รื้อผังเมืองบูมที่รถไฟฟ้า! เชื่อม กทม.-ปริมณฑล 6 จังหวัด แบบไร้รอยต่อ ดันราคาขยับ

06 พ.ค. 2561 | 09:33 น.
อัปเดตล่าสุด :06 พ.ค. 2561 | 16:36 น.
060561-1607

กรมโยธาฯ ลุยวางผังเมืองไร้รอยต่อระหว่างกรุงเทพฯ-ปริมณฑล เป็นเนื้อเดียว วางกรอบท้องถิ่นกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องกัน มอบจุฬาฯ ศึกษาให้แล้วเสร็จ ต.ค. นี้ พร้อมกำหนดศูนย์ชุมชนโซนใหม่ เชื่อมรถไฟฟ้า 10 สาย

การกระจายตัวโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยในขณะนี้ แทบแยกไม่ออกว่า "พื้นที่ใด คือ เมืองหลวง" "จุดไหน คือ เมืองบริวาร" โดยเฉพาะการเกิดโครงข่ายรถไฟฟ้าให้เชื่อมผ่านระหว่างกัน ทำให้ความเจริญขยายตัวออกไป


bkk_Samutprakarn57-water.original



วางผังไร้รอยต่อ
นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า มีแนวคิดให้รวบผังเมืองกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเข้าไว้เป็นผังเดียวกัน เพื่อให้พิจารณาได้อย่างสอดคล้องกันในคราวเดียว และให้สามารถรองรับกับการเปิดให้บริการของรถไฟฟ้า 11 สาย ได้ทันเวลา เนื่องจากปัจจุบันเกิดการพัฒนาจนแยกไม่ออกว่า พื้นที่ไหนเป็นเขตกรุงเทพฯ และพื้นที่ไหนเป็นปริมณฑล ยกตัวอย่าง ย่านพงษ์เพชร กทม. หากข้ามคลองประปาจะเป็นเขตนนทบุรี ซึ่งจะมีความเจริญไม่ต่างกัน เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ควรกำหนดกรอบผังบริเวณรอยต่อดังกล่าวให้สอดคล้องกันได้ เนื่องจากมีรถไฟฟ้าผ่าน

 

[caption id="attachment_279132" align="aligncenter" width="311"] มณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง มณฑล สุดประเสริฐ
อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง[/caption]

ล่าสุด อยู่ระหว่างจ้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยศึกษา เพื่อกำหนดเป็นผังนโยบายมอบให้แต่ละจังหวัดนำไปปรับปรุงผังเมืองในท้องที่ให้เป็นแนวทางเดียวกันต่อไป คาดว่า ต.ค. นี้ จะศึกษาแล้วเสร็จ

อธิบดีกรมโยธาฯ กล่าวต่อว่า สำหรับรายละเอียดจะกำหนดเป็นโหนดหรือศูนย์กลางชุมชนใหม่ของแต่ละจังหวัด เพื่อเชื่อมโยงถึงกันได้ และเปิดพื้นที่พัฒนาใหม่ ๆ โดยรถไฟฟ้าและโครงข่ายของถนน เชื่อว่าจะเกิดความเจริญและผลักดันราคาที่ดินให้ขยับตามได้ เพราะปัจจุบัน จ.นนทบุรี โตเข้ามายังเขต กทม. เพราะการเดินทางใกล้กันระหว่างที่อยู่อาศัยกับแหล่งงาน


Print

"คาดว่าจะทันประกาศใช้ให้สอดคล้องกับการเปิดให้บริการได้ทั้งหมด จะพิจารณาว่า เมืองที่อยู่รอบกรุงเทพฯ อาทิ นครปฐม สมุทรสาคร นนทบุรี สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ควรจะมองลักษณะให้เป็นผังเดียว เนื่องจากปัจจุบัน แทบจะแยกพื้นที่ไม่ออกว่า เป็นเขตกรุงเทพฯ หรือเขตปริมณฑล รวบผังให้ใหญ่ขึ้น เป็นผังที่เอาแต่ละเมืองไปวางผังใหญ่ เพื่อพิจารณารวมกัน แล้วเอารายละเอียดนั้นไปปรับปรุงผังแต่ละจังหวัดให้สอดคล้องต่อไป"


ดึงแปดริ้วเมืองน่าอยู่อีอีซี
แหล่งข่าวจากกรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวเพิ่มเติมว่า จะรวมถึงเมืองแปดริ้วด้วย ซึ่งขึ้นอยู่กับผลการศึกษาว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ แต่เนื่องจากเป็นเมืองอยู่อาศัยชั้นดี ตามโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ หรือ อีอีซี ซึ่งมีรอยต่อติดกับกรุงเทพมหานคร ซึ่ง กทม. อยู่ระหว่างปรับปรุงผังเมืองรวม กทม. ให้สอดรับกับการขยายตัวของโซนตะวันออก รับสนามบินสุวรรณภูมิและอีอีซีด้วยเช่นกัน

 

[caption id="attachment_279139" align="aligncenter" width="503"] ศักดิ์ชัย บุญมา ผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กทม. ©thaipublica.org ศักดิ์ชัย บุญมา ผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กทม.
©thaipublica.org[/caption]

รอยต่อต่างสุดโต่ง
นายศักดิ์ชัย บุญมา ผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กทม. กล่าวว่า ที่ผ่านมา กทม. ได้ประชุมกับจังหวัดปริมณฑลต่อเนื่อง เกี่ยวกับการจัดทำผังปริมณฑลให้สอดคล้องกับ กทม. ซึ่งผังไร้รอยต่อของกรมโยธาฯ จะเป็นลักษณะกรอบนโยบายให้ท้องถิ่นไปปฏิบัติ แต่การกำหนดรายละเอียดของข้อกำหนดให้เป็นไปตามกฎหมายจะเป็นส่วของท้องถิ่น ซึ่งปัจจุบัน กทม. มีผังเฉพาะของตนเอง และนนทบุรีกำลังจะออกผังเมืองถอดแบบ กทม. ตามมา รวมทั้งสมุทรปราการ ส่วนปทุมธานียังใช้กรอบผังเมืองรวมจังหวัด ซึ่งเป็นภาคของกรมโยธาฯ อยู่ ความเข้มงวดจึงไม่เหมือน กทม.

สำหรับรอยต่อที่เป็นความต่าง ซึ่งไม่สามารถปรับผังให้เป็นเนื้อเดียวกันได้ คือ พระประแดง จ.สมุทรปราการ ส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรม ขณะที่ เขตทุ่งครุ ของ กทม. ซึ่งมีแม่น้ำเจ้าพระยาคั่น เป็นพื้นที่สีเขียวเกษตรกรรม, สนามบินสุวรรณภูมิ สมุทรปราการ ปัจจุบันเป็นพื้นที่สีแดงพาณิชยกรรม ขณะที่ เขต กทม. อาทิ ลาดกระบัง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสีเขียว พื้นที่เขียวลาย (ฟลัดเวย์) ป้องกันน้ำท่วม อีกทำเลที่ไม่สามารถปรับให้สอดคล้องกันได้ คือ ปทุมธานีกับ กทม. คือ เขตดอนเมือง สายไหม ซึ่งเป็นย่านอยู่อาศัย ขณะที่ ปทุมธานีเป็นโรงงานอุตสาหกรรม


MP-33-3227-a



อย่างไรก็ดี ผัง กทม. ใหม่ มีแนวคิดกำหนดให้มีนบุรีเป็นศูนย์ชุมชนใหม่ เนื่องจากมีรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกและรถไฟฟ้าสายสีชมพู และยังมีแนวคิดลดพื้นที่เขียวลายโซนตะวันออกลง เพื่อพัฒนาได้มากขึ้น ก็จะดันราคาที่ขยับสูงขึ้น


เอกชนหนุนเต็บสูบ
นายปิยะ ประยงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจพฤกษา มองว่า หากมีการปรับผังเมืองให้เป็นองค์รวม พัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน ก็จะเป็นผลดี ไม่เกิดปัญหาลักลั่น ว่า พื้นที่ไหนผังเมืองเข้มงวดก็จะหนีไปจังหวัดอื่น เช่น ผังเมืองนนทบุรี จะเน้นชุมชนเป็นหลัก ไม่เน้นเชิงพาณิชย์ ทำให้พัฒนาบ้านและคอนโดมิเนียมยากขึ้น ก็จะเป็นผลดี ส่วนราคาที่ดินขยับขึ้นตามปกติอยู่แล้ว หากรถไฟฟ้าผ่าน

 

[caption id="attachment_279149" align="aligncenter" width="377"] ฐาปนา บุณยประวิตร นายกสมาคมการผังเมืองไทย ฐาปนา บุณยประวิตร
นายกสมาคมการผังเมืองไทย[/caption]

ด้าน นายฐาปนา บุณยประวิตร นายกสมาคมการผังเมืองไทย กล่าวว่า นับเป็นสิ่งที่ดีของการรวมผังเมืองกรุงเทพมหานครกับปริมณฑลเข้าพิจารณาร่วมกันเป็นผังใหญ่ เพราะจะเป็นผลดีมากกว่า และควรดำเนินการมานานแล้ว แม้ปัจจุบันพื้นที่จะต่างกันเยอะ อีกทั้งผังเมืองกรุงเทพมหานครจะมีมาตรฐานอย่างมาก

"ผังเมืองปริมณฑลยังมีข้อกำหนดที่แตกต่างจากผังเมืองกรุงเทพฯ ในหลายประเด็น โดยเฉพาะระบบการจัดการเชิงผัง จึงยังแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นหากรวมผังเป็นผังใหญ่ ก็จะเกิดประโยชน์ต่อการบริหารจัดการได้อย่างครอบคลุมในหลายด้านมากขึ้น อาทิ ระบบบริหารจัดการน้ำ ระบบการจัดการพื้นที่เศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากพื้นที่เศรษฐกิจหลายตัวยังไม่ได้เชื่อมโยงกัน ปัจจุบันจะพบว่า กรุงเทพมหานคร-ปทุมธานี เชื่อมถึงกันเป็นพื้นที่เศรษฐกิจค่อนข้างใหญ่ เมืองขยายตัว โรงงานอุตสาหกรรมเติบโตตามไปด้วย"

 

[caption id="attachment_279150" align="aligncenter" width="503"] ผังเมืองรวม จ.ปทุมธานี ผังเมืองรวม จ.ปทุมธานี[/caption]

ประการหนึ่งนั้น จะต้องจับตาดูว่า การบริหารจัดการกรุงเทพฯ กับแต่ละท้องถิ่นแนวตะเข็บยังมีข้อแตกต่างด้านอำนาจสั่งการ อำนาจกรุงเทพมหานคร ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งเทศบาลนคร จึงมีอำนาจมากกว่าหลายท้องถิ่นตามแนวตะเข็บ แต่อำนาจระดับผู้อำนวยการเขตยังเทียบเท่ากับเทศบาลตามแนวตะเข็บเมืองไม่ได้ อาทิ ด้านการจัดสรรงบประมาณ หรือจัดซื้อจัดจ้างการก่อสร้างอาคารที่รวดเร็วกว่าอำนาจของผู้อำนวยการเขตของกรุงเทพมหานคร ที่จะต้องขออนุมัติจากส่วนกลางก่อนทุกครั้ง จึงไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

"แม้จะมีผังภาคแล้วก็ตาม แต่จะยังต้องมีแผนการใช้ที่ดินในภาพใหญ่กำกับให้ชัดเจน การรวมเป็นผังเดียวขนาดใหญ่ขึ้นจะส่งผลให้ผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน ผังการพัฒนาระบบโครงข่ายคมนาคมขนส่ง จะเกิดประโยชน์ด้านการเชื่อมโยงศูนย์เศรษฐกิจมากขึ้น ระบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมดีขึ้น"




appmap-3157-a

ปัจจุบัน กรุงเทพมหานครยังมีการเกิดขึ้นของศูนย์เศรษฐกิจอีกหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น ตามแนวรถไฟฟ้าบีทีเอส อาทิ ปทุมวัน-สยามสแควร์ สาทร-บางหว้า ลาดพร้าว-รัชโยธิน, รถไฟฟ้า MRT อาทิ พระราม 4-พระราม 9, รถไฟฟ้าสายสีม่วง อาทิ เตาปูน-บางซื่อ และแอร์พอร์ตลิงค์ อาทิ ราชปรารภ-ราชประสงค์-มักกะสัน อีกทั้งยังจะมีเกิดขึ้นตามแนวรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก สายสีชมพูตามแนวถนนแจ้งวัฒนะ รามอินทรา และสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง รัฐบาลโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรกำหนดผังเมืองรองรับให้สอดคล้องตั้งแต่วันนี้


GP-3363_180506_0016

……………….
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,363 วันที่ 6-9 พ.ค. 2561 หน้า 01-02
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
'จอมเทียน' พุ่งไร่ 100 ล้าน! รับผังเมืองใหม่-ไฮสปีด
รื้อ 'ผังเมือง' เอื้อ 'อีอีซี'!! ชง ครม. 20 มี.ค. เคาะประมูล 'ไฮสปีด' สัญญาเดียว


ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว