“วัคซีนซีนโควิด” เป็นกุญแจที่ช่วยเปิดประตูของประเทศให้กลับมารับนักท่องเที่ยว ฟื้นฟูเศรษฐกิจ และเปิดร้านค้าทำมาหากิน ประชาชนกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้
แต่ปัจจุบันนี้ ธุรกิจร้านอาหารเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และเชื่อมไปถึงสินค้าเกษตร ที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาลอย่างเป็นรูปธรรม ผู้ประกอบการจำนวนมากประสบปัญหาในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์และนโยบายการช่วยเหลือจากภาครัฐ เช่น มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) ของธนาคารแห่งประเทศไทย การเจรจาพักเงินต้น-พักดอกเบี้ยสินเชื่อได้
เนื่องจากกฎเกณฑ์ผู้ขอสินเชื่อที่กำหนดไม่สอดคล้องกับภาวะวิกฤต ที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ได้จัดทำโครงการบรรเทาความเดือดร้อนของธุรกิจร้านอาหารอย่างต่อเนื่อง ทั้งโครงการพาณิชย์ลดราคาช่วยประชาชน ที่ได้ร่วมมือกับแพลตฟอร์มธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ ลดค่า GP เหลือ 25%
นอกจากนี้กระทรวงพาณิชย์ยังเปิดตัวโครงการใหม่ชื่อว่า "โครงการจับคู่กู้เงิน" ต่อลมหายใจให้กับร้านอาหารทั่วประเทศกว่า 1.2 แสนร้านค้า จะสามารถเข้ามาร่วมโครงการเจรจากับสถาบันการเงินทั้ง 5แห่งได้ทั้งในส่วนกลางส่วนภูมิภาค
วันเริ่มโครงการ
วันที่ 7-20 มิถุนายน 2564
จุดประสงค์ของโครงการ "จับคู่กู้เงิน"
เพื่อช่วยให้ร้านอาหารสามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ หรือเข้าถึงสถาบันการเงินโดยมีดอกเบี้ยราคาพิเศษ และปลอดหลักทรัพย์ในบางกรณี และเงื่อนไขผ่อนปรนอื่นๆ
สถาบันการเงิน 5 แห่ง ทำหน้าที่ปล่อยกู้
1. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
2. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME D Bank)
3. ธนาคารกรุงไทย
4. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
5. ธนาคารออมสิน
ร้านอาหารต้องติดต่อใคร
1.สมาคมร้านอาหารไทยและสตรีทฟู๊ด
2.สมาคมภัตตาคารไทย
3.สมาคมร้านอาหารและธุรกิจท่องเที่ยวรายย่อย
4.สมาคมผู้ประกอบการร้านอาหาร
5.สมาคมการค้าธุรกิจร้านอาหาร
6.สมาคมเชียงใหม่ภัตตาคารร้านอาหารและบันเทิง
7.สมาคมร้านอาหารไทยจังหวัดกระบี่