เยียวยารอบ2 “เราชนะ” 3500 บาท กับ “เราไม่ทิ้งกัน” ต่างกันตรงไหน เช็กได้ที่นี่

16 ม.ค. 2564 | 01:41 น.
อัปเดตล่าสุด :16 ม.ค. 2564 | 02:01 น.

รายงานพิเศษ : เยียวยารอบ2 “เราชนะ” 3500 บาท กับ “เราไม่ทิ้งกัน” ต่างกันตรงไหน เช็กได้ที่นี่

มาตรการเยียวยารอบ2 ของรัฐบาล ในชื่อ มาตรการ “เราชนะ” ที่จะจ่ายเงินเยียวยา เดือนละ 3,500 บาท เป็นเวลา 2 เดือน รวม 7,000 บาท ต่อคน เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แม้ว่าจะต้องรอรายละเอียดหลังการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันอังคารที่ 19 มกราคม 64 นี้  

 

แต่เบื้องต้นพบว่า มีหลายจุดที่น่าสนใจและหลายคนสงสัยความแตกต่าง ระหว่าง มาตรการเราชนะ ที่แม้ว่ายังไม่ผ่านมติครม. กับ มาตรการเราไม่ทิ้งกัน ซึ่งปิดมาตรการไปแล้ว เป็นการเยียวยาโควิดรอบแรก "ฐานเศรษฐกิจ" จึงหาคำตอบในความต่างนี้มาให้เห็น ดังนี้ 

 

จำนวนเงินเยียวยา

 

เราไม่ทิ้งกัน - มอบเงินเยียวยาจำนวน 5,000 บาท ต่อคนต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน รวม 15,000 บาท 

 

เราชนะ - มอบเงินเยียวยาจำนวน 3,500 บาท ต่อคนต่อเดือน เป็นเวลา 2 เดือน รวม 7,000 บาท

 

การโอนเงินเยียวยา

 

ทั้งสองมาตรการ เราชนะ และ เราไม่ทิ้งกัน อยู่ภายใต้กระทรวงการคลัง โดยมี ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการ ดังนั้นระบบจะคล้ายกันในบางจุด ดังนี้

 

เราไม่ทิ้งกัน – โอนเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ เพื่อเข้าบัญชีธนาคารที่ลงทะเบียนไว้ และผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (G-wallet) แอปพลิเคชั่น เป๋าตัง 

 

เราชนะ – 1.โอนเงินผ่านระบบพร้อมเพย์เพื่อเข้าบัญชีธนาคารที่ลงทะเบียนไว้(เหมือนกับเราไม่ทิ้งกัน) 2.โอนเงินเข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (G-Wallet) ผ่านแอปพลิเคชั่นเป๋าตัง สำหรับคนที่ได้รับสิทธิ์มาตรการคนละครึ่งอยู่แล้ว เพื่อให้กดเงินสด หรือ นำเงินไปใช้ในมาตรการคนละครึ่ง 3.โอนเข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ บัตรคนจนโดยตรง

จำนวนผู้ได้รับสิทธิ์เยียวยา

 

เราไม่ทิ้งกัน – จำนวน 15 ล้านราย 

 

เราชนะ – จำนวน 30 – 35 ล้านราย

 

กลุ่มที่ได้รับสิทธิ์ลงทะเบียนรับเงินเยียวยา

 

เราไม่ทิ้งกัน – แรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ ผู้ที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 

 

เราชนะ –ผู้มีรายได้น้อยโครงการคนละครึ่ง ร้านค้าร่วมโครงการคนละครึ่งที่มีรายได้น้อย ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เกษตรกร ผู้ประกอบอาชีพอิสระที่มีรายได้น้อย วินมอเตอร์ไซค์ แท็กซี่ ผู้ส่งอาหารเดลิเวอรี่ ฯ

 

กลุ่มที่ไม่ได้รับสิทธิ์รับเงินเยียวยา    

 

ทั้งเราไม่ทิ้งกันและเราชนะมีเงื่อนไข เหมือนกันคือ ไม่ให้สิทธิ์กับ ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ข้าราชการ พนักงานและลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ ลูกจ้างที่อยู่ในฐานระบบประกันสังคม ตามมาตรา 33 จำนวน และผู้มีรายได้สูง

ข้อมูล-หลักฐานใช้ลงทะเบียนรับสิทธิ์

 

เราไม่ทิ้งกัน – หมายเลขบัตรประชาชน ข้อมูลการประกอบอาชีพ ข้อมูลบริษัทนายจ้าง (กรณีมีนายจ้าง) กรอกข้อมูลปัญหาความเดือดร้อน หากข้อมูลไม่เพียงพอ ธนาคารกรุงไทยจะมีทีม “ผู้พิทักษ์สิทธิ์” ลงพื้นที่ตรวจสอบและยืนยันข้อมูลโดยตรง

 

เราชนะ – เบื้องต้น ใช้ “หมายเลขบัตรประชาชน” เพียงอย่างเดียว เพราะใช้ฐานข้อมูลเดิมในระบบ Big DATA ของ เราไม่ทิ้งกัน มาตรการคนละครึ่ง บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

 

ช่องทางการลงทะเบียนรับสิทธิ์เยียวยา

 

เราไม่ทิ้งกัน – ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com (เว็บไซต์ยังไม่ปิด แต่ปิดมาตรการไปแล้ว)

 

เราชนะ – ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.เราชนะ.com (จะเปิดใช้งาน หลังครม.มีมติวันที่ 19 มกราคม 2564)

 

โดย นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ให้สัมภาษณ์วันที่ 15 มกราคม 2564 ว่า มาตรการ “เราชนะ”  ยืนยันว่า ในอังคารที่ 19 ม.ค.64 จะเข้าครม. มีแน่นอน และสามารถตอบคำถามได้ทุกคำถาม 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“เราชนะ” ใครได้-ไม่ได้ รับเยียวยารอบ2 เงิน 3,500 บาท เช็กได้ที่นี่ 

ขั้นตอนกดเงินเยียวยา "เราชนะ" 3,500 จากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

สรุป เราชนะลงทะเบียน 3500 ความคืบหน้า เงื่อนไข กลุ่มไหนได้-ไม่ได้รับสิทธิ ล่าสุดครบจบที่นี่

www.เราชนะ.com เว็บไซต์ "เราชนะ" เยียวยา 3500 บาท ยืนยันลงทะเบียนไม่ยุ่งยาก

“เราชนะ” กลุ่มเปราะบาง เช็กด่วนลงทะเบียน3500 รับเงินยาโควิด 2 เด้ง