รายงานข่าวระบุว่า คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดชลบุรี ได้ออกคำสั่งฉบับที่ 12/2564 เรื่อง มาตการเร่งด่วนในการป้องกันวิกฤตการณ์จกโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) โดยมีข้อความว่า
ตามที่ ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมานายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ได้มีมติให้ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศสถานกรณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรมาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับจังหวัดชลบุรี ได้มีคำสั่งคณะกรมการโรคติดต่อจังหวัดชลบุรี ในการกำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิ 19 ในพื้นที่จังหวัดชลบุรีให้สอดคล้องและเป็นไปตามสถานการณ์การแพรระบาดของโรคมาอย่างต่อเนื่องด้วยแล้ว นั้น
เพื่อเป็นการควบคุมกรเพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่จังหวัดชลบุรีจึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 มาตรา 34 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ประกอบกับข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1 ) ลงวันที่ 2 มีนาคม 2563 และข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่16) ลงวันที่ 3 มกราคม 2564 ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดชลบุรี จึงให้ดำเนินการในท้องที่จังหวัดชลบุรี ดังต่อไปนี้
1.ให้ปิดสถานประกอบการโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโงแรม และสถานประกอบการในลักษณะคล้ายโรงแรมในพื้นที่จังหวัดชลบุรี เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่บัดนี้จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง โดยปฏิบัติ ดังนี้
1.1ให้สถานประกอบการกำหนดมาตรการสำหรับดูแล ช่วยเหลือพนักงาน ลูกจ้างที่ทำงานในสถานประกอบการ เพื่อให้ชะลอการเดินทางออกนอกพื้นที่จังหวัดชลบุรี
1.2สถานประกอบการใด ยังมีผู้เข้าพักใช้บริการอยู่ในปัจจุบัน หรือมีความประสงค์ยังไม่ปิดการประกอการ ให้แจ้งข้อมูลให้กับนายอำเภอท้องที่ทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับ
2.ให้ปิดสถานที่ท่องเที่ยว ทั้งของทางราชการและเอกชน ทั้งที่เรียกเก็บค่าบริการหรือไม่เก็บค่าบริการทุกแห่งในพื้นที่จังหวัดชลบุรี เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่บัดนี้จนว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง โดยถือปฏิบัติให้เป็นไปตามแนวทางข้อ 1.1และข้อ 1.2
อนึ่ง เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วน ซึ่งหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดผลเสียอย่างร้ายแรงแก่สาธารณชนหรือกระทบต่อ
ประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้ง ตามมาตรา 30 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2538 ผู้ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดชลบุรีนี้ ต้องระวางโทษเป็นไปตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 รวมทั้งและอาจมีความผิดตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกำหนด
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม พ.ศ.2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
สั่ง ณ วันที่ 28 มกราคม พ.ศ.2564
(นายภัครธรณ์ เทียนไชย)
ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดชลบุรี ผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวดี อย.ไฟเขียววัคซีนต้านโควิด-19 “แอสตราเซเนกา”
รวมข่าว "โควิด-19" วันที่ 28 ม.ค.64 แบบอัพเดทล่าสุด
ไทยยังเจ๋งติด 1 ใน 5 ประเทศรับมือ "โควิด-19" ดีที่สุดในโลก
ไปต่อไม่ไหว ปิดโรงงาน “แมรีกอท จิวเวลรี่” ปลดพนักงาน 2,600 คน เซ่นพิษโควิด
เปิดไทม์ไลน์กทม. พบพนง.สตาร์บัคส์ สาขาเอ็กซ์เชนจ์ทาวเวอร์ติด"โควิด"