นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี เปิดเผย”ฐานเศรษฐกิจ”ว่า วันนี้(15ม.ค.) กรุงเทพมหานคร เชิญบีทีเอสซี ร่วมประชุมหาทางออก อัตราค่าโดยสาร รถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยเคาะราคาร่วมกันที่ 104บาท ตลอดสายไม่มีค่าแรกเข้าแบ่งออกเป็น
1. ส่วนตรงกลางสัมปทาน ราคา 16-44บาท คงเดิม
2. ส่วน หมอชิต-คูคต ราคา15บาท +3บาทต่อสถานี (18บาท/สถานี) รวมค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน45บาท
3. ส่วนอ่อนนุช-เคหะสมุทรปราการ 15บาท+3 บาท ต่อสถานี ไม่เกิน45บาท
4. ส่วนไปบางหว้า 15บาท+3 บาทต่อสถานีรวมไม่เกิน 33บาท
“สถานีคูคต-หมอชิต 45บาท จากหมอชิต-อ่อนนุช 44บาท(สัมปทาน)ส่วนนี้ ค่าโดยสารสูงสุด44บาท หักค่าแรกเข้า 15บาท และจากอ่อนนุช - เคหะสมุทรปราการ อีก45บาท หักค่าแรกเข้า15บาท เหลือ 30บาท “
หรือโดยสรุป มีดังนี้
1. ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงเส้นทางสัมปทานในปัจจุบัน (หมอชิต-อ่อนนุช และสนามกีฬาแห่งชาติ-วงเวียนใหญ่) เป็นไปตามตารางที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส เป็นผู้กำหนด ซึ่งยังคงจัดเก็บในอัตราเดิม คือ 16-44 บาท
2. ส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ – คูคต จากสถานีห้าแยกลาดพร้าว ถึงสถานีคูคต ค่าโดยสาร 15 - 45 บาท (ปรับเพิ่มขึ้น 3 บาทต่อสถานี)
3. ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท จากสถานีบางจาก ถึงเคหะสมุทรปราการ ค่าโดยสาร 15-45 บาท (ปรับเพิ่มขึ้น 3 บาทต่อสถานี)
4. ส่วนต่อขยายสายสีลมช่วงที่ 2 จากสถานีโพธิ์นิมิตร ถึงสถานีบางหว้า ค่าโดยสาร 15-24 บาท (ปรับเพิ่มขึ้น 3 บาทต่อสถานี)
โดยบีทีเอสซี เตรียมออกประกาศอัตราค่าโดยสาร สายสีเขียว ในอีก 1-2วันนี้ เพื่อแจ้งประชาชนทราบก่อนเป็นเวลา 1 เดือน
สำหรับอัตราค่าโดยสาร 104 บาทตลาดสาย จาก 158 บาทเป็นอัตราชั่วคราวที่จะจัดเก็บ ตั้งแต่วันที่ 16ก.พ. 64 เป็นต้นไปเนื่องจาก พล.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มองว่าอยู่ในช่วงสถานการณ์โควิดเกรงประชาชนผู้ใช้บริการจะได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ตาม สำหรับอัตรานี้(104บาท) กทม.ยังขาดทุนปีละ3,000 ล้านบาท และหากเก็บ65บาทกทม.จะขาดทุน5,000ล้านบาทต่อปี
นายสุรพงษ์กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกัน ได้ทวงถาม ค่าเดินรถ ที่ติดค้างบีทีเอสซี2ปีรวมเกือบ10,000ล้านบาท โดยขอแบ่งจ่ายบางส่วนก่อน5,000ล้านบาท ซึ่งกทม.รับปากจะชำระคืน ซึ่งเข้าใจว่ากทม.ต้องเสนอกระทรวงมหาดไทยรับทราบตามขั้นตอน อาจมีความล่าช้าบ้างซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติของทางหน่วยงานราชการ แต่หาก คณะรัฐมนตรี(ครม.)มีมติ ขยายสัมปทาน ค่าโดยสารสายสีเขียว กทม.สามารถจัดเก็บค่าโดยสาร 65บาทตลอดสาย และไม่ต้องแบกภาระหนี้อีก กว่า1แสนบาทบาท คาดว่าในเดือนหน้าจะมีความชัดเจนขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง