ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.ต.สุคุณ พรหมายน รองผู้บัญชาการตํารวจนครบาล ได้ทำหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริง กรณี คดีจราจรที่ ๖๓๓/๒๕๕๕ ลงวันที่ ๓ ก.ย.25๕๕ ของ สน.ทองหล่อ ที่เกี่ยวข้องกับนายวรยุทธ อยู่วิทยา ซึ่งขับรถยนต์ชนเจ้าหน้าที่ตํารวจถึงแก่ความตายขณะปฏิบัติหน้าที่ เมื่อ ๒๕๕๕ ต่อนายสิระ เจนจาคะ ประธานคณะกรรมาธิการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน โดยเนื้อหาหนังสือระบุว่า
ตามหนังสือ สผ. ๐๐๑๕.๓๐/๔๙๒๖ ลงวันที่ 5 สิงหาคม ๒๕๖๓ เรื่องขอเชิญเข้าร่วมประชุมกับ คณะกรรมาธิการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน กรณีนายวรยุทธ อยู่วิทยา ซึ่งขับรถยนต์ชนเจ้าหน้าที่ ตํารวจถึงแก่ความตายขณะปฏิบัติหน้าที่ เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๕ โดยในปัจจุบันอัยการสูงสุดมีคําสั่งไม่ฟ้องคดีในทุกข้อ กล่าวหา และผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติไม่แย้งคําสั่งของพนักงานอัยการส่งผลให้คดีเป็นอันสิ้นสุดตามกระบวนการ ทางกฎหมาย ความละเอียดแจ้งแล้ว นั้น
ข้อเท็จจริง
กระผมขอเรียนข้อเท็จจริงว่า เมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๕ เวลาประมาณ ๐๕.๐๐ นาฬิกา นายวรยุทธ อยู่วิทยา ได้ขับรถยนต์หมายเลขทะเบียน ญญ ๑๑๑ กรุงเทพมหานคร เฉียวชนรถจักรยานยนต์ หมายเลขทะเบียน โล่ ๕๑๕๑๑ มี ดาบตํารวจวิเชียร กลั่นประเสริฐ เป็นผู้ขับขี่เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายแล้ว หลบหนีไป เหตุเกิดที่ ถนนสุขุมวิท ๔๗ ๔๙ แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร ได้รับคําร้องทุกข์ เป็นคดีจราจรที่ ๖๓๓/๒๕๕๕ ลง ๓ กันยายน ๒๕๕๕ โดยมี พันตํารวจโทวิรดล ทับทิมดี พนักงานสอบสวน สถานี ตํารวจนครบาลทองหล่อเป็นผู้รับผิดชอบสํานวนการสอบสวน
ต่อมากองบังคับการตํารวจนครบาล ๕ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนสอบสวน ตามคําสั่งกอง บังคับการตํารวจนครบาล ๕ ที่ ๑๖๘/๒๕๕๕ ลง ๔ กันยายน ๒๕๕๕ เรื่องแต่งตั้งคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน โดยมีกระผม พันตํารวจเอกสุคุณ พรหมายน รองผู้บังคับการตํารวจนครบาล ๕ (ยศและตําแหน่ง ณ ขณะนั้น) เป็น หัวหน้าพนักงานสืบสวนสอบสวนและคณะรวม 6 นาย เนื่องจากเป็นคดีที่ประชาชนและสื่อมวลชนให้ความสนใจ เพื่อประสิทธิภาพและความเป็นธรรมในการสอบสวน
การดําเนินการ
ได้มีการประชุมคณะพนักงานสอบสวนและกําหนดแนวทางการทําสํานวนไว้ ดังนี้
๑.เป็นสํานวนที่ประชาชนให้ความสนใจและผู้ต้องหามีการประกันตัวในชั้นสอบสวน ให้ ผู้กํากับการสถานี ตํารวจนครบาลทองหล่อ และคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนรีบสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานให้ครบถ้วนโดยเร็ว ตามกรอบคําสั่ง กรมตํารวจ ที่ ๔๖๐/๒๕๓๗ ลงวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๓๗ เรื่อง มาตรการควบคุม ตรวจสอบ เร่งรัดการสอบสวนคดีอาญา
๒. คณะพนักงานสืบสวนสอบสวนที่ได้รับการแต่งตั้งสังกัด สถานีตํารวจนครบาลทองหล่อ ทั้งหมดเพื่อ ความสะดวกและทําการสอบสวนโดยเร็วจึงให้ ผู้กํากับการสถานีตํารวจนครบาลทองหล่อและคณะถือสํานวนการ สอบสวนไว้และสอบสวนพยานบุคคลหรือพยานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องไปได้เลยโดยหลังดําเนินการให้รายงานให้ทราบ เพื่อเป็นข้อมูลกําหนดแนวทางการประชุมวางแผนการสอบสวนสวนต่อไป
๓. ในกรณีมีความจําเป็นและหากมีประเด็นพิจารณาเร่งด่วนสามารถจัดการประชุมหรือใช้ช่องทางติดต่อ อื่น ๆ ได้เช่นโทรศัพท์ และเมื่อมีพยานหลักฐานเพียงพอให้รีบรายงานให้ทราบและพิจารณาแจ้งข้อหาได้
๔. ได้มีการกําหนดประเด็นให้สอบสวนพยานบุคคล ตรวจสอบวัตถุพยาน เร่งติดตามผลการตรวจ พยานหลักฐานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความเร็ว เมา และสารแปลกปลอม จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น สํานักงานพิสูจน์หลักฐาน ,สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ โรงพยาบาลตํารวจ แพทย์ผู้ออกรายงานและผู้เชี่ยวชาญ เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้ปรากฏ อันจะสามารถนํามาใช้ในการพิจารณาคดี
ต่อมากองบัญชาการตํารวจนครบาล ได้มีคําสั่งที่ ๕๑๔/๒๕๕๕ ลงวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ แต่งตั้งข้าราชการตํารวจ ให้กระผมพ้นจากตําแหน่ง รองผู้บังคับการตํารวจนครบาล ๕ ไปดํารงตําแหน่ง รองผู้บังคับการตํารวจนครบาล ๑
ข้อพิจารณา
๑. กรณีนายวรยุทธ อยู่วิทยา ขับขี่รถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกําหนดฯ ตั้งแต่ข้าพเจ้าได้รับคําสั่งให้มาปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าพนักงานสืบสวนสอบสวนในคดีนี้ได้มีการดําเนินการ เพื่อให้ปรากฏในประเด็นดังกล่าวดังต่อไปนี้
วันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๕ คณะพนักงานสืบสวนสอบสวนฯ พบกล้องวงจรปิด CCTV ที่เชื่อว่าสามารถใช้ ยืนยันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ และสอบปากคํา พันตํารวจโทสมยศ แอบเนียม ผู้ชํานาญการการตรวจสภาพรถ
วันที่ 5 กันยายน ๒๕๕๕ เจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนได้นําไฟล์กล้องวงจรปิด CCTV มามอบให้กับคณะพนักงาน สืบสวนสอบสวน และคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนได้นําส่งไฟล์กล้องวงจรปิด CCTV ไปยัง พิสูจน์หลักฐานกลาง เพื่อตรวจสอบความเร็วของรถยนต์ในภาพ
วันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๕ คณะพนักงานสืบสวนสอบสวนมีหนังสือขอรับผลการตรวจแผ่นดีวีดีภาพจาก กล้องวงจรปิดจาก พิสูจน์หลักฐานกลาง เพื่อประกอบสํานวน พบว่าความเร็วของรถยนต์คันที่นายวรยุทธ อยู่วิทยา ขับขี่มามีความเร็ว ๑๗๗ ก.ม./ช.ม. โดยมีค่าความผิดพลาดบวกหรือลบ ๑๗ ก.ม./ช.ม.
คณะพนักงานสืบสวนสอบสวนพิจารณาจากพยานหลักฐานแล้วเห็นว่า พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มี ความน่าเชื่อถือ น่าเชื่อได้ว่านายวรยุทธได้ขับขี่รถยนต์เร็วเกินกว่าที่กฎหมายกําหนดอย่างชัดเจนสามารถแจ้งข้อ กล่าวหาในกรณีนี้ได้ จนนํามาสู่การแจ้งข้อกล่าวหา ในวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๕
๒. กรณีนายวรยุทธ อยู่วิทยา ขับขี่รถในขณะเมาสุราฯ ตั้งแต่ข้าพเจ้าได้รับคําสั่งให้มาปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าพนักงานสืบสวนสอบสวนในคดีนี้ได้มีการดําเนินการเพื่อให้ปรากฏในประเด็นดังกล่าวดังต่อไปนี้
วันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๕ พันตํารวจโท วิรดล ทับทิมดี พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้มีการเจาะเลือด ของนายวรยุทธ อยู่วิทยา ไว้เพื่อตรวจสอบก่อนที่จะมีการตั้งคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนไว้ก่อนแล้ว
วันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๕ ได้รับคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนมีหนังสือขอรับผลการตรวจเลือดและดี เอ็นเอ ของนายวรยุทธ อยู่วิทยา จากพิสูจน์หลักฐานกลาง และผลการตรวจเลือดนายวรยุทธ อยู่วิทยา จาก โรงพยาบาลรามาธิบดี(เนื่องจากโรงพยาบาลบํารุงราษฎร์ ผู้ตรวจเก็บตัวอย่างเลือดแล้วจัดส่งต่อไปตรวจพิสูจน์ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี) ผลการตรวจเลือดพบว่ามีปริมาณแอลกอฮอล์เกินกว่าที่กฎหมายกําหนด (๒๔.๖๘ มก.6)
คณะพนักงานสืบสวนสอบสวนพิจารณาจากพยานหลักฐานแล้วเห็นว่า พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มี ความน่าเชื่อถือ น่าเชื่อได้ว่านายวรยุทธ ได้ขับขี่รถยนต์เร็วเกินกว่าที่กฎหมายกําหนดอย่างชัดเจนสามารถแจ้งข้อ กล่าวหาในกรณีนี้ได้ จนนํามาสู่การแจ้งข้อกล่าวหา ในวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๕
๓. กรณีพบสารแปลกปลอมในเลือดของนายวรยุทธ อยู่วิทยา ตั้งแต่ข้าพเจ้าได้รับคําสั่งให้มาปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าพนักงานสืบสวนสอบสวนในคดีนี้ได้มีการดําเนินการเพื่อให้ ปรากฏในประเด็นดังกล่าวดังต่อไปนี้
วันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๕ พันตํารวจโท วิรดล ทับทิมดี พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้มีการเจาะเลือด ของนายวรยุทธ อยู่วิทยา ไว้เพื่อตรวจสอบก่อนที่จะมีการตั้งคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนไว้ก่อนแล้ว
วันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๕ ได้รับผลตรวจสิ่งแปลกปลอมที่อยู่ภายในเลือดของ นายวรยุทธ อยู่วิทยา จากโรงพยาบาลรามาธิบดี(เนื่องจากโรงพยาบาลบํารุงราษฎร์ ผู้ตรวจเก็บตัวอย่างเลือดแล้วจัดส่งต่อไปตรวจพิสูจน์ ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี) พบสารแปลกปลอม ๔ ชนิด ๑.Alprazolam ๒.Benzoytecgonine ๓.Cocaethylene ๔.Caffeine โดยเมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าสารแปลกปลอมนั้นมิใช่สารเสพติดตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ ๑๓๕ (พ.ศ.๒๕๓๙)
วันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๕ คณะพนักงานสืบสวนสอบสวนได้มีหนังสือไปสอบถาม สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตํารวจ เพื่อสอบถามเกี่ยวกับสารแปลกปลอมที่พบในเลือดของนายวรยุทธ อยู่วิทยา
วันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๕ คณะพนักงานสืบสวนสอบสวนได้มีหนังสือไปสอบถาม แพทย์ผู้ออกรายงาน โรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อสอบถามที่มาของสารแปลกปลอมที่พบในเลือดของนายวรยุทธ อยู่วิทยา
วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ ได้รับผลการตรวจสารแปลกปลอมจากโรงพยาบาลรามาธิบดี
วันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๕ ได้รับผลการตรวจจาก นิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตํารวจแจ้งสารแปลกปลอมใน เลือด
ภายหลังจากที่ได้รับผลการตรวจสารแปลกปลอมแล้ว เห็นควรสอบสวนแพทย์ผู้ออกรายงานของ โรงพยาบาลรามาธิบดีในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับชื่อสารทางวิทยาศาสตร์ แต่เนื่องจากวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ กองบัญชาการตํารวจนครบาล ได้มีคําสั่งที่ ๕๑๙/๒๕๕๕ ให้กระผมพ้นจากตําแหน่ง รองผู้บังคับการตํารวจนครบาล ๕ ไปดํารงตําแหน่ง รองผู้บังคับการตํารวจนครบาล ๑ ทําให้พ้นหน้าที่ควบคุมดูแลการสอบสวนคดีนี้ และไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องในคดีอีกต่อไป
ในส่วนของสํานวนการสอบสวนมอบให้ ผู้กํากับการสถานีตํารวจนครบาลทองหล่อ และพนักงานสอบสวน ที่เหลือสอบสวนต่อไป
ภายหลังกองบังคับการตํารวจนครบาล ๕ ได้ออกคําสั่งแต่งตั้งคณะพนักงานสอบสวนชุดที่ ๒ รวม ๗ นาย มี พันตํารวจเอกไตรเมต อู่ไทย รองผู้บังคับการตํารวจนครบาล ๕ เป็นรองหัวหน้าพนักงานสืบสวน สอบสวน โดยพลตํารวจตรีกฤษฎี เปียแก้ว มีผู้บังคับการตํารวจนครบาล ๕ เป็นหัวหน้าพนักงานสืบสวนสอบสวน ตามคําสั่งกองบังคับการตํารวจนครบาล ๕ ที่ ๓๑๘/๒๕๕๕ ลงวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๕
ทราบภายหลังว่าคณะพนักงานสอบสวนชุดที่ ๒ ได้มีการสอบสวนพยานบุคคลและรวบรวมหลักฐานจน เสร็จสิ้นร่วมกันพิจารณาพยานหลักฐานและลงนามมีความเห็นทางคดีส่งสํานวนให้พนักงานอัยการ ในวันที่ 4 มีนาคม ๒๕๕๖ โดยมีความเห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาในความผิดฐาน ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึง แก่ความตายแล้วหลบหนี และเห็นควรสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาในความผิดฐานขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกําหนดฯ และขับรถในขณะเมาสุราฯ ในส่วนสารแปลกปลอมที่พบในเลือดไม่ได้มีการแจ้งข้อกล่าวหา
ซึ่งในสํานวนดังกล่าว กระผมไม่ได้ร่วมพิจารณาพยานหลักฐาน มีความเห็นของพนักงานสอบสวนควรสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง รวมถึงไม่มี ลายมือชื่อของกระผมในส่วนใดๆ ของสํานวนการสอบสวนแต่อย่างใด
อนึ่ง ตามที่มีข่าวในสื่อมวลชนว่าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีมติชี้มูล พนักงานสอบสวนในคดีนี้ ว่ามีมูลกระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงและมีชื่อกระผมถูกชี้มูลความผิดด้วยนั้น ข้อเท็จจริงในส่วนของกระผมคือ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไม่ได้ชี้มูลความผิดทาง วินัยในส่วนของกระผม แต่มีมติส่งเรื่องให้ต้นสังกัดไปดําเนินการไปตามหน้าที่และอํานาจ ตามมาตรา ๖๔ แห่ง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๖๑ (ตามหนังสือ ปช. ที่ ๐๐๒๐/๑๖๓๖ ลงวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๓ เรื่องรายงานผลการพิจารณาโทษทางวินัย และส่งเรื่องให้ดําเนินการไปตามหน้าที่และอํานาจ ) และในส่วนการดําเนินการทางวินัยของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ได้มีการตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวแล้ว(ตามคําสั่ง สํานักงานตํารวจแห่งชาติที่ ๒๔๘/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๙ เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง) และคณะกรรมการ สืบสวนข้อเท็จจริงมีมติแล้วเห็นว่า การกระทําของกระผมยังไม่มีมูลควรกล่าวหา เห็นควรยุติเรื่อง