เปิดรายชื่อศูนย์พักคอย 17 แห่งในกทม.มีที่ไหนบ้าง เช็คข้อมูลที่นี่

06 ก.ค. 2564 | 08:19 น.
อัปเดตล่าสุด :06 ก.ค. 2564 | 15:35 น.

กทม.เปิดศูนย์พักคอย 17 แห่ง ในพื้นที่ 6 กลุ่มเขต รองรับผู้ป่วยโควิด 2,560 ราย พร้อมตั้งเป้าหมายขยายเพิ่ม 20 แห่ง

กทม. ได้เปิด “ศูนย์พักคอย” 17 แห่ง ในพื้นที่ 6 กลุ่มเขต รองรับผู้ป่วย 2,560 ราย และจะจัดตั้งศูนย์พักคอยใน กทม. เพื่อรองรับผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด โดยตั้งเป้าหมายไว้ 20 แห่ง เบื้องต้นได้เปิดรับผู้ป่วยเพิ่มได้เป็น 5 แห่ง ในวันที่ 6 ก.ค. 64 

สำหรับศูนย์พักคอยในแต่ละกลุ่มเขต จะมี รพ.สังกัด กทม. ดูแลรักษาพยาบาลเบื้องต้น  ดังนี้

- กรุงเทพเหนือ  (รพ.กลาง ดูแล) รวม 4 แห่ง 610 เตียง
1. เขตบางเขน  ศูนย์กีฬารามอินทรา 150 เตียง 
2. เขตจตุจักร ศูนย์กีฬาประชานิเวศน์  190 เตียง 
3. เขตจตุจักร ศูนย์สร้างสุขทุกวัย เขตจตุจักร 120 เตียง
4. เขตดอนเมือง ศูนย์สร้างสุขทุกวัย เขตดอนเมือง 150 เตียง

- กรุงเทพกลาง  (รพ.เจริญกรุงประชารักษ์ ดูแล) รวม 2 แห่ง 320 เตียง 
5. เขตพระนคร  วัดอินทรวิหาร (อาคารปฏิบัติธรรม) 170 เตียง 
6. เขตดินแดง ศูนย์กีฬาเวสน์ 2 (ศูนย์เยาวชนฯ ไทย- ญี่ปุ่น) 150 เตียง  

- กรุงเทพใต้  (รพ.สิรินธร ดูแล) รวม 2 แห่ง 420 เตียง
7. เขตคลองเตย  วัดสะพาน 250 เตียง (ศูนย์ฯ แรกต้นแบบ)
8. เขตสวนหลวง ศูนย์ปฏิบัติธรรม วัดปากบ่อ  170 เตียง 

- กรุงเทพตะวันออก  (รพ.เวชการุณย์รัศมิ์ ดูแล) รวม 4  แห่ง 620 เตียง
9. เขตหนองจอก  ค่ายลูกเสือกรุงเทพวันวาน   200 เตียง 
10. เขตลาดกระบัง ร้านอาหาร Boom Boom   120 เตียง 
11. เขตสะพานสูง ศูนย์สร้างสุขทุกวัย เขตสะพานสูง 150 เตียง
12. เขตบางกะปิ ศูนย์สร้างสุขทุกวัย เขตบางกะปิ 150 เตียง

- กรุงธนเหนือ  (รพ.ตากสิน ดูแล) รวม 2 แห่ง 190 เตียง
13. เขตบางกอกน้อย  วัดศรีสุดาราม   (รพ.ราชพิพัฒน์)  90 เตียง 
14. เขตทวีวัฒนา ศูนย์สร้างสุขทุกวัย (รพ.ตากสิน)  100 เตียง 

- กรุงธนใต้  (รพ.หลวงพ่อทวีศักดิ์ ดูแล) รวม 3 แห่ง 400 เตียง
15. เขตบางแค ศูนย์สร้างสุขทุกวัย (เรืองสอน) 150 เตียง 
16. เขตบางขุนเทียน ศูนย์สร้างสุขทุกวัย (พระราม2 ซ.69) 100 เตียง 
17. เขตภาษีเจริญ วัดนิมมานรดี 150 เตียง
เปิดรายชื่อศูนย์พักคอย 17 แห่งในกทม.มีที่ไหนบ้าง เช็คข้อมูลที่นี่

สำหรับจัดตั้ง “ศูนย์พักคอย” ใช้เป็นสถานที่ให้ผู้ป่วยโควิดสีเขียวอยู่ระหว่างการรอส่งต่อโรงพยาบาล และใช้เป็นสถานที่สำหรับดูแล กลุ่มคนที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษระหว่างรอเตียง เช่น เด็กที่พ่อแม่ติดเชื้อที่ไม่มีคนในครอบครัวดูแล 

 

ทั้งนี้ การดูแลผู้ป่วยโควิดที่ศูนย์พักคอยทุกแห่ง จะมีเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่ อาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) คอยดูแลผู้ป่วยประเมินอาการอย่างใกล้ชิด โดยมีอุปกรณ์ที่จำเป็น ยาและเครื่องมือทางการแพทย์ดูแลอาการผู้ป่วยโควิด ได้แก่ 


1. เครื่องวัดค่าออกซิเจนปลายนิ้ว ไว้สำหรับวัดค่าออกซิเจนในเลือด เพราะคนไข้ที่ติดเชื้อโควิดสีเขียวจำนวนมากที่ไม่แสดงอาการเปลี่ยนเป็นผู้ป่วยเหลืองได้เร็ว แต่หากมีการวัดค่าออกซิเจนในระหว่างที่รอส่ง รพ. และพบว่ามีค่าต่ำกว่าปกติมาก (ต่ำกว่า 95%) จะได้รีบส่งเข้ารักษาใน รพ. 


2. เครื่องออกซิเจน ใช้สำหรับช่วยชีวิตผู้ป่วยที่มีออกซิเจนต่ำกว่า 95% ระหว่างการรอส่งเข้าโรงพยาบาล เพราะผู้ป่วยโควิดเขียว หากมีอาการขึ้นมาจะเปลี่ยนเป็นผู้ป่วยเหลืองได้เร็วมากขึ้น


ส่วนกรณีที่ผู้ป่วยสมัครใจแยกกักตัวในบ้านที่พักอาศัยของตนเอง หรือ Home Isolation ระหว่างรอเตียงเข้ารักษาในโรงพยาบาล จะต้องผ่านการพิจารณาวินิจฉัยจากแพทย์ว่าสามารถรักษาตัวที่บ้านได้ โดยจะต้องเป็นผู้ป่วยโควิดสีเขียวที่ไม่มีอาการ ไม่มีภาวะอ้วน ไม่มีโรคประจำตัว และไม่เป็นผู้สูงอายุ 


โดยระหว่างการแยกกักตัวที่บ้าน จะมีเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่ อาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) คอยดูแลผู้ป่วยประเมินอาการอย่างใกล้ชิด มีการตรวจวัดค่าออกซิเจน และให้ยาตามอาการ ซึ่งถ้าผู้ป่วยมีอาการ เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลืองจะรีบนำส่งเข้ารักษาในโรงพยาบาลได้อย่างปลอดภัย
 

เปิดรายชื่อศูนย์พักคอย 17 แห่งในกทม.มีที่ไหนบ้าง เช็คข้อมูลที่นี่