ไขคำตอบทำไม “ซีพี” เลือกร่วมทุนผลิตวัคซีน “ซิโนแวค ไบโอเทค”

05 ม.ค. 2564 | 21:04 น.
อัปเดตล่าสุด :06 ม.ค. 2564 | 04:15 น.

ไขคำตอบทำไม “ซีพี” ยอมทุ่ม 1.5 หมื่นล้านร่วมทุนผลิตวัคซีน “ซิโนแวค ไบโอเทค” หลังก่อนหน้าแก้ปัญหาหน้ากากขาดแคลนสร้างโรงงานผลิตในประเทศ

จู่ๆ เมื่อเร็วๆ นี้มีข่าวใหญ่สำหรับประเทศไทย เมื่อสื่อญี่ปุ่นรายงานออกมาว่า “ซิโนแวค ไบโอเทค” ระดมทุนจากนักลงทุนได้ 515 ล้านดอลลาร์ช่วยเพิ่มกำลังกาผลิตวัคซีนโคโรนาแวค เป็น 2 เท่า ที่สำคัญหนึ่งในนั้นมีชื่อชั้นอย่างยักษ์ใหญ่ของกลุ่มซีพี รวมอยู่ ยิ่งทำให้คนไทยทั้งประเทศเริ่มใจชื่นจะรอดพ้นจากไวรัสร้ายโควิด-19

 

เว็บไซต์นิกเคอิเอเชียนรีวิว รายงานเมื่อวันที่ 7 ธันวาคมที่ผ่านมา ว่า บริษัท ไซโน ไบโอฟาร์มาซูติคอล ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง นั้นมีชื่อของ ซีพี ฟาร์มาซูติคอล กรุ๊ปถือหุ้นใหญ่ ลงทุน 515 ล้านดอลลาร์ ถือครองหุ้น 15% ใน "ซิโนแวค ไลฟ์ไซน์ส" หน่วยธุรกิจรับผิดชอบผลิตวัคซีนโคโรนาแวคของ บริษัท ซิโนแวค นักลงทุนรายอื่น ได้แก่ กองทุนแอดแวนเทคแคปิตอลของจีน และวีโวแคปิตอลของสหรัฐ ที่ก่อนหน้านี้เคยแปลง เงินกู้ให้ซิโนแวคเป็นหุ้นในซิโนแวคไลฟ์ไซน์ส ลดสัดส่วนการถือหุ้นลงจาก 7.5% เหลือ 6.3% หลังจากไซโนไบโอฟาร์มเข้าลงทุน

ถามว่าเป็นข่าวดีหรือไม่ ต้องบอกว่าเป็นข่าวดีที่ “ซีพี” ของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ร่วมลงทุนผลิตวัคซีน “ซิโนแวค ไบโอเทค”

 

แต่ก็มาแปลกใจตรงที่ความบังเอิญ หรือ ความตั้งใจ  เป็นเพราะเมื่อวันที่ 5 ม.ค. ที่ผ่านมาเป็นวันประชุมคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ปรากฏว่า ที่ประชุม ครม.มีมติอนุมัติงบซื้อ "วัคซีนโควิด" ล็อตแรก 2 ล้านโดส ทยอยส่งถึงไทยมีนาคมนี้ พร้อมมีรายละเอียดไทม์ไลน์ฉีดวัคซีน "ซิโนแวค ไบโอเทค"

 

ขณะที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่า ครม.อนุมัติงบประมาณให้กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) จัดซื้อวัคซีนโควิดล็อตแรกแล้วจำนวน 2 ล้านโดส  

 

ส่วนวัคซีนปลายมีนาคมจะเข้ามา 8 แสนโดส เพื่อรองรับประชาชน 4 แสนคน  เดือนเมษายนอีก 1 ล้านโดส รองรับประชาชน 5 แสนคน และปลายเดือนพฤษภาคมหรือเดือนมิถุนายนอีก 26 ล้านโดส เพื่อประชาชน 13 ล้านคน 

 

“พร้อมสั่งจองวัคซีนโควิดของแอสตร้าเซนเนก้าอีก 35 ล้าน โดส รวมทั้งหมดจะมีเกือบ 60 ล้านคนตามระยะที่วัคซีนเข้ามา เพราะจะต้องฉีดคนละ 2 โดส ในระยะเวลาห่างกัน 4 สัปดาห์ ซึ่งทั้งหมดจะต้องผ่านมาตรฐานอย.ของประเทศไทยด้วย และต่างประเทศด้วย”

 

ไขคำตอบทำไม “ซีพี” เลือกร่วมทุนผลิตวัคซีน “ซิโนแวค ไบโอเทค”

 

 

ส่วนทางด้าน นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่า ครม.อนุมัติงบกลางให้กับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อใช้ในการจัดซื้อ วัคซีนโควิด 2 ล้านโดส ของ Sinovac (ซิโนแวค ไบโอเทค)  และค่าการบริหารจัดการและเก็บรักษาวัคซีน รวม 1.3 พันล้านบาท และรัฐบาลได้สั่งจองวัคซีน AstraZeneca ที่ผลิตโดยสยามไบโอไซเอนซ์ เพิ่มเติมอีก 35 ล้านโดส จากที่จองไปแล้ว 26 ล้านโดส

 

 

ถ้าจำกันได้ก่อนหน้านี้ช่วงไวรัสโควิด-19 ระบาดในประเทศไทยรอบแรก มีการกักตุนหน้ากากอนามัยจนขาดตลาด  แต่เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด ทุ่มเงินกว่า 100 ล้านบาท ลงทุนสร้างโรงงานผลิตหน้ากากอนามัย

 

โดยเจ้าสัวธนินท์ บอกเหตุผลสร้างโรงงานผลิตหน้ากากครั้งนี้ว่า ยึดประโยชน์เพื่อประเทศชาติ เพื่อประชาชน โดยเฉพาะวิกฤตโรคระบาดครั้งนี้เกิดในประเทศไทย ถือเป็นหน้าที่ของเครือซีพีในการทำเพื่อคนไทย จึงได้ตัดสินใจนำเงินจำนวนประมาณ100 ล้านบาท เร่งสร้างโรงงานจนแล้วเสร็จผลิตหน้ากากอนามัย จำหน่ายในร้าน 7-11

 

ถาม? ต่อว่า การอนุมัติจัดซื้อวัคซีน “ซิโนแวค ไบโอเทค” ของรัฐบาล คนไทยรู้สึกอย่างไร? คำตอบ คือ น่าจะมีนัยยะอะไรบ้างอย่าง แต่สุดท้ายแล้วเมื่อไทยมีวัคซีนประชาชนรู้สึกมีความหวัง เพราะวัคซีนเป็นภูมิคุ้มกันต้านเชื้อโควิด-19 ได้เป็นอย่างดีเมื่อมีวัคซีนเศรษฐกิจในประเทศขับเคลื่อนไปข้างหน้า

 

เพราะชั่วโมงนี้ใครจะกล้าเสี่ยงลงทุนถ้าไม่ใช่ “กลุ่มซีพี” ที่มีอาณาจักรธุรกิจเป็นที่รู้จักทั้งในและนอกประเทศ มีสินทรัพย์มากว่าแสนแสนล้านบาท

 

แม้จะมีคำถาม? จากนายวัน อยู่บำรุง ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย ที่ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก  “C.P. ทุ่ม !! “รัฐบาลไทย” ก็คงสั่งซื้อ วัคซีนจาก C.P. WIN WIN !!! ... เรือล่มในหนอง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ซีพี ทุ่ม 1.5 หมื่นล้าน ลงทุนผลิตวัคซีน “ซิโนแวคไบโอเทค"

"โควิดสมุทรสาคร" ติดเชื้อกระจาย 45 จังหวัด

เฮ ครม.อนุมัติงบซื้อ "วัคซีนโควิด" ล็อตแรก2ล้านโดส ส่งถึงไทยมีนาคมนี้

เปิดมติครม. ไทม์ไลน์ “วัคซีนโควิด” 63 ล้านโดส ฉีดให้คนไทย