รายงานข่าวระบุว่า ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha) โดยมีข้อความว่า การคัดกรองที่เข้าถึงได้ทุกคน
การคัดกรองว่ามีใครติดเชื้อหรือไม่ เป็นเรื่องใหญ่ที่สุดที่จะป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อและหยุดการระบาดให้ได้เพื่อทำให้เศรษฐกิจไม่ล่มจม ทั้งนี้เนื่องจากการแพร่เชื้อที่สำคัญจะมาจากคนที่ไม่มีอาการแทบทั้งสิ้น
การคัดกรองด้วยวิธีการหาเชื้อด้วยกระบวนการพีซีอาร์ ไม่สามารถระบุได้จากการตรวจเพียงครั้งเดียวและต้องการการตรวจซ้ำสองถึงสามครั้งทำให้งบประมาณบานปลายและการปฏิบัติยังทำได้ยากและเกิดความล่าช้าและความเสี่ยงทั้งผู้ปฏิบัติงานและในห้องแลป
การตรวจคัดกรองและสามารถวินิจฉัยได้ด้วยความแม่นยำและความไว 100% สามารถกระทำได้โดยการตรวจเลือดหาภูมิคุ้มกันซึ่งจะเป็นเครื่องชี้บอกว่าเกิดการติดเชื้อขึ้นแล้วและสามารถกระทำได้ทั้งในคนที่มีและไม่มีอาการก็ตาม
สำหรับคนที่มีอาการรายงานได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร PlosONe และสำหรับคนที่ไม่มีอาการนั้นล่าสุดจากกรณีของการระบาดในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปรียบเทียบคนที่ไม่มีอาการ 55 รายที่ปล่อยเชื้อได้จากการตรวจด้วยกระบวนการพีซีอาร์ พบว่าการตรวจเลือดสามารถระบุได้ 100% เป็นการยืนยันข้อมูลก่อนหน้านี้ที่ทดสอบในปี 2563
การตรวจคัดกรองเชิงรุกประกอบด้วย
1.การตรวจเลือดต้องทำทุกคน
2.วิธีการตรวจด้วยชุดการตรวจมาตรฐาน Elisa เช่นของศูนย์ปฏิบัติการโรคอุบัติใหม่สภากาชาดไทยจุฬา ซึ่งยืนยันความไวและความจำเพาะแล้ว และเป็นวิธีเดียวกันกับที่ US FDA ให้การรับรองในการใช้ตรวจ ยี่ห้อ genscript
3.การตรวจที่สมบูรณ์จะเป็นการตรวจ IgM IgG และภูมิที่ยับยั้งไวรัสได้หรือที่เรียกว่า Neutralizing antibody (NT) ราคา 1000 บาทแต่ขั้นตอนในการคัดกรองสามารถตรวจแต่ IgM IgG ได้ ราคา 400 บาท
4.เมื่อได้ผลเป็นบวกไม่ว่าตัวใดตัวหนึ่งต้องทำการคัดแยกตัวทันที และปฏิบัติการตรวจต่อว่าแพร่เชื้อได้หรือไม่ ด้วยกระบวนการพีซีอาร์ ซึ่งต้องตรวจอย่างน้อยที่สุดสองครั้ง
5.ในคนที่เลือดเป็นบวกและพิสูจน์แล้วว่าไม่มีเชื้อปล่อยออกมาดังข้อสี่จึงสามารถปล่อยจากการกักตัวได้ กระบวนการเหล่านี้ถือว่าเป็นบับเบิล แอนด์ ซีล จนกระทั่งสามารถปล่อยตัวออกมาสู่สังคมได้
6.กระบวนการสุดท้ายคือการปรับเปลี่ยนรูปแบบการคัดกรองจากการครวจเลือดด้วย Elisa ที่ต้องส่งเลือดมายังห้องปฏิบัติการและใช้เวลา 3 ชั่วโมงเป็นการตรวจด้วยการเจาะเลือดปลายนิ้วและหาภูมิคุ้มกัน หรือ rapid test
7.ชุดการเจาะเลือดปลายนิ้วต้องมีคุณสมบัติของการคัดกรองที่สมบูรณ์คือมีความไว 100% นั่นคือคนที่ติดเชื้อทุกรายจะต้องมีผลบวกทั้งสิ้นแต่แน่นอนจะมีผล +เกินในระดับที่รับได้ คือประมาณสองถึง 5% ทั้งนี้จุดเด่นก็คือประชาชนทุกคนเข้าถึงได้สถานบริการสถานที่ที่ต้องมีคนใช้ประกอบกิจกรรม แม้กระทั่งโรงเรียนสถานศึกษานำไปใช้ได้ และคนไทยทุกคนสามารถประเมินตนเองได้
8.การตรวจเลือดไม่ว่าจะเป็นการตรวจแบบมาตรฐานelisa หรือการตรวจปลายนิ้วในคนที่มีกิจกรรมตลอดเวลาไปทำงานขึ้นรถสาธารณะมีโอกาสรับเชื้อและแพร่เชื้อจะต้องทำการตรวจทุกเจ็ดวัน ทั้งนี้เนื่องจากว่าการติดเชื้อในสี่ถึงห้าวันการตรวจเลือดจะไม่เป็นบวกและการตรวจหาเชื้อไม่เป็นบวกเช่นกัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
หมอธีระวัฒน์ชี้รักษาโควิด-19 ต้องคิดนอกกรอบ แต่ไม่ออกนอกลู่
หมอยงไขปมภูมิต้านทานที่ได้จากการฉีดวัคซีนโควิด-19
เปิดโพย 10 จังหวัดคว้าสิทธิ์ฉีดวัคซีนโควิดก่อนใคร
พบไวรัสสายพันธุ์คล้าย “โควิด-19” ที่มี "ค้างคาวไทย" เป็นพาหะ