รายงานข่าวระบุว่า ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ (หมอยง) หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสเฟซบุ๊ก (นพ.ยง ภู่วรวรรณ) ภายใต้หัวข้อ “โควิด-19 การให้ Plasma จากผู้ที่หายป่วยมารักษา”
ศูนย์บริการโลหิตได้เก็บ Plasma (พลาสมา) จากผู้ที่หายป่วยและมีภูมิต้านทานสูง ได้เป็นจำนวนมากพอสมควร ขณะนี้ได้เริ่มมีการนำมาใช้ในการระบาดรอบใหม่ เราไม่มีผลิตภัณฑ์ Monoclonal Antibody แบบที่ให้กับประธานาธิบดีอเมริกาเมื่อปีที่แล้ว
ผมเองได้ติดตามการรักษาโดยใช้ Plasma ในผู้ป่วย 10 รายที่มีอาการปอดบวมทั้งสองข้างหรือมีปอดบวมร่วมกับปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 94 เปอร์เซ็นต์ การรักษามีผู้เสียชีวิต 1 ราย แต่รายนี้ให้การรักษาค่อนข้างช้าเพราะมีภาวะหายใจล้มเหลวแล้ว และใส่ท่อช่วยหายใจแล้วจึงได้รับในรายที่รักษาตั้งแต่เริ่มมีปอดบวมที่เพิ่มมากขึ้น หลายรายได้ผลดีและกลับบ้านแล้ว ยังเหลืออยู่นอนในโรงพยาบาลอีก 4 ราย
หลักฐานทางวิชาการที่ผ่านมาการใช้ Plasma ในการรักษาจะต้องให้ตั้งแต่เริ่มแรก ในกลุ่มเสี่ยงที่มีปอดบวมก่อนที่ผู้ป่วยจะสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาได้เอง เพื่อลดจำนวนไวรัสลง ถ้าให้ช้าจนถึงภาวะปอดบวมรุนแรงหรือภาวะหายใจล้มเหลวแล้ว จะไม่เกิดประโยชน์ในการใช้ Plasma ขณะนี้ Plasma ที่เก็บไว้มีเป็นจำนวนมากพอสมควร และมีระดับภูมิต้านทานที่สูง มีเพียงพอที่จะไว้ใช้รักษาในการระบาดรอบใหม่นี้แน่นอน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รู้ยัง!เขตไหนในกทม.ที่มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 สูงสุด
เปิดไทม์ไลน์"ผู้ติดเชื้อโควิด"กทม.เพิ่มอีก 16 ราย
"หมอธีระ"ย้ำชัดไทยต้องตรวจโควิด-19 ต่อเนื่อง
อัพเดท กฟภ.เยียวยาโควิด ใครบ้างได้สิทธิ์ใช้ไฟฟ้าฟรี-ได้ส่วนลดค่าไฟ