วันที่ 31 พฤษภาคม - 2 มิถุนายน 2564 มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2565 หรือ “งบ 65” ในวาระที่ 1 เพื่อรับหลักการนำไปสู่การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณปี 2565 ตามขั้นตอนต่อไป ซึ่งจะเป็นขั้นของการปรับลดงบประมาณได้อีกขั้นตอนหนึ่ง
ฐานเศรษฐกิจ เจาะข้อมูล ร่างพ.ร.บ.งบประมาณปี 2565 ที่น่าสนใจ คือ งบของ กระทรวงสาธารณสุข จึงทำการตรวจสอบข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี พบว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีการจัดงบประมาณให้กระทรวงสาธารณสุข ดังนี้
ส่วนงบประมาณของหน่วยงานภายใต้กระทรวงสาธารณสุข เทียบระหว่างปีงบประมาณ 2564 กับ 2565
1. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
2. กรมการแพทย์
3. กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
4. กรมควบคุมโรค
5. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
6. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
7.กรมสุขภาพจิต
8. กรมอนามัย
9. สถาบันพระบรมราชชนก
10. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
11. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
12. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
13. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
14. สถาบันวัคซีนแห่งชาติ
15. โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)
16. สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)
อย่างไรก็ตาม แม้พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขจะถูกปรับลดลงจากปีงบประมาณ 2564 แต่กลับพบว่าท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 มาตั้งแต่ต้นปี 2563 นั้น รัฐบาลได้ออก "พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท" หรือ พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 วงเงินไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มแผนงาน ซึ่งรวมถึงงบทางด้านสาธารณสุขด้วยเช่นกัน
และล่าสุดใน "พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท" หรือ พระราชกาหนดให้อานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 จะมีการนำเงินไปใช้ใน 3 วัตถุประสงค์ ดังนี้
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ยังระบาดอย่างต่อเนื่องและรุนแรงมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของพี่น้องประชาชนและต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างหนักหน่วงและกว้างขวาง เป็นวิกฤติสำคัญที่จาเป็นต้องดำเนินการแก้ไขโดยเร่งด่วนและต่อเนื่องกับการแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้ดำเนินการอยู่
จึงเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ และป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะจึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้
ที่มา สำนักงบประมาณ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :