จากกรณีที่กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. เตรียมเงินกู้จำนวน 38,000 ล้านบาท ให้ยื่นกู้ผ่านแอปพลิเคชัน “กยศ. Connect” ได้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 เป็นต้นไปในปีการศึกษา 2564
ซึ่งปีนี้เป็นปีแรกที่กยศ. เปิดให้กู้ยืมเงินตั้งแต่ มัธยมศึกษาตอนปลาย ถึง ระดับ ปริญญาโท จำนวน 624,000 ราย ยื่นกู้ยืมได้สูงสุดถึง 200,000 บาทต่อปี ขึ้นอยู่กับหลักสูตรสาขาวิชาหรือประเภทวิชาที่เลือกเรียน
สำหรับเงื่อนไขการกู้ยืม กยศ. ปี 2564 แบ่งเป็น 4 ลักษณะ
1. นักเรียนหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ลักษณะที่
2. นักเรียนหรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลัก ซึ่งมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคนและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ
3. นักเรียนหรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลน หรือที่กองทุนมุ่งส่งเสริมเป็นพิเศษ
4. นักเรียนหรือนักศึกษาที่เรียนดี เพื่อสร้างความเป็นเลิศ โดยให้กู้ในระดับปริญญาโท
ฐานเศรษฐกิจ เว็บไซต์กองทุน กยศ. www.studentloan.or.th พบรายละเอียด “กำหนดลักษณะและขอบเขตการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ปีการศึกษา 2564” ดังนี้
มัธยมศึกษาตอนปลาย
- ค่าเล่าเรียน/ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่อง 14,000 บาท/ราย/ปี
- ค่าครองชีพ 21,600 บาท/ราย/ปี
ปวช.
- ค่าเล่าเรียน/ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่อง 21,000 บาท/ราย/ปี (ลักษณะที่ 1-3 )
- ค่าครองชีพ 36,000 บาท
ปวท.- ปวส.
- ค่าเล่าเรียน/ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่อง 25,000 – 30,000 บาท/ราย/ปี (ลักษณะที่ 1 )
- ค่าเล่าเรียน/ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่อง 25,000 – 60,000 บาท/ราย/ปี (ลักษณะที่ 2)
- ค่าเล่าเรียน/ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่อง 25,000 บาท/ราย/ปี (ลักษณะที่ 3 )
- ค่าครองชีพ 36,000 บาท
อนุปริญญา – ป.ตรี
- ค่าเล่าเรียน/ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่อง 50,000 – 200,000 บาท/ราย/ปี (ลักษณะที่ 1)
- ค่าเล่าเรียน/ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่อง 60,000 – 200,000 บาท/ราย/ปี (ลักษณะที่ 2 )
- ค่าเล่าเรียน/ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่อง 60,000 – 70,000 บาท/ราย/ปี (ลักษณะที่ 3 )
- ค่าครองชีพ 36,000 บาท
ประกาศนียบัตรบัณฑิต
- ค่าเล่าเรียน/ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่อง 200,000 บาท/ราย/ปี (ลักษณะที่ 4 )
ปริญญาโท
- ค่าเล่าเรียน/ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่อง 80,000 – 200,000 บาท/ราย/ปี (ลักษณะที่ 4)
ที่มา กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :