เปิดประวัติ "ผยง ศรีวณิช"ประธานสมาคมธนาคารไทยคนที่ 24
การประกาศลาออกจากประธานสมาคมธนาคารไทย ของ “ปรีดี ดาวฉาย”กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เพื่อเป็นหนึ่งในทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลปัจจุบัน โดยรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังนั้น
ในที่สุด เมื่อวันที่ 19สิงหาคม 2563 ที่ประชุมคณะกรรมการสมาคมธนาคารไทย ได้แต่งตั้ง “ผยง ศรีวณิช”กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงไทยดำรงตำแหน่งประธานสมาคมธนาคารไทยคนที่ 24โดยมีผลตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
รู้จักประธานสมาคมธนาคารไทยป้ายแดง
กรมที่ดินขอ“กรุงไทย”ตั้งเครื่องชำระเงินEDCคลุม463 สาขาทั่วประเทศ
เปิดประวัติประธานสมาคมธนาคารไทย คนที่ 24
ปัจจุบัน “ผยง ศรีวณิช” อายุ 52 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมศาสตร์ ที่ University of Arizona ,Tucson, Arizona สหรัฐอเมริกา ระดับปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ ที่ University of Pittsburgh, Pennsylvania สหรัฐอเมริกา มีประสบการณ์ในด้านธุรกิจการเงินการธนาคารมากว่า 20 ปี เคยดำรงตำแหน่ง Managing Director, Head of Global Markets & Country Treasurer Citibank N.A.,Thailand ระหว่างปี 2551-2557 ทำงานกับธนาคารกรุงไทยในปี 2558 ในตำแหน่ง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน สายงานธุรกิจตลาดเงินตลาดทุน ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงไทย
“ผยง ศรีวณิช” กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ซึ่งนอกจากบริหารจัดการธนาคารแห่งนี้เชิงธุรกิจแล้ว เชื่อว่าประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศย่อมคุ้นเคยกับธนาคารกรุงไทย ไม่ว่าในฐานะธนาคารที่กระจายสลากกินแบ่งรัฐบาลเพื่อให้ถึงมือผู้ค้าสลาก การส่งต่อโครงการรัฐสวัสดิการให้ถึงประชาชนอีกหลากหลายโครงการ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งภารกิจ
สำหรับภารกิจของประธานสมาคมธนาคารไทย ยังคงให้น้ำหนัก เรื่องการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ (Sustainable Banking Guidelines – Responsible Lending) เป็นหนึ่งภารกิจภายใต้แผนยุทธศาสตร์ 5ปีของสมาคมธนาคารไทย ซึ่งเป็นแนวทางให้ธนาคารพาณิชย์ ในฐานะผู้จัดสรรเงินทุนเพื่อขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ ดำเนินกิจการภายใต้หลักการ “การธนาคารเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Banking)” โดยนำปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social, and Governance: ESG) มาร่วมพิจารณาในการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์สำหรับการให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ ตลอดจนมีกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงและผลกระทบที่เกิดจากการให้สินเชื่อของธนาคาร
ทั้งนี้ ยังต่อสานต่อแผนยุทธศาสตร์ของสมาคมธนาคารไทยอีก 7ด้านได้แก่ 1. การสร้างระบบชำระเงินและธนาคารดิจิทัล (Digital Banking) 2. การเข้าถึงบริการทางการเงินของประชาชน (Financial Inclusion) 3. การส่งเสริมการให้ความรู้ทางการเงินแก่ภาคประชาชน (Financial Literacy) 4. การเตรียมความพร้อมเพื่อส่งเสริมการลงทุนและการค้าภายในภูมิภาค (Regional Integration) 5. การยกระดับความรู้ความสามารถของพนักงานธนาคาร (Human Capital Development) 6. การผลักดันการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (Regal and Regulation) 7. การยกระดับมาตรฐานจรรยาบรรณธนาคาร (Code of Conduct) เป็นต้น