เช็กที่นี่วิธีตรวจสอบ “สิทธิบัตรทอง” ด้วยตนเอง

21 ก.ค. 2563 | 19:09 น.
อัปเดตล่าสุด :10 พ.ย. 2563 | 12:02 น.

เผย 5 ขั้นตอนตรวจสอบสิทธิหลักประกันสุขภาพ ผ่าน 5 ช่องทางต้องทำอย่างไรเช็กที่นี่ที่เดียว

เมื่อเร็ว ๆนี้ เฟซบุ๊กไทยคู่ฟ้า ได้โพสต์ข้อความว่า  รู้หรือไม่? คุณสามารถตรวสอบสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สิทธิบัตรทอง) ด้วยตนเอง" ได้แล้ว ผ่านทาง 5 ช่องทาง! ติดตามอ่านได้จากบรรทัดถัดจากนี้

ช่องทางที่ 1 : ไปติดต่อด้วยตนเองได้ที่ สำนักงานเขต กทม. (19 เขต)/ สปสช. เขตพื้นที่ 1-13/ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล/ โรงพยาบาลของรัฐ

ช่องทางที่ 2 : โทรสายด่วน สปสช. 1330 กด 2 ตามด้วยหมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก และเครื่องหมาย # (สำหรับคนชอบโทรศัพท์ ช่องทางนี้สะดวกมาก ๆ)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผู้ประกันตนมาตรา 33 เฮ ครม.อนุมัติจ่ายเงินเยียวยาครั้งเดียว 15,000 บาท

ตรวจสอบสถานะ www.เยียวยาเกษตรกร.com รีบแจ้งบัญชีได้เงินรอบเดียว 15,000

ตรวจสอบเช็กสิทธิ์www.เยียวยาเกษตกร.com ธ.ก.ส.โอนแล้วแสนล้าน

ช่องทางที่ 3 : ทาง Application "สปสช." สามารถดาวน์โหลดฟรี ได้ทั้งระบบ Andriod และ iOS (สแกน QR Code เพื่อดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน)

(หมายเหตุ : เมื่อลงทะเบียนติดตั้งแอปพลิเคชันเรียบร้อย สามารถเข้าใช้งานฟังก์ชั่น ตรวจสอบสิทธิตนเอง และตรวจสอบสิทธิคนในครอบครัวได้ทันที)

ช่องทางที่ 4 : ผ่าน LINE Official Account สปสช. - แอดเป็นเพื่อนง่าย ๆ พิมพ์ค้นหา Line ID @nhso หรือ สแกน QR Code/ คลิกลิงก์ https://lin.ee/zzn3pU6

(หมายเหตุ : ใช้งานง่าย ๆ เพียงเลือกฟังก์ชั่น "ตรวจสอบสิทธิ" และกรอกข้อมูล ก็สามารถตรวจสอบสิทธิได้แล้ว)

ช่องทางที่ 5 : ผ่านทางเว็บไซต์ สปสช. www.nhso.go.th

(เข้าเมนูประชาชน เลือกหัวข้อ "ตรวจสอบสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ" หรือคลิกลิงก์นี้ https://eservices.nhso.go.th/eServices/

หากมีข้อสงสัยสอบถามเพิ่มเติม โทร สายด่วน สปสช. 1330 ให้บริการตลอด 24 ชม.

 

สิทธิบัตรทอง มีประโยชน์อย่างไร

สิทธิบัตรทอง หรือ สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง/30 บาทรักษาทุกโรค) เป็นสิทธิตามกฎหมายที่รัฐบาลจัดให้คนไทยทุกคนตั้งแต่แรกเกิดและตลอดช่วงชีวิต ซึ่งผู้ใช้บัตรทองจะต้องลงทะเบียนไว้กับสถานพยาบาลที่ตนต้องการเข้ารับการรักษา โดยทั่วไปจะเลือกสถานพยาบาลใกล้บ้าน ล่าสุดได้ยกเลิกเก็บ 30 บาท ในกลุ่มประชาชนที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

กรณีที่เจ็บป่วยฉุกเฉินซึ่งผู้ใช้สิทธิบัตรทองกับสถานพยาบาลอยู่คนละพื้นที่กัน สามารถใช้สิทธิบัตรทองแบบฉุกเฉินกับสถานพยาบาลนอกเขตพื้นที่ได้ค่ะ แต่ถ้าเจ็บป่วยทั่วไปและใช้สิทธิข้ามเขต ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายยาเองทั้งหมด

ประโยชน์จากบัตงรทองมีอะไรบ้าง

ผู้ใช้สิทธิบัตรทอง จะได้รับการคุ้มครองเรื่องค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุข (จ่ายค่าบริการและค่ายาครั้งละ 30 บาท) ตั้งแต่การตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การรักษา และการป้องกันโรค รวมถึงการคลอดลูก และการทำฟันด้วย ซึ่งจะครอบคลุมไปถึงค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าอาการและค่าห้องสามัญ ค่าการจัดส่งต่อ ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ และค่าบริการนวดแผนไทย ให้สำหรับคนทุกกลุ่มตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 60 ปีขึ้นไป

สิทธิประโยชน์ของผู้ถือบัตรทองมีดังนี้ 

การส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ ทั้งก่อนและหลังคลอดการคลอด การคลอดบุตรรวมกันไม่เกิน 2 ครั้ง

* การดูแลสุขภาพและพัฒนาการของเด็ก รวมทั้ง วัคซีนเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค

* บริการวางแผนครอบครัว ได้แก่ การให้คำแนะนำปรึกษาแก่คู่สมรส การคุมกำเนิด

* การตรวจ การวินิจฉัย การรักษาโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์

* ค่ายาและเวชภัณฑ์ตามกรอบบัญชียาหลักแห่งชาติ

 * ค่าอาหารและค่าห้องสามัญ ระหว่างพักรักษาตัว ณ หน่วยบริการ

* การจัดส่งต่อเพื่อการรักษาระหว่างหน่วยบริการ