16 พฤศจิกายน 2563 วันแรกที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จ่ายเงินโครงการประกันรายได้เกษตรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 63/64 (รอบที่ 1) ให้กับเกษตรกร ที่มีคุณสมบัติถูกต้องทั้งสิ้น 871,869 ราย คิดเป็นเงิน 9,298 ล้านบาท และจะทยอยจ่ายเงินให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจนครบต่อไป
เกษตรกรผู้ปลูกข้าว สามารถตรวจสถานะเงินประกันรายได้ข้าวด้วยตัวเอง ดังนี้
ตรวจสอบสถานะเงินประกันรายได้ข้าวด้วยวิธีอื่น
นายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า โครงการประกันรายได้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในครั้งนี้ มีด้วยกัน 5 ชนิด ดังนี้
การชดเชยส่วนต่างราคาประกันรายได้ข้าว ล่าสุด ณ วันที่ 16 พ.ย. 2563 มีดังนี้
การกำหนดราคาอ้างอิงและระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชยประกันรายได้ข้าว ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. – 31 ต.ค. 2563 (ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 16 มิ.ย. 2563 – 28 ก.พ. 2564) ซึ่งคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงครั้งแรกวันที่ 9 พ.ย. 2563 เพื่อใช้ในการชดเชยส่วนต่างตามโครงการฯ ความชื้นข้าวเปลือกแต่ละชนิด ไม่เกิน 15%
ณ วันที่ 16 พ.ย. 2563 ได้ชดเชยส่วนต่างราคาประกันข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 2,911.17 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 2,137.45 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 1,222.36 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 1,066.96 บาท และข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 2,084.34 บาท
สำหรับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินประกันรายได้ เกษตรกรจะต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และต้องแจ้งวันที่คาดว่าจะเก็บเกี่ยว เพื่อใช้เป็นข้อมูลช่วงเวลาที่เกษตรกรจะได้รับสิทธิชดเชย โดยกรมส่งเสริมการเกษตรจัดส่งข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว จำแนกตามช่วงเวลาที่เก็บเกี่ยวและคำนวณปริมาณผลผลิต โดยใช้พื้นที่ทั้งหมดที่ขึ้นทะเบียนปลูกข้าวแต่ละชนิดคูณผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เป็นปริมาณผลผลิตที่ต้องชดเชย แต่ต้องไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้ข้างต้น ส่งให้ ธ.ก.ส. เพื่อเป็นข้อมูลในการจ่ายเงิน
จากนั้น ธ.ก.ส. จะดำเนินการจ่ายเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง ภายใน 3 วัน นับจากวันที่ได้รับราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงในแต่ละรอบจากคณะอนุกรรมการฯ ซึ่งเกษตรกรสามารถตรวจสอบผลการโอนเงินได้ทางแอพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile ตลอด 24 ชั่วโมง และจะมีข้อความแจ้งเตือนเงินเข้าบัญชีผ่าน LINE Official BAAC Family กรณีที่ลูกค้าสมัครใช้บริการ BAAC Connect
ด้านน.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทวิตข้อความผ่าน @Rachadaspoke ว่ารอรับได้เลย #ธกส แจ้งโอนเงินส่วนต่าง #ประกันรายได้ ผู้ปลูกข้าว งวดแรก วันนี้ (16 พ.ย.) เข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง ในงวดนี้ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวแต่ละชนิดจะได้รับเงินส่วนต่างสูงสุด เช่น -ข้าวเปลือกเจ้า รับเงินส่วนต่างสูงสุด 36,670 บาท -ข้าวเหนียว รับเงินส่วนต่างสูงสุด 33,349 บาท
นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผย เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่จะได้รับสิทธิ์ในปีการผลิต 2563/2564 มีประมาณกว่า 4 ล้านราย ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร โดยรัฐบาลได้ประกันรายได้ให้แก่เกษตรผู้ปลูกข้าวทั้งหมด 5 ชนิด ยึดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินประกันรายได้เช่นเดียวกันรอบที่ 1 โดนในวันนี้ (16 พ.ย.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. จะเริ่มจ่ายเงินประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวรอบที่ 1 จึงขอความร่วมมือให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ตรวจสอบสิทธิ์ของตนเองที่ขึ้นทะเบียนไว้ต้องตรงกับบัญชีที่เปิดไว้กับ ธ.ก.ส. เพื่อได้รับสิทธิ์อย่างเต็มที่และรวดเร็ว
16 พฤศจิกายน 2563 นายวัฒนศักย์ เสือเอียม รองอธิบดี รักษาราชการแทน อธิบดีกรมการค้าภายใน ในฐานะประธานอนุกรรมการกํากับดูแลและกําหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายใต้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ลงนามในประกาศคณะอนุกรรมการกํากับดูแลและกําหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว เรื่อง การกําหนดราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง และการชดเชยส่วนต่างราคาตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 (งวดที่ 2) เพื่อกำหนดการชดเชยส่วนต่างระหว่างราคาประกันรายได้กับราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง ที่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรใช้ในการจ่ายให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว สําหรับการจ่ายเงินงวดที่ 2 ในวันที่ 16 พฤศจิกายน2563 ดังนี้
(1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ต้นละ 2,996.97 บาท
(2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 2,272.96 บาท
(3) ข้าวเปลือกเจ้าต้นล 1,119.18 บาท
(4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 1,060.16 บาท
(5) ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 1,311.01 บาท
18 พฤศจิกายน 2563 ธ.ก.ส.ชี้แจงกรณีการโอนเงินตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 งวดแรก เมื่อ 16 พ.ย. 2563 ไม่ครบหรือเกินกว่าจำนวนจริง จากข้อผิดพลาดของการสลับชนิดข้าวทำให้การคำนวณคลาดเคลื่อน โดยนายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ยอมรับว่า ธ.ก.ส.ได้ตรวจพบข้อผิดพลาดในการคำนวณเงินชดเชยสลับชนิดข้าว กล่าวคือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเจ้าซึ่งได้รับชดเชยส่วนต่างตันละ 1,222.36 บาท กับข้าวหอมปทุมธานีที่ได้รับการชดเชยส่วนต่างตันละ 1,066.96 บาท จึงทำให้มีเกษตรกรจำนวน 409,917 ราย ซึ่งปลูกข้าวเจ้าและข้าวหอมปทุมธานีไม่ได้รับเงินตามจำนวนที่ถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม ธ.ก.ส.ได้เร่งแก้ไขโดยการโอนเงินเพิ่มเติมให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเจ้าครบตามจำนวน ภายในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 และมอบหมายให้สาขาในพื้นที่ชี้แจงทำความเข้าใจแก่เกษตรกรในกรณีที่ต้องดึงเงินส่วนที่เกินคืนจากบัญชีเงินฝากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปทุมธานี เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563