ปรองดองสมานฉันท์ หัวใจสำคัญอยู่ที่ ‘ประธานกรรมการ’

03 พ.ย. 2563 | 05:05 น.
อัปเดตล่าสุด :15 มิ.ย. 2564 | 12:20 น.

3 บก.วิเคราะห์ ปรองดองสมานฉันท์ หัวใจสำคัญอยู่ที่ ‘ประธานกรรมการ’ หากได้ “อดีตนายกฯอานันท์” มาเป็นประธาน แบบนี้ถือว่าโอเค

 

รายการ “พูดตรงๆ กับ 3 บก.” ดำเนินราย การโดย นายสมชาย มีเสน นายวีระศักดิ์ พงศ์อักษร และ นายบากบั่น บุญเลิศ ซึ่งออกอากาศเผยแพร่ทาง FB, Yutube กรุงเทพธุรกิจ และ FB, Yutube ฐานเศรษฐกิจ ในเวลา 21.00 น. วันศุกร์ที่ 30 ต.ค. 2563 ได้วิเคราะห์การเมืองไทย ว่าด้วยการสมานฉันท์ปรองดองเพื่อหาทางออกให้กับประเทศไทย

 

3 บก. ได้เริ่มเกริ่นนำว่า ช่วงนี้การเมืองไทยเข้าสู่โหมดหาโมเดลสมานฉันท์ โดยมอบหมายให้สถาบันพระปกเกล้าไปพิจารณา

 

พร้อมย้อนถึงเหตุการณ์ในลักษณะเดียวกันว่า ช่วงปี 2553 เคยเกิดวิกฤติแบบนี้ “เสื้อแดง” มีการชมุนุม “นายกฯ อภิสิทธิ์” ก็ ให้สภาคิดหาวิธีการตั้งกรรมการสมานฉันท์ขึ้นมา ตอนนั้นตั้ง คุณดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี เป็น ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์ เพื่อแก้วิกฤติ 

 

เราเคยเห็นภาพคุณอภิสิทธิ์ ไปหารือกับ คุณจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. ที่สถาบันพระปกเกล้า ภาพการหารือออกมาสวย แต่สุด ท้ายจบด้วยการ “นองเลือด” ตายไป 91 ศพ

 

ก่อนหน้านั้น สมัยนายกฯ อานันท์ ปันยารชุน ปี 2547 เกิดเหตุการณ์ปล้นปืนที่ภาคใต้ มีคนล้มตาย เลยมีการตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ เพื่อแก้วิกฤติใน 3  จังหวัดภาคใต้ โดยมี อดีตนายกฯ อานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน ตั้งแต่วันนั้น มีข้อเสนอเยอะแยะไปหมด แต่ไม่มีการนำมาใช้ 

 

 

 

ปรองดองสมานฉันท์ หัวใจสำคัญอยู่ที่ ‘ประธานกรรมการ’

 

 

อีกครั้ง ดร.คณิต ณ นคร เป็นประธานคณะกรรมการสมานฉันท์ เหมือนกัน แก้วิกฤติทางการเมือง แต่ข้อเสนอก็ถูกนำมาใช้ข้อเดียวว่าด้วยการเยียวยาคนเสื้อแดง 7 ล้านบาท ก็ผิดกฎหมาย เพราะไม่ มีกฎหมายลองรับ ตอนนั้น คุณยิ่งลักษณ์ เป็นนายกฯ 

 

มารอบนี้ สถาบันพระปกเกล้า รับเรื่องไปคิดคระกรรมการสมานฉันท์ แต่ว่า กรรมการสมานฉันท์ ถ้าไม่ มีคู่ขัดแย้งเข้าร่วมก็จบ ไม่มีทางสมานฉันท์ได้ เพราะหลักการของการสมานฉันท์ ต้องเป็นคู่ขัดแย้ง อย่างน้อยต้องมานั่งคุยกันว่า จะ จบได้ หรือไม่จบได้ ฝ่ายค้านบอกว่าจะไม่เข้าร่วม ก็เป็นปัญหา

 

รัฐบาลเปิดประตูหาทางออก ฝ่ายค้านแสดงเจตนารมณ์ชัดเจนว่า รัฐบาลต้องการยื้อ ไม่เข้าร่วม แต่เสียงส่วนใหญ่ของสภาบอกว่า ให้ตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ขึ้นมา เพื่อหาทางออกให้ประเทศ แต่มันก็ไม่เป็นประโยชน์ เพราะเป็นเสียงส่วนใหญ่ข้างรัฐบาล 

 

สมัยก่อน ตอนนั้น มีแกนนำมันชัดเจน ที่จะมาร่วมเจรจา แต่ตอนนี้แกนนำแอบอยู่ข้างหลัง และมาบัญชาเกม 

 

คำถามคือฝ่ายม็อบ “แกนนำ” ควรเอาใครมาร่วมกรรมการสมานฉันท์ ...ก็ให้เข้าเลือกมา ส่งใครเป็นตัวแทน แต่ปัญหาคือคิดว่าเขาไม่ส่ง เพราะเขาเรียกร้องเหมือนกันกับฝ่ายค้าน 

 

3 บก.ระบุว่า ข้อมูลทางลับทราบมาว่า มีปฎิบัติการในทาง “ลับ” เกิดขึ้น หลังเกิดคณะกรรมการสมานฉันท์ขึ้นมา ให้ไปหัวของกรรมการสมานฉันท์ ที่เป็นที่ยอมรับ  

 

นายกฯอานันท์ แสดงทัศนะคติช่วงนี้ ที่ยอมรับเรื่องการเปลี่ยน แปลง และรู้ว่าการคุยกันระหว่างวัย ระหว่างรุ่นมีปัญหา ที่จะต้องมีการเปิดกว้างในความคิด เนื่องจากว่าตอนนี้ทางออกต้องเปิดกันเรื่องความคิด ทั้งฝั่งคนรุ่นเก่า (รัฐบาล สภา) และคนรุ่นใหม่ (ม็อบ) ถึงจะตั้งโต๊ะคุยกันได้

 

 

 

ท่านนายกฯ อานันท์ อายุก็เยอะ แต่ท่านบอกว่า ให้ยอมรับการเปลี่ยนแปลงว่า เราไม่สามารถอยู่แบบนี้ได้  

 

แต่การเปิดกว้างไม่พอ ต้องเปิดใจด้วย “อีแอบ” ที่แอบอยู่เบื้องหลังก็ต้องเปิดใจด้วย 

 

3 บก.แนะนำด้วยว่า คนเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ ต้องไม่บังคับผู้อื่น และต้องเคารพความเห็นต่าง ความรุนแรงที่ใช้กัน หรือ ใครมาแสดงความคิดเห็น เจอ “ทัวร์ลง” ในโซเชียล อันนี้ต้องคิดใหม่ เพราะคนเรามีสิทธิ์ที่จะแสดงความคิด มีจุดยื่นของตนเอง อย่าไปบังคับเขาให้คิดเหมือนตัวเอง

 

วันก่อน “คณะก้าวหน้า” ออกมาแถลงเลย จับเวิร์ดดิ้งของ คุณปิยบุตร แสงกนกกุล บอกว่า เห็นไหมยุบพรรคอนาคตใหม่ ตอนแรกคิดจะตัดไฟ ผ่านไป 8 เดือน 14 วัน ไฟลามทุ่งเลย เอ้า...ตกลงที่ประท้วงนี่มาจากการยุบพรรคอนาคตใหม่หรือ? 

 

“คุณปิยบุตร บอกว่า ตอนแรกมีละครเรื่องยุบพรรค หวังว่าจะตัดไฟแต่ต้นลม ปรากฏว่าไฟ ลามทุ่ง ตกลงคุณมาเรียกร้องเพราะเหตุยุบพรรคอนาคตใหม่หรือ? ซึ่งก็ไม่น่าใช่ ถ้าเขาคิดใช่แสดงว่าคุณอยู่เบื้องหลัง”

 

สมานฉันท์ที่เสนอๆ กัน ฝั่งท้องถนนก็ไม่ยอมรับ ฝ่ายค้านในสภาก็ไม่ยอมรับ “แท้ง” ตั้งแต่ยังไม่คลอด

 

 

ปรองดองสมานฉันท์ หัวใจสำคัญอยู่ที่ ‘ประธานกรรมการ’

 

 

ถ้าไม่ให้แท้ง เอาตัว “บุคคล” ก่อน ได้ประธานแล้วให้ประธานไปวางโครงสร้าง แล้วให้อิสระประธานไปเลือก

 

สมมติ เอา “อดีตนายกฯอานันท์” มาเป็นประธาน แบบนี้ถือว่าโอเค ถ้าได้คนกลาง อย่างคุณอานันท์ มาเป็นประธาน โดยยังไม่ มีโมเดล ให้นายกฯอานันท์ ไป กำหนด แล้วสังคมยอมรับท่านอานันท์ หากท่านอานันท์เสนอ แล้วคนบนท้องถนนไม่เข้าร่วม ฝ่ายค้านไม่เข้าร่วม เสียมั้ย ใครเสีย ก็คนที่ไม่เข้าร่วมงัยเสีย 

 

 

 

ประธานที่เลือกมา ถ้าเป็นคนที่ประนีประนอม และเป็นคนที่มีใจเปิดกว้าง จะเป็นแรงกดดันของ “คู่ขัดแย้ง” ให้ตัดสินใจ ถ้ากลุ่มแกนนำม็อบไม่เข้าร่วม “เสีย” ต้อง หาเหตุผลมาว่าเพราะอะไร 

 

ภาพของคุณอานันท์ ทุกอย่างดี เป็นผู้ใหญ่ ใจเป็นกลาง และเป็นคนที่มีเครดิต แต่การสมานฉันท์ ห้ามเลยป้าย ห้ามเลยเถิด คุณต้องสมานฉันท์ในการเมืองด้วยกันเอง ต้องควบคุมกระบวนการให้ดี เพื่อให้เป็นทางออก

 

3 บก.ระบุว่า สถาบันพระปกเกล้าไม่ต้องไปดีไซน์แล้ว เลือก คุณอานันท์ มา แล้วให้คุณอานันท์ไปออกแบบ เพราะอดีต


นายกฯ ต้องอิสระมากถึง ถึงจะรับ เพราะฉะนั้นถ้าได้ตัวอดีตนายกฯ อานันท์มาก่อน โอกาสที่จะสมานฉันท์สำเร็จ มีความเห็นไปได้ แต่ถ้าตัวบุคคลที่ 2 ฝ่าย ไม่ยอมรับ ต่อให้วางโครงสร้างอย่างไร มีคำถาม 

 

“ถ้าตั้ง คุณอานันท์ คุณธนาธร ยอมรับมั้ย คุณปิยบุตร ยอมรับมั้ย ถ้าไม่ยอมรับก็ไปไกลๆ” 3 บก.ระบุ และว่า คนทั้งประเทศจะบอกว่าคุณตีรวม อะไรก็ไม่ยอม รับสักอย่าง ธนาธร ไม่มีสิทธ์ จะมาบอกว่าไม่ยอมรับ เพราะคนทั้งประเทศยอมรับ

 

3 บก.ทิ้งท้ายว่า “ตัวบุคคลสำคัญมากกว่าที่ให้สถาบันพระปกเกล้า ไปดีไซน์รูปแบบ แล้วนำเสนอ” 

 

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3,624 หน้า 10 วันที่ 5 - 7 พฤศจิกายน 2563