รายงานข่าวระบุว่า รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความว่า
13 พฤษภาคม 2564
วันนี้...เมื่อปีที่แล้ว เป็นวันแรกที่รายงานว่าไม่มีผู้ติดเชื้อใหม่ --> 0 ราย ยอดรวม 3,017 คน
วันนี้...ณ ปีนี้ เป็นวันแรกที่มีรายงานว่ามีผู้ติดเชื้อใหม่มากที่สุดเท่าที่มีการระบาดมา ตั้งแต่ระลอกแรก ระลอกสอง และระลอกสามในปัจจุบัน --> 4,887 คน
ยอดรวม ณ วันนี้ 93,794 คน
...ผ่านไปหนึ่งปี เยอะกว่าเดิม 31 เท่า...
หากถามว่า น่าจะมีมาตรการอะไรออกมาบ้างในช่วงนี้ คงจะแนะนำดังนี้
หนึ่ง ควรตะลุยตรวจคัดกรองมากขึ้น ทำอย่างไรก็ได้ให้คนสามารถได้รับการตรวจได้อย่างทั่วถึง และต่อเนื่อง ทั้งไปตรวจให้เค้าถึงที่ หรือให้เค้ามาตรวจถึงที่ก็ตามแต่ และควรไล่ตรวจครอบคลุม 3 ระดับ ได้แก่ คนติดเชื้อ คนที่สัมผัสกับคนที่ติดเชื้อ และคนที่สัมผัสกับคนที่สัมผัสกับคนที่ติดเชื้อ
สอง เร่งนำเข้าอาวุธที่มีประสิทธิภาพ หลากหลาย และปริมาณมากเพียงพอ ทำแบบอเมริกาโมเดล
สาม หยุดการเคลื่อนไหวระดับภาค
สี่ ระวังการแพร่กระจายของเชื้อในแหล่งกิจกรรมต่างๆ ที่กำลังทำอยู่หรือที่กำลังจะทำ เช่น การสอบของนักเรียน รวมถึงบริเวณสถานที่ให้คนมานั่งรอฉีดวัคซีน เป็นต้น กระบวนการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ดังกล่าว ควรตั้งโจทย์ว่าทำอย่างไรให้คนไม่มาพบกันจำนวนมากในเวลาเดียวกัน
ห้า หน้ากากสองชั้น ชั้นในเป็นหน้ากากอนามัย ชั้นนอกเป็นหน้ากากผ้า...ควรเป็นวาระแห่งชาติ
วันนี้ตบท้ายด้วยบทความวิชาการของ Mathieu E และคณะ ตีพิมพ์เรื่องระบบฐานข้อมูลวัคซีนโควิด-19 (Covid-19) ในวารสารวิชาการทางการแพทย์ Nature Human Behavior เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมานี้เอง ที่น่าสนใจและอยากมาแชร์ให้ดูกันคือ กราฟระยะเวลาในการคิดค้นวัคซีนป้องกันโรคติดต่อชนิดต่างๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นำเสนอมาทำให้ดูแล้วเข้าใจง่ายดี
ขอให้ทุกคนร่วมแรงร่วมใจ มีกำลังใจในการป้องกันตัวเองและครอบครัว
ช่วยเหลือแบ่งปันคนตกทุกข์ได้ยากตามกำลังที่เราพอมี
ด้วยรักและห่วงใย
อ้างอิง
Mathieu, E., Ritchie, H., Ortiz-Ospina, E. et al. A global database of COVID-19 vaccinations. Nat Hum Behav (2021).
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :