R&Iปรับเครดิตไทย จาก BBB+เป็น A- 

01 พ.ย. 2562 | 04:10 น.
อัปเดตล่าสุด :01 พ.ย. 2562 | 11:35 น.

สบน. เผย R&I ปรับเครดิตไทยดีขึ้นจากระดับ BBB+ มาเป็น A- พร้อมคงมุมมองความเชื่อถือไว้ที่ระดับเสถียรภาพ หลังไทยเดินหน้ามาตรการเชิงรุก เร่งพัฒนาอุตสาหกรรม และฐานะการเงินการคลังแข็งแกร่ง 

นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า บริษัท Rating and Investment Information,Inc (R&I) ซึ่งเป็นบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือรายใหญ่ของญี่ปุ่น ได้ปรับอันดับความน่าเชื่อถือของไทย จากระดับ BBB+ มาเป็น A- และคงมุมมองความน่าเชื่อไว้ที่ระดับเสถียรภาพ หรือ Stable Outlook 

 

R&Iปรับเครดิตไทย จาก BBB+เป็น A- 

สำหรับสาเหตุที่ไทยได้รับการจัดอันดับในระดับที่ดีขึ้น เป็นผลจากการดำเนินมาตรการเชิงรุกในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูง และพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) รวมถึงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง ทำให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศเกิดความเชื่อมั่นและพร้อมเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจในระยะยาวมีเสถียรภาพและเติบโตดี 

ขณะที่ การเกินดุลการค้าและดุลบริการที่เพิ่มขึ้นสะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งทางด้านรายได้จากการท่องเที่ยว รวมถึงการมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่สูงกว่าหนี้ต่างประเทศ ขณะเดียวกันไทยยังมีวินัยทางการเงินการคลังที่แข็งแกร่ง โดยจัดทำกรอบวินัยการเงินการคลังและบริหารจัดการด้านการคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม และยังได้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะไว้ในกฎหมายอย่างชัดเจน ส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีในขณะนี้ยังอยู่ในระดับต่ำ จึงไม่มีความกังวลในด้านการระดมทุนและความเสี่ยงด้านการคลัง 

“ปัจจัยด้านฐานะการคลังจะส่งผลดีต่อต้นทุนในการระดมทุนทั้งภาครัฐและเอกชนในอนาคต เนื่องจาก เมื่อเครดิตของไทยดีขึ้น จะทำให้เกิดความง่ายต่อการตัดสินใจในการให้เงินกู้กับไทย รวมถึงดอกเบี้ยที่จะอยู่ในระดับต่ำด้วย”นางแพตริเซีย กล่าว 

R&Iปรับเครดิตไทย จาก BBB+เป็น A- 

นอกจากนี้ R&I ยังมองว่าไทยมีเสถียรภาพด้านการเมืองมากขึ้น จากการที่มีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง และออกนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจระดับฐานราก ที่จะปรับโครงสร้างการกระจายรายได้ระหว่างเขตเมืองและชนบท 

 

“ในปีนี้ ไทยได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา Moody’s และ Fitch Rating ได้ปรับมุมมองความน่าเชื่อถือให้กับประเทศไทย จากระดับเสถียรภาพมาเป็นเชิงบวก ขณะที่เอสแอนด์พีจะมาเก็บข้อมูลไทยในเดือนพฤศจิกายนนี้ และประกาศปรับเครดิตในเดือนธันวาคม ซึ่งเชื่อว่าจะมีแนวโน้มในทิศทางที่ดีเช่นเดียวกัน”นางแพตริเซีย กล่าว ล็กน้อยเท่านั้น

นอกจากนี้ ในปีงบประมาณ 2563 สบน.มีแผนการออกผลิตภัณฑ์การระดมทุนรูปแบบใหม่ พร้อมทั้งจะใช้ระบบเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการซื้อขายพันธบัตรดังกล่าว ให้คล่องตัวและเข้าถึงประชาชนมากขึ้น ขณะเดียวกัน ยังมีแผนในการออกพันธบัตรออมทรัพย์รายย่อย ให้กับประชาชนทั่วไป โดยคาดว่าจะออกได้ภายในปีนี้

ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตร จะไม่สูงเหมือนกับที่ผ่านมา เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยในตลาดอยู่ในระดับต่ำ หากสบน.จะให้ผลตอบแทนจะสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาดเพียงเ