รายงานข่าวระบุว่า ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ (หมอยง) หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสเฟซบุ๊ก (Yong Poovorawan) ภายใต้หัวข้อ “โควิด 19 วัคซีน”
ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากวัคซีน แยกจากกัน กับภูมิต้านทานที่เกิดจากการติดเชื้อ
วัคซีนที่ผลิตจาก mRNA และไวรัส vector เช่นวัคซีนของ Pfizer , AstraZeneca จะกระตุ้นสร้างภูมิต้านทานตอนนั้นแหลม spike เท่านั้น ถ้ามีการติดเชื้อ จะตรวจพบภูมิต้านทานต่อเปลือกผิวไวรัส nucleocapsid
ที่ศูนย์ ได้มีโอกาสตรวจคนไทย 2 คนที่กลับจากอเมริกา โดยที่ทั้งสองคนได้รับการฉีดวัคซีนของ Pfizer มาแล้ว 2 เข็ม และมีคนหนึ่งติดเชื้อมาก่อนฉีดวัคซีน เมื่อตรวจวัดภูมิต้านทานต้องยอมรับว่า ปริมาณที่ตรวจวัดได้จากการกระตุ้นภูมิต้านทานของวัคซีน Pfizer มี anti-spike ขึ้นสูงมากจริงๆ
ในขณะเดียวกัน คนที่ไม่เคยติดเชื้อมาก่อน ตรวจไม่พบภูมิต้านทานต่อ nucleocapsid
ในคนที่ติดเชื้อมาแล้ว จะตรวจพบ anti-nuclocapsid ภูมิต่อเปลือกนอกของไวรัส ดังแสดงในรูปทั้งสอง
ขณะนี้ที่ศูนย์ที่ทำวิจัยอยู่สามารถตรวจภูมิต้านทาน และวัดเชิงปริมาณได้เป็นอย่างดี และจะใช้ในการประเมินผลของวัคซีนได้ด้วย ว่าสามารถกระตุ้นสร้างภูมิต้านทานได้มากน้อยแค่ไหน
สิ่งที่อยากรู้ขณะนี้วัคซีนเชื้อตายของจีน ใช้ไวรัสทั้งตัว วัคซีนของจีนจึงน่าจะตรวจพบ ภูมิต้านทานต่อ เปลือกนอกของไวรัสด้วย (anti nucleocapsid)
ขณะนี้กำลังรอผู้ที่ได้รับวัคซีนของจีน ไม่ว่าจะมาจากตะวันออกกลาง หรือประเทศจีน หรือจะมีการฉีดในประเทศไทย เพื่อทำการตรวจเลือดดูระดับภูมิต้านทานทั้ง 2 ชนิด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
หมอธีระวัฒน์ชี้รักษาโควิด-19 ต้องคิดนอกกรอบ แต่ไม่ออกนอกลู่
หมอยงชี้ทั่วโลกกำลังพ้นจากหุบเหวของไวรัสโควิด-19
ยอดติดเชื้อโควิด 12 ก.พ.64 รายใหม่ 175 หายป่วยเพิ่ม 411 สะสมทะลุ 24,279 ราย
จุฬาฯประกาศปิดมหาวิทยาลัย12-28 ก.พ.ลดการแพร่โควิด-19
"นนทบุรี" เปิดไทม์ไลน์นักรังสีแพทย์ รพ.พระนั่งเกล้า ติดโควิด-19