (ไป-กลับ) จำกัดเส้นทางต่างประเทศไม่เกิน 15 ใบ และจะแบ่งจ่ายเป็นรายเดือน โดยการจ่ายก็ไม่พร้อมกันในแต่ละช่วงที่สมัคร อาทิ คนสมัครช่วงที่ 1 เริ่มจ่ายงวดแรกมิ.ย.64 คนสมัครช่วงที่ 4 จะได้รับเงินงวดแรก ก.ย. 64

ส่วน MAP C จะเริ่มจ่ายงวดแรกในเดือนมิ.ย.นี้ คนสมัครช่วงที่ 4 จะได้รับเงินงวดแรก ธ.ค. 64 พนักงานจะได้รับค่าจ้างสูงสุด 400 วัน สำหรับพนักงานที่มีอายุครบ 50 ปีขึ้นไป จะได้รับค่าตอบแทนพิเศษเพิ่มอีก 1 เดือนได้รับสิทธิประโยชน์บัตรโดยสารสำรองที่นั่งไม่ได้ (R2 100%) เริ่มต้นที่ 12-20 ใบไป-กลับ 

หน้า 1 ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,655 วันที่ 21 - 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :