รายงานข่าวระบุว่า พล.อ.ท.อนุตตร จิตตินันทน์ (หมออนุตตร) ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (Anutra Chittinandana) โดยมีข้อความว่า
จากกรมควบคุมโรค เรื่องภาวะการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในปอดกับวัคซีนโควิด-19 อ่านกันเองนะครับ
กรมควบคุมโรค
ภาวะการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในปอดกับวัคชีนโควิด 19
กรมควบคุมโรค และคณะผู้เชี่ยวชาญเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังการใด้รับวัดซีน
ฉบับวันที่ 31 พฤษภาคม 2564
ภาวะการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในปอดมาจากอะไรกันแน่ จริงแล้วสาเหตุของการเกิดมาได้จากหลายสาเหตุ
จากกรณีที่หญิงอายุ 32 ปี ชาวอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาสียชีวิต ซึ่งก่อนหน้านั้น 13 วัน ได้รับวัคซีนของบริษัท Siovac ใวันที่ 14 พ.ค.2564 จากนั้น 5 วันต่อมาผู้ป่วยมีอาการใจสั่น ต่อมาหอบเหนื่อยและถูกส่งตัวเข้าโรงพยาบาลและเสียชีวิต ในวันที่ 27 พ..2564 โดยแพทย์วินิจฉัยว่ามีภาระลิ่มเลือดอุดตันในปอดนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค คาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็ว ๆ นี้ แต่อย่างไรก็ตามข่าวนี้อาจสร้างความสงสัยถึงความปลอดภัยของวัคซีน ในเบื้องต้นผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำปรึกษาแก่กระทรวงสาธารณสุขใด้ให้ความเห็น ดังนี้
ภาวะการเกิดลิ่มเลือดอุตตันในปอด (Pulmonary @mbolsm) เกิดจากการที่มีลิ่มเลือดเกิดขึ้นในหลอดเลือดดำ และหลุดไปอุดที่หลอดเลือดที่ปอด (Venousthromboembolism; VTE เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหายใจหอบเหนื่อยอย่างเงียบพลัน และทำให้มีอัตราป่วยตายสูงได้ถึงร้อยละ 30 จากฐานข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขที่เก็บข้อมูลผู้ป่วยลิ่มเลือดอุตตันในปอด ระหว่างปี 2559 - 2563 พบว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคดังกล่าวประมาณปีละ 12,900 - 26,800 ราย คิดเป็นอัตราการป่วยประมาณ 200 - 400 รายต่อประซากรหนึ่งล้านคน
โดยปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ คือ พันธุกรรม ภาวะโรคมะเร็ง การไม่เคลื่อนที่เป็นเวลานาน ๆ การกินยาคุมกำเนิดหรือการได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมน เป็นต้น โดยไม่มีความเกี่ยวข้องกับการได้รับวัคชีนใดๆ
ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก ณ วันที่ 29 พฤษภาคม 2564 พบว่า มีรายงานพบผู้ป่วยภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอดภายหลังการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ทั่วโลกทั้งสิ้น 4,575 ราย จากการฉีดกว่า 1,800 ล้านคน คิดเป็นอัตราการเกิดโรคนี้เพียง 2.5 รายต่อประชากรล้านคนที่ได้รับวัคซีน ซึ่งจะเห็นได้ว่า ต่ำกว่าอัตราการเกิดในผู้ไม่ใด้รับวัดซีนอย่างมาก และที่สำคัญสำหรับวัคซีนของบริษัท Sinovac นั้น มีรายงานพบ 7 ราย จากการฉีดไปมากกว่า 200 ล้านโดส และไม่พบสัญญาณที่บ่งว่าผู้ที่ใด้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 มีโอกาสเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอดสูงขึ้น หรือวัคซีนเป็นสาเหตุโดยตรง นอกจากนี้จากข้อมูลการเฝ้าระวังเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังการใด้รับวัคซีนของบริษัท Sinovac มากกว่า 2 ล้านโตสในคนไทย ไม่เคยมีรายงานผู้ป่วยลิ่มเลือดอุตตันในปอดภายหลังการได้รับวัคซีนดังกล่าว
ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำให้ฉีดวัคซีนของบริษัท Sinovac ต่อไปใด้ และผู้มารับบริการฉีดวัคซีนทั้งสองชนิดไม่จำเป็นต้องหยุดการใช้ยาคุมกำเนิด เนื่องจากไม่มีหลักฐานว่าเกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีน แต่ให้ฝ้าดูอาการหลังฉีดอย่างใกล้ชิด และหากมีอาการผิดปกติใดๆที่ไม่แน่ใจว่จะมีภาระนี้หรือไม่ เช่น อาการเหนื่อยง่าย ใจสั่น ปวดบวมชา ให้ปรึกษาแพทย์โดยเร็ว
ทั้งนี้ ประเด็นดังกล่าวเกิดจากการที่มีหญิงสาวรายหนึ่ง ซึ่งเป็นอดีตผู้ช่วยแพทย์โรงพยาบาลหาดใหญ่ ได้เสียชีวิต หลังจากเมื่อวันที่ 14 พ.ค. ได้เดินทางไปฉีดวัคซีนซิโนแวค เข็มแรก ที่โรงพยาบาลหาดใหญ่
ต่อมา วันที่ 19 พ.ค. หญิงสาวรายดังกล่าวได้เกิดอาการวูบหน้ามืดหมดสติอยู่ภายในห้องน้ำบ้านพักส่วนตัว เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ อาการค่อยๆ ทรุดลง จนกระทั่งวันที่ 27 พ.ค. ได้เสียชีวิต จากอาการลิ่มเลือดอุดตันในปอด อย่างไรก็ดี เบื้องต้น ญาติยังติดใจ และสงสัยการเสียชีวิตว่าเกี่ยวข้องกับการรับวัคซีนซิโนแวคด้วยหรือไม่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :