รายงานข่าวระบุว่า ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha) โดยมีข้อความว่า
แขนขาอัมพาตเฉียบพลันและกล้ามเนื้อใบหน้าอัมพาตพร้อมชา: รายงานผลข้างเคียงของวัคซีนเอสตร้า
ความเสี่ยงต่ำแต่เป็นอีกกลุ่มอาการทีต้องเฝ้าระวัง
กลุ่มอาการดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันดีว่าเกิดจากการอักเสบของเส้นประสาทที่คุมกล้ามเนื้อแขนขาใบหน้า และการรับความรู้สึก (Guillain Barre syndrome) เกิดตามหลังการติดเชื้อหรือวัคซีนโดยที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันวิปริต เข้าใจว่าเส้นประสาทเป็นเชื้อโรคและทำให้เกิดการอักเสบ
รายงานสองฉบับนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Annals of Neurology จาก อินเดีย และอังกฤษ
รายงานจากอินเดียมีผู้ป่วยเจ็ดรายที่มีอาการหลังฉีดเข็มแรก ภายใน 14 วัน โดยหกในเจ็ดรายนั้นนอกจากแขนขาอ่อนแรงอัมพาตยังหายใจไม่ได้ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
สี่ในเจ็ดรายมีเส้นประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวลูกตาผิดปกติและการรับความรู้สึกที่ใบหน้าผิดปกติ
ในประชากร 1.6 ล้านคนที่ฉีดวัคซีนจะมีกลุ่มอาการดังกล่าวเกิดขึ้นตามปกติ 0.58 ถึงสี่รายในทุกสี่สัปดาห์ แต่ตัวเลข 7 รายดังกล่าว จะเท่ากับเพิ่มขึ้น 1.4 ถึง10 เท่า
แต่อย่างไรก็ตามความเสี่ยงยังถือว่าต่ำ = 5.8 ต่อล้านคนที่ได้วัคซีน
รายงานจากอังกฤษเป็นผู้ป่วยสี่รายเกิดอาการ 11 ถึง 22 วันหลังได้รับวัคซีนเข็มแรกโดยทั้งหมดมีกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงทั้งสองข้างและชา โดยแขนขากำลังการเคลื่อนไหวอย่างเป็นปกติและการควบคุมการเคลื่อนไหวลูกตายังปกติ
การรักษายังเป็นไปตามแบบแผนเดิมของกลุ่มอาการโรค GBS ที่เราปฏิบัติกันมา
ทั้งนี้ "ฐานเศรษฐกิจ" ได้รวบรวมตัวเลขการฉีดวัคซีนโควิด-19 (Covid-19) ในประเทศไทยชนิดแอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) จากศูนย์ข้อมูล COVID-19 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า วันที่ 21 มิถุนายนมีการฉีดเข็มแรก 125,890 ราย เข็มที่ 2 จำนวน 1,853 ราย
ขณะที่ตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ.-21 มิ.ย. 64 มีการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเข็มที่ 1 สะสมจำนวน 2,304,890 ราย และเข็มที่ 2 จำนวน 50,915 ราย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :