แบงก์ชาติเผยเศรษฐกิจไทยเดือนพ.ค.หดตัวมากขึ้น

30 มิ.ย. 2564 | 09:24 น.

ธปท.เผยเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยเดือนพ.ค.หดตัวมากขี้น ความเชื่อมั่นธุรกิจ 3เดือนข้างหน้าต่ำกว่าระดับ 50 เกือบทุกธุรกิจ

ธปท.เผยเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยเดือนพ.ค.หดตัวมากขึ้น แม้ภาครัฐ-การส่งออกยังช่วยพยุง แต่ความเชื่อมั่นธุรกิจ 3เดือนข้างหน้าต่ำกว่าระดับ 50 เกือบทุกธุรกิจ  ห่วงตลาดแรงงานจับตาสถานการณ์โควิด มาตรการควบคุม  ความต่อเนื่องในการจัดหาความเร็วในการกระจายฉีดวัคซีน

 

แบงก์ชาติเผยเศรษฐกิจไทยเดือนพ.ค.หดตัวมากขึ้น

          นางสาวชญาวดี  ชัยอนันต์  ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบชัดเจนมากขึ้นจากการแพร่ระบาดระลอก 3ของ COVID-19  เห็นได้จากดัชนีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2  แต่การส่งออกยังเติบโตได้จากประเทศคู่ค้าที่ยังขยายตัวได้ดี ซึ่งการส่งออกที่ยังเติบโตช่วยพยุงการผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI) ทรงตัวผลผลิตสินค้าเกษตรยังคงทรงๆจากเดือนก่อน  แต่ภาคบริการได้รับผลกระทบลดลงตามที่คาดสอดคล้องกับการบริโภคที่ลดลง

แบงก์ชาติเผยเศรษฐกิจไทยเดือนพ.ค.หดตัวมากขึ้น

          สำหรับกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมีต่อเนื่องและชัดเจน  เห็นได้จากเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนที่หดตัว 3.1%จากเดือนเมษายน  โดยหลักๆมาจากการแพร่ระบาดของโควิดที่ยังมีต่อเนื่อง รวมมาตรการควบคุมที่เข็มงวด  ความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงต่ำเป็นประวัติการณ์อีกเดือน แม้จะมีมาตรการภาครัฐ(เราชนะ ม.33เรารักกัน)แต่ยังช่วยเพียงบางส่วนเท่านั้น โดยการบริโภคภาคเอกชนหดตัวทุกหมวดเช่น สินค้าคงทนเป็นการลดลงของยอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคล   รถกระบะ  รถจักรยานยนต์ด้วย ,  สินค้าไม่คงทน ลดลงทุกหมวดยกเว้นการใช้ไฟฟ้า ส่วนการบริโภคภาคบริการ(ภัตตาคาร โรงแรม การขนส่งคน) ลดลงจากการเดินทางที่ลดลงมาก สะท้อนจากดัชนีผลผลิตภาคบริการ หมวดโรงแรม ภัตตาคาร และการขนส่งคนปรับลดลงในระดับต่ำมาก หมวดการขนส่งและการค้าปลีกยังพอไปได้

ตลาดแรงงานยังเห็นความเปราะบางต่อเนื่อง  ผลสำรวจพบว่า ผู้ประกอบอาชีพอิสระยังมีความกังวล ขณะที่ภาคการผลิตแม้รายได้จะทรงตัว แต่มีโรงงานในพื้นที่ได้รับผลกระทบบางโรงงานคนงานติดเชื้ออาจจะย้ายการผลิตไปโรงงานอื่น  ภาคอสังหาริมทรัพย์บางพื้นที่ขาดแคลนแรงงานต่างด้าว แต่เมื่อมีมาตรการเข้มงวดทำให้ไซต์ใหญ่ต้องหยุดชั่วคราวน่าจะเกิดผลกระทบ ซึ่งธปท.จะติดตามผลกระทบต่อไป  สำหรับภาคการค้าเห็นรายได้ลดลง มีการสลับทำงานมากขึ้น เริ่มปลดพนักงานมากขึ้น ส่วนภาคบริการรายได้ลดชัดเจน ลดจำนวนวันทำงานเหลือไม่ถึงครึ่งของวันปกติ  และเน้นจ้างงานพาร์ทไทม์ เหล่านี้สะท้อนตลาดแรงงานที่เปราะบางซึ่งอนาคตอาจจะส่งผลกระทบการบริโภคต่อเนื่อง  

แบงก์ชาติเผยเศรษฐกิจไทยเดือนพ.ค.หดตัวมากขึ้น

นอกจากนี้การลงทุนภาคเอกชนลดลด 2.3%จากเดือนก่อนหน้า เป็นการลดลงทั้งหมวดเครื่องจักร และอุปกรณ์ก่อสร้าง  โดยเริ่มเห็นการนำเข้าสินค้าทุนในหมวดคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือปรับลดลง ส่วนหนึ่งมาจากหมดโปรโมชั่น แต่ยังมีการนำเข้าอุปกรณ์โครงข่ายคมนาคม และหุ่นยนต์ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมซึ่งต้องจับตาผลกระทบตลาดแรงงานในระยะต่อไป ในส่วนภาคก่อสร้างหักหัวลงในเดือนพ.ค.จากก่อนหน้าปรับตัวดี มาจากอุปสงค์ที่อ่อนแอ  ขาดแคลนแรงงาน และต้นทุนวัสดุก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา

“การปรับลดลงของดัชนีภาคการลงทุน เป็นผลจากการปรับลดลงของความเชื่อมั่นที่ปรับลดลงต่อเนื่องด้วย ซึ่งความเชื่อมั่นของธุรกิจในอีก 3เดือนข้างหน้าก็ปรับลดลงต่ำกว่าระดับ 50ในรอบ3เดือนตามความเชื่อมั่นที่ลดลงเกือบทุกธุรกิจ”

แบงก์ชาติเผยเศรษฐกิจไทยเดือนพ.ค.หดตัวมากขึ้น

ด้านเครื่องชี้กลุ่มที่เข้ามาช่วยผยุงเศรษฐกิจไทย ได้แก่ การส่งออกสินค้าเติบโตเล็กน้อย 0.4% จากเดือนก่อน เป็นการเติบโตจากสินค้าเกษตร ส่งผลไม้ไปจีน  สินค้าที่เคลื่อนไหวตามราคาน้ำมัน  สินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์  แต่เกษตรแปรรูปได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนคอนเทนเนอร์  เครื่องใช้ไฟฟ้า 

ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐไม่รวมเงินโอน เป็นอีกตัวแปรที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจ โดยรายจ่ายประจำขยายตัวได้ 4.2%  รายจ่ายลงทุน(รัฐบาลกลาง) ขยายตัว 6.0%จากการคมนาคมและชลประเทศ  ขณะที่การเบิกจ่ายของรัฐวิสาหกิจหดตัวเล็กน้อย-2.9%

ด้านเสถียรภาพต่างประเทศนั้น ดุลบัญชีเดือนสะพัดเดือนพ.ค.ขาดดุล2.6พันล้านดอลลาร์มากกว่าเดือนก่อน(-1.3พันล้านดอลลาร์)ตามดุลบริการ  รายได้และเงินโอนที่ขาดดุลเพิ่มขึ้น ซึ่งมาจากรายจ่ายค่าทรัพย์สินทางปัญญา และรายจ่ายขนส่งสินค้าปรับเพิ่มขึ้น  ขณะที่ดุลการค้าเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนซึ่งมาจากการส่งออกที่ดี   อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเดือนพ.ค.แข็งค่าเล็กน้อยจากเดือนก่อน มาจากเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเนื่องจากนักลงทุนคลายความกังวลต่อนโยบายการเงินของเฟด แต่การแข็งค่าของเงินบาทยังน้อยกว่าสกุลเงินประเทศอื่น  เพราะการแพร่ระบาดของโควิดอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ทำให้ดัชนีค่าเงินบาทที่เทียบกับคู่ค้าคู่แข่ง(NEER)อ่อนค่าลงในเดือนพ.ค. เดือนมิ.ย.ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ซึ่งการอ่อนค่าเร็วของเงินบาทมาจากสถานการณ์ในประเทศด้วย(ปัญหาการติดเชื้อ การระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่)

แบงก์ชาติเผยเศรษฐกิจไทยเดือนพ.ค.หดตัวมากขึ้น

สำหรับเสถียรภาพในประเทศ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป 2.44%ปรับลดลงจาก 3.41%เดือนก่อนหน้า ตามอัตราเงินเฟ้อหมวดพลังงานเป็นสำคัญ จากผลของมาตรการลดค่าไฟฟ้าเพื่อบรรเทาค่าครองชีพให้กับประชาชน  เงินเฟ้อพื้นฐานปรับเพิ่มขึ้น 0.49%จากเดือนเมษายนอยู่ที่ 0.30%ส่วนหนึ่งจากฐานที่ต่ำของปีก่อน   กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด ค่อนข้างมาก ซึ่งความไม่แน่นอนของสถานการณ์การระบาดโควิดจะเป็นตัวแปรสำคัญที่จะมีส่วนกำหนดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยระยะต่อไป

โดยสรุปภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือนพ.ค. จะเห็นเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยหลายตัวได้รับผลกระทบชัดเจนขึ้น จากการแพร่ระบาดระลอก 3 ของโควิด แต่จะมีปัจจัยภาครัฐและการส่งออกช่วยพยุง สำหรับประเด็นที่ต้องติดตาม สถานการณ์การระบาดของโควิด มาตรการที่จะออกมาควบคุม  ความต่อเนื่องในการจัดหาและความเร็วในการกระจายฉีดวัคซีน

แบงก์ชาติเผยเศรษฐกิจไทยเดือนพ.ค.หดตัวมากขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: