ตามร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เพื่อปลดล็อคส่วนของกัญชาและกัญชง ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่จัดเป็นยาเสพติดนั้น ซึ่งนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ลงนามในประกาศดังกล่าวและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค.2563
อย. ย้ำถึงรายละเอียดของประกาศว่า เป็นการปลดล็อคส่วนของกัญชา และกัญชงให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่จัดเป็นยาเสพติด ยกเว้นช่อดอก และเมล็ดกัญชา ทั้งนี้ เนื่องจากตามอนุสัญญายาเสพติดระหว่างประเทศยังควบคุมเป็นยาเสพติด แต่ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้ อย่างไรก็ตาม หลักๆ ของการปลดล็อคจากยาเสพติดคือ
1.ใบที่ไม่ติดกับช่อดอก เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่ง ก้าน ราก ไม่เป็นยาเสพติด
2.เมล็ดกัญชง น้ำมัน สารสกัด เมล็ดกัญชง
3.สารสกัด CBD และในส่วนสาร THC ต้องไม่เกิน 2%
ส่วนที่ยังเป็นยาเสพติด คือ ช่อดอกกัญชาและกัญชง รวมทั้งเมล็ดกัญชายังไม่ปลดล็อคจากยาเสพติด
ทั้งนี้การปลูก สกัด และผลิต ทั้งหมดยังต้องขออนุญาตจาก อย. ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติด ฉบับที่ 7 แต่เมื่อปลูกไปแล้วส่วนที่มีสาร THC ต่ำ ไม่เป็นอันตราย สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ต้องทำลายทิ้ง โดยผู้ขออนุญาตจะต้องแจ้ง อย.ว่าจะนำส่วนที่ไม่เป็นยาเสพติดไปใช้ประโยชน์อย่างไร
โดยส่วนที่ปลดล็อกจากยาเสพติดสามารถนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ อาทิ ใบ ทำเป็นชา หรือสครับผิวในเครื่องสำอาง แชมพูและสบู่ ส่วนราก ก็สามารถนำมาสับเป็นผงขัดผิว หรือยาสมุนไพร ส่วนกิ่งก้าน ยังเป็นตำรับยาแผนไทย เป็นต้น
ส่วนวัตถุดิบที่เหลืออาทิเปลือก ลำต้น เส้นใย ฯลฯ ที่ปลดล็อกแล้วสามารถนำไปผลิตเพื่อใช้ประโยชน์อื่นๆได้ โดยผู้ที่จะนำวัตถุดิบเหล่านี้ไปใช้จะต้องนำมาจากผู้ที่ได้รับอนุญาตปลูก สกัด ผลิตเท่านั้น ซึ่งจะมีเลขที่อนุญาต ซึ่งสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ที่ได้รับอนุญาตกับทาง อย.โดยตรง
โดยผู้มีคุณสมบัติขออนุญาต คือ หน่วยงานรัฐ สถาบันอุดมศึกษา เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ เภสัชกร แพทย์แผนไทย เป็นต้น โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์จะต้องร่วมกับหน่วยงานรัฐตามเงื่อนไข
ข่าวที่เกี่ยวข้อง: