โลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงมากมายไม่ว่าจะเป็น สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ หรือแม้แต่ระบบการเงินก็กำลังมีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน เราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าในช่วง 2 ถึง 3 ปีที่ผ่านมาสกุลเงินดิจิตอลได้รับความสนใจและการยอมรับมากขึ้นจากทั่วทุกมุมโลกและมีการพัฒนากันอย่างต่อเนื่อง อาทิ Libra ของ Facebook, หยวนดิจิตอล (DCEP) ของประเทศจีนและสกุลเงินดิจิทัลชื่อดัง Bitcoin ซึ่งเป็นของทุกคนบนโลก
เรามาทำความรู้จักกับ 3 สกุลเงินแห่งอนาคตให้มากขึ้นไปกับ ‘คุณท็อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา’ผู้ก่อตั้ง Bitkub บริษัทเกี่ยวกับเทคโนโลยีบล็อคเชนและซื้อ-ขายสกุลเงินดิจิตอลรวมทั้งเป็นกรรมการสมาคมฟินเทคประเทศไทยกัน
ลิบรา (Libra) คือสกุลเงินดิจิตอล (Cryptocurrency) ที่ได้เปิดตัวไปตั้งแต่ปี 2019 ในรูปแบบของ Stable coin ซึ่งในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนแปลงเป็น Single currency stable coin แทน อธิบายคร่าวๆ สำหรับเหรียญประเภทนี้ มันคือเหรียญที่ “รัฐบาลของประเทศใดก็ได้สามารถมาสร้าง stable coin บน Libra network” หรือจะเปรียบเทียบง่ายๆ ก็คือ Libra เป็นเสมือนเครื่องพิมพ์เงินแทนเครื่องจักรของธนาคารกลางแต่ละประเทศ เช่น Libra USD, Libra Euro เป็นต้น
“ตอนนี้โลกของเรามีทั้งหมด 1.7 พันล้านคนที่เข้าไม่ถึงบริการทางด้านการเงินหรือเข้าไม่ถึงการมีบัญชีธนาคารแต่ใน 1.7 พันล้าน ใน 1 พันล้านคนมีมือถือเรียบร้อยแล้ว ครึ่งนึงของ 1 พันล้านคนหรือ 500 ล้านคนมีอินเตอร์เน็ต สิ่งที่เฟสบุ๊คกำลังจะริเริ่มก็คือจะทำให้เราสามารถเปลี่ยนมือถือของเราให้สามารถเข้าถึงบริการทางด้านการเงินได้โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องมีบัญชีธนาคาร” นอกจากนี้คุณท็อปได้อธิบายให้เห็นถึงจุดประสงค์หลักของ Facebook ได้อย่างชัดเจนไปแล้ว
มาดูฝั่งทางเอเชียของเรากันบ้าง คุณท็อปจะมีความคิดเห็นอย่างไร
ข่าวเกี่ยวข้อง
ธปท.คืบหน้าสกุลเงินดิจิทัล ลุยต่อยอดสู่ภาคธุรกิจ
บล็อกเชนกับสิทธิผู้บริโภคในโลกโฆษณา
หยวนดิจิตอล(DCEP)
คือ “สกุลเงินดิจิตอลที่มีความนิ่งของราคา เราเรียกว่า Stable coin แต่ออกโดยรัฐบาลจีน” เป้าหมายที่ประเทศจีนพัฒนาหยวนดิจิตอล คือ “ประเทศจีนเป็นประเทศที่ใหญ่มากมีคนอยู่ 1.5 พันล้านคน สำหรับในปัญหาแรกนั้น
ลองคิดภาพนะครับ
ปีหนึ่งเขาต้องใช้กระดาษเท่าไหร่ในการผลิตเงินหรือเหรียญที่เป็นเหล็กต้นทุนทางการเงินมหาศาล ด้วยจำนวนคนของเขาที่ค่อนข้างเยอะ แปลว่าตุ้นทุนการผลิตพวกนี้มันเยอะมากๆ แต่ถ้าเขาเปลี่ยนทุกอย่างให้เป็นดิจิตอลทั้งหมดเลยมันจะทำให้ต้นทุนในการผลิตแบงกฺใหม่แทบไม่มีเลย
ปัญหาที่สอง คือ ประเทศจีนผลิตเงินออกมา 2 พันล้านหยวน กระดาษอาจจะหมุนได้รอบนึงเพราะมันมีระยะทางเป็นปัจจัย มันไม่มีประสิทธิภาพเท่าไหร่ต้องยื่นเงินระหว่างกัน ทำให้เศรษฐกิจและ GDP โตได้แค่เท่านึง แต่ถ้าเค้าเปลี่ยนทุกอย่างเป็นดิจิตอลเมื่อไหร่ ถึงเเม้ว่าเงินออกมา 2 พันล้านหยวนเหมือนกันเเต่เงินมันหมุนได้หลายรอบแปลว่า GDP จะโตได้อีกหลายเท่าเลย
ปัญหาที่สาม คือ เค้ากลัวที่ Libra ของฝั่งอเมริกาออกมาก่อนเเล้วทำให้หยวนจะอ่อนค่าลง และถ้าคนหันไปใช้ Libra หรือ Bitcoin ทั้งหมด เขากลัวว่าจะไม่สามารถควบคุมเงินเข้าออกของประเทศเขาได้
ปัญหาที่สี่ คือ เมื่อโควิดเกิดขึ้นมาทำให้คนไม่อยากจับแบงก์กันเพราะมันเป็นสื่อกลางในการกระจายเชื้อโรคเหมือนกัน”
เมื่อเราได้เข้าใจมาบ้างเเล้วว่าลิบรา(Libra) และ หยวนดิจิตอล(DCEP) คือออะไรมันยังมีอีกหนึ่งสกุลเงินดิจิตอลที่คุณท็อปได้อธิบายให้เข้าใจง่ายมากๆ นั้น ก็คือ บิทคอยน์(Bitcoin)...
บิทคอยน์(Bitcoin) คือ สกุลเงินดิจิทัล สกุลเเรกที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2008 ที่ทำให้เราสามารถส่งเงินถึงกันได้โดยปราศจากตัวกลางอย่างธนาคาร
“ประเทศจีนมี หยวน คือภาษาในการแลกเปลี่ยนสินค้าในประเทศเขา ประเทศไทยมีภาษาเรียกว่าเงินบาทในการเเลกเปลี่ยนสินค้าบริการในประเทศไทย แต่ในประเทศอินเตอร์เน็ต ที่มีประชากรเยอะที่สุดในโลกเขายังไม่มีภาษากลางในการเเลกเปลี่ยนมูลค่าในโลกอินเตอร์เน็ตเลย ซึ่งบิทคอยน์ คือภาษากลาง หรือเงินของประเทศอินเตอร์เน็ตแล้วทำไม บิทคอยน์ถึงเป็นเงินของประเทศอินเตอร์เน็ต ประเทศจีนมีรัฐบาลกลางของจีนเป็นคนควบคุมเงินภายในประเทศ ประเทศไทยก็มีรัฐบาลกลางของไทยเป็นคนควบคุมเงินภายในประเทศ แต่บิทคอยน์เป็นเงินของประเทศอินเตอร์เน็ตที่ไม่มีคนไดคนนึงหรือประเทศไดประเทศนึงเป็นเจ้าของ ”
มาถึงตรงนี้ถ้าโลกของเราใช้แค่ 3 สกุลเงินจริงๆตามที่กล่าวมาข้างต้น ความเท่าเทียมกันของสังคมอาจจะเกิดขึ้นบนโลกของเราโดยไม่มีใครรู้ตัวก็เป็นได้