ศบค.พบ 8 คลัสเตอร์โควิดใหม่ กระจายใน 5 จังหวัด

16 มิ.ย. 2564 | 07:35 น.

ศบค.รายงานพบ 8 คลัสเตอร์โควิดใหม่ กระจายใน 5 จังหวัด พบการแพร่ระบาดในบริษัทผลิตสื่อ พร้อมแจงฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็ม 1 และ 2 ต่างยี่ห้อ 

พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) แถลงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้(16 มิ.ย.64) ช่วงหนึ่งว่า กรุงเทพฯ ยังพบผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงสุด จำนวน 807 ราย, นนทบุรี 204 ราย, สมุทรปราการ 161 ราย, ชลบุรี 108 ราย, สมุทรสาคร 101 ราย, ฉะเชิงเทรา 96 ราย, ปทุมธานี 89 ราย, สงขลา 60 ราย, นครปฐม 52 ราย, อยุธยาและนครศรีธรรมราช จังหวัดละ 50 ราย

จากการรายงานคลัสเตอร์ผู้ติดเชื้อในโรงงานตั้งแต่ 1 เม.ย.-16 มิ.ย. พบแล้วใน 27 จังหวัด ทั้งโรงงานน้ำแข็ง โรงงานผลิตซอส โรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ โรงงานแปรรูปไก่ โรงงานผลิตถุงมือ โรงงานผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์

ศบค.พบ 8 คลัสเตอร์โควิดใหม่ กระจายใน 5 จังหวัด

 

พญ.อภิสมัย กล่าวว่า วันนี้พบเป็นคลัสเตอร์ใหม่ในหลายจังหวัด ประกอบด้วย

  • นนทบุรี ที่บริษัทกระจกและอะลูมิเนียม อ.ไทรน้อย พบผู้ป่วยรายใหม่ 19 ราย และบริษัทอะลูมิเนียม อ.บางบัวทอง พบผู้ป่วยรายใหม่ 6 ราย
  • สมุทรปราการ ที่บริษัทไม้แขวนเสื้อพลาสติก อ.พระประแดง พบผู้ป่วยรายใหม่ 26 ราย บริษัทผลิตผ้า อ.เมือง พบผู้ป่วยรายใหม่ 8 ราย บริษัทผลิตซอสปรุงรส อ.เมือง พบผู้ป่วยรายใหม่ 8 ราย
  • สมุทรสาคร โรงงานอาหารทะเลแช่แข็ง อ.เมือง พบผู้ป่วยรายใหม่ 23 ราย
  • ปทุมธานี บริษัทนำเข้าเครื่องจักร อ.ลาดหลุมแก้ว พบผู้ป่วยรายใหม่ 78 ราย
  • พระนครศรีอยุธยา โรงงานอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ พบผู้ป่วยรายใหม่ 7 ราย

ศบค.พบ 8 คลัสเตอร์โควิดใหม่ กระจายใน 5 จังหวัด

ศบค.พบ 8 คลัสเตอร์โควิดใหม่ กระจายใน 5 จังหวัด

ศบค.พบ 8 คลัสเตอร์โควิดใหม่ กระจายใน 5 จังหวัด

ศบค.พบ 8 คลัสเตอร์โควิดใหม่ กระจายใน 5 จังหวัด

"เป็นส่วนที่ศบค.ค่อนข้างกังวลพอสมควร และที่ประชาชนเคยได้รับข้อมูลก่อนหน้านี้โรงงานที่ติดเชื้อเป็นโรงงานขนาดใหญ่ พนักงานเกิน 200 คน ตอนนี้เราเริ่มเห็นลักษณะการกระจายไปที่โรงงานขนาดเล็ก"พญ.อภิสมัย กล่าว

พบการแพร่ระบาดในบริษัทผลิตสื่อ

พญ.อภิสมัย กล่าวเพิ่มเติมว่า มีการพบการแพร่ระบาดในบริษัทผลิตสื่อ ซึ่งอยู่ระหว่างการสอบสวนโรค พบว่า มีการรายงานติดเชื้อตั้งแต่พ.ค.ที่ผ่านมา โดยพบฝ่ายข่าว แต่ยังเป็นไม่คลัสเตอร์ แต่ในช่วงสัปดาห์ที่ 2-3 ของเดือนพ.ค. เริ่มมีการรายงานการติดเชื้อบุคลากรฝ่ายถ่ายทอดสด ฝ่ายสถานี ฝ่ายถ่ายทำรายการ จนกระทั้ง 5 มิ.ย. พบการติดเชื้อทั้งในส่วนพิธีกร คอสตูม ช่างเทคนิค ตัดต่อ ฝ่ายเสียง ซึ่งทางกรมควบคุมโรคจะนำเสนอรายละเอียดภายใน 1-2 วันนี้

ผู้ช่วยโฆษก ศบค. กล่าวต่อว่า รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมได้นำเสนอการป้องกันการติดเชื้อในโรงงาน ซึ่งมีรายงาน 6.3 หมื่นโรงงาน เป็นโรงงานขนาดใหญ่ พนักงานเกิน 200 คน กว่า 3,304 กว่าโรงงาน และที่ผ่านมากรมอนามัยได้กำหนดให้โรงงานประเมินตนเองใน Thail stop Covid Plus ทุก 2 สัปดาห์ ซึ่งข้อมูลเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. มีโรงงานเข้าสู่การประเมิน 8,123 โรง คิดเป็น 13% จากโรงงานทั้งหมด 64,038 โรง และโรงงานที่มีคนงานมากกว่า 200 คน เข้าสู่ระบบ 2,241 โรง คิดเป็น 74% จากโรงงานทั้งหมด 3,304 โรง และผ่านเกณฑ์ 1,583 โรง ไม่ผ่านเกณฑ์ 656 โรง ทางกรมอนามัยและกระทรวงอุตสาหกรรมจะระดมตรวจโรงงานใหญ่ทั้งหมด เน้นไปที่โรงงานผลิตอาหาร และโรงงานที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ให้ครบ 100%

แจงฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็ม 1 และ 2 ต่างยี่ห้อ 

ผู้ช่วยโฆษก ศบค. ตอบคำถามสื่อมวลชนกรณีการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็ม 1 และ 2 ต่างกัน เป็นไปได้หรือไม่ว่า กรณีดังกล่าวส่วนหนึ่งมาจากประชาชนที่ได้รับการฉีดวัคซีนยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง และเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงซึ่งพบได้ในต่างประเทศ เมื่อมีการพบการแพ้วัคซีนยี่ห้อแรก จึงเกิดเป็นข้อห้ามไม่สามารถฉีดซ้ำในเข็มสองได้ ทำให้หลายประเทศจึงมีมาตรการจัดหาวัคซีนคนละยี่ห้อ ซึ่งอาจจะเป็นการใช้วัคซีนที่มีวิธีการผลิตต่างกัน เพื่อไม่ให้เกิดการแพ้ ทั้งนี้ การเก็บข้อมูลการใช้วัคซีนคนละยี่ห้อในทางการแพทย์ก็ต้องมีการศึกษาวิจัย ซึ่งในประเทศไทยมีหลายหน่วยงานที่กำลังศึกษาอยู่ นอกจากนี้ในประเทศเกาหลีและสหรัฐอเมริกา ได้มีการตั้งคำถามวิจัยและพยายามศึกษาในเบื้องต้น ได้มีการวัดภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจากคนที่ติดเชื้อโดยธรรมชาติ รวมทั้งการใช้วัคซีนยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง เข็ม 1 และ 2 เหมือนกัน และนำมาเทียบกับคนที่ฉีดเข็ม 1 และ 2 คนละยี่ห้อ 

อย่างไรก็ตามการศึกษาวิจัยดังกล่าว ยังไม่มีผู้ใดสรุปได้ว่าจะมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า ฉะนั้นการที่บริษัทผู้ผลิตได้ทำการวิจัยมานานกว่า และมีตัวอย่างการศึกษาที่มากกว่า โดยให้ฉีดวัคซีนทั้งสองเข็มยี่ห้อเดียวกัน เป็นแค่หลักการที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ แต่ในเรื่องของการฉีดวัคซีนเข็ม 1 เข็ม 2 หรือ เข็ม 3 ถือเป็นข้อสังเกตที่น่าสนใจ โดยจะรับฟังและติดตามรายละเอียดความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขต่อไป 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง