ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 22 ) ความว่า
ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไป เป็นระยะอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 นั้น
โดยที่โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้เกิดการระบาดระลอกใหม่ขึ้นในเดือนเมษายน 2564 อันเป็นช่วงวันหยุดเทศกาล โดยในรอบนี้ผู้ติดโรคจะไม่แสดงอาการหรือแสดงอาการน้อยมาก ในระยะแรก ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่มีความผ่อนคลายกับสถานการณ์การควบคุมโรคที่ดีขึ้น ในห้วงเวลาที่ผ่านมา ไม่ค่อยระมัดระวังป้องกันตัวอย่างในช่วงต้นของการระบาด จึงทำให้โรคแพร่กระจายไปในทุกพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร มีผู้ป่วยติดเชื้อรายวันและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยและการดำรงชีวิตโดยปกติสุขของประชาชน และต่อระบบการให้บริการ ทำงการแพทย์และสาธารณสุข กรณีนี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องกำหนดมาตรการควบคุมการระบาดของโรคให้เข้มข้นกว่าเดิม เพื่อมิให้เหตุการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อันเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินทวีความร้ายแรงมากขึ้น และให้สามารถยุติลงได้โดยเร็ว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรีออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติขึ้นไว้
โดยกำหนดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 6 จังหวัด พื้นที่ควบคุมสูงสุด 45 จังหวัด และพื้นที่ควบคุม 26 จังหวัด รวมทั้งยังกำหนดเรื่องการสวมหน้ากากอนามัย การเปิด-ปิด สถานที่เสี่ยง ฯลฯ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สรุปมติศบค. "พื้นที่สีแดงเข้ม-แดง-ส้ม" มาตรการยกระดับมีอะไรบ้าง เช็กได้ที่นี่
ชัดแล้ว มติศบค.สั่งทุกจังหวัด ต้องสวมหน้ากากอนามัย เริ่ม 1 พ.ค.นี้
อัพเดท จังหวัดไหน"ไม่สวมหน้ากาก" ออกจากบ้าน โดนปรับ 2หมื่นเช็กเลย