ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) จัดทำคลิป ไขข้อข้องใจการรับเงินมาตรการช่วยเหลือ "เยียวยาเกษตรกร" ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 เดือนละ 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน รวม 15,000 บาท ต้องทำอย่างไรกันบ้าง
คำถามแรก จำเป็นต้องไปเดินทางไปรับเงินที่ธนาคารธ.ก.ส. หรือไม่
คำตอบคือ ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปรับเงินที่ ธ.ก.ส. โดยสามารถเช็กสถานะเกษตรกรที่ เว็บไซต์กรมส่งเสริมการเกษตร กดคลิกที่นี่
คำถามที่สอง จำเป็นต้องมีบัญชีเงินฝากกับธ.ก.ส.หรือไม่
คำตอบ คือไม่จำเป็น แต่สำหรับผู้ที่ไม่มีบัญชีเงินฝากของธ.ก.ส. สามารถเข้าไปแจ้งบัญชีของธนาคารใดก็ได้ ที่เว็บไซต์ ธ.ก.ส. ผ่าน "www.เยียวยยาเกษตรกร.com "ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2563 เวลา 20.00 น. เป็นต้นไป
สำหรับข้อมูลที่ต้องแจ้งใน www.เยียวยยาเกษตรกร.com เมื่อเข้าไปลงทะเบียนแล้ว ให้กรอกชื่อเกษตรกรผู้ได้รับสิทธิ์รับเงินเยียวยา 15,000 บาท ชื่อธนาคารที่เปิดบัญชีเงินฝาก เลขที่บัญชี และเบอร์โทรศัพท์ติดต่อ เพียงเท่านี้ธ.ก.ส.ก็จะโอนเงินเข้าบัญชีของท่าน
กล่าวโดยสรุปคือ เกษตรกรที่ได้สิทธิ์รับเงินเยียวเกษตรกรที่มีบัญชีเงินฝากกับธ.ก.ส.อยู่แล้ว ไม่ต้องเดินทางไปรับเงินที่ธนาคาร โดยธ.ก.ส.จะโอนเงินเข้าบัญชีของท่านเอง โดยจะเริ่มทยอยโอนในวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 นี้
ส่วนเกษตรกรที่ไม่มีบัญชีเงินฝากของธ.ก.ส. ให้เข้าไปแจ้งข้อมูลการรับเงินผ่าน www.เยียวยยาเกษตรกร.com
อย่างไรก็ตามเกษตรกรที่จะได้รับสิทธิ์รับเงินช่วยเหลือจากมาตรการเยียวยาเกษตรกร จะต้องผ่านการตรวจสอบสิทธิ์จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงการคลังก่อนว่ามีอาชีพเกษตรกรจริง และไม่เป็นผู้ได้รับเงินช่วยเหลือจากมาตรการเยียวยาอื่นของรัฐ ทั้งในส่วนของ "เราไม่ทิ้งกัน" และมาตรการเยียวยาผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ตรวจสอบสิทธิ์เกษตรกรรับเงินเยียวยาโควิด
เปิด www.เยียวยาเกษตรกร.com ลงทะเบียนเกษตรกร ไม่มีบัญชีธ.ก.ส. รับเงิน 15,000
สำหรับการรับเงินเยียวยาเกษตรกร ครัวเรือนละ 5,000 บาท 3 เดือน รวม 15,000 บาท ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นมาตรการของรัฐบาลที่ออกมาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรและครอบครัว เป้าหมายไม่เกิน 10 ล้านราย
แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง กรมปศุสัตว์ จำนวน 8.43 ล้านราย และกลุ่มที่ 2 เกษตรกรที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ไม่เกิน 1.57 ล้านราย
ที่มา: ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ,กระทรวงเกษตรและสหกรณ์