thansettakij
เลี่ยง 3 ผลกระทบปัญหาสังคมสูงวัย

เลี่ยง 3 ผลกระทบปัญหาสังคมสูงวัย

10 ม.ค. 2563 | 03:10 น.

มูดี้ส์ รายงาน ความท้าทายของประชากรสูงวัย ระบุ 3 วิกฤติที่เลี่ยงไม่ได้ ทั้งเศรษฐกิจที่เติบโตช้า แรงงานลดลง และการละเลยผู้สูงวัยที่จะมีมากขึ้น  เผยรัฐต้องเร่งส่งเสริมการออม และสร้างประกันสูงวัย

ศาสตราจารย์ ดร. เกื้อ วงศ์บุญสิน สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ศาสตราจารย์ ดร. พัชราวลัย วงศ์บุญสิน วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเสนอบทความ กล่าวถึง ตัวบ่งชี้ของการสูงวัยของประชากรที่รวดเร็ว ได้แก่ รายงานของ มูดี้ส์(Moody's) ได้สะท้อนถึงความกังวลเรื่องความท้าทาย เรื่องความน่าเชื่อถือที่รัฐบาลและบริษัท จะต้องเผชิญในโลกที่เข้าสู่การสูงวัยนี้ และได้กล่าวว่า "การปันผลทางประชากร ที่ขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจในอดีต จะเปลี่ยนเป็นภาษีประชากร ที่จะทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจช้าในเกือบทุก ๆ ประเทศทั่วโลกในที่สุด”

เลี่ยง 3 ผลกระทบปัญหาสังคมสูงวัย

ความเห็นข้างต้น เกี่ยวกับดัชนี “โกลบอล เอจวอทช์ อินเด็กซ์” (Global AgeWatch Index) ประจำปี 2014 (พ.ศ. 2557) ชี้ว่า เศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว ดูดีขึ้นในที่ที่ดีสำหรับการสูงวัย และเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนา การสูงวัยถือว่าค่อนข้างซับซ้อน เพราะในขณะที่ประชากรสูงวัยอย่างรวดเร็ว แต่รายได้ยังอยู่ในระดับที่ต่ำ 

หนึ่งในความล้มเหลวที่คาดการณ์ ได้เป็นผลมาจากการสูงวัยอย่างรวดเร็วของประชากรในเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนา รวมถึงความกดดันที่เพิ่มมากขึ้น ในส่วนของสถานบริการสาธารณสุข ในประเทศที่มีเศรษฐกิจรายได้ปานกลางระดับล่างอย่างประเทศไทย อัตราการสูงวัยที่เดินหน้าไปอย่างรวดเร็ว ที่ส่งผลให้ประเทศก้าวสู่การเป็นสังคมสูงวัย  และสังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์  บวกกับอัตราการเกิดที่ต่ำ ส่งผลให้แรงงานหดตัวลง และยังเป็นปัจัยสำคัญ ที่ขัดขวางการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว 

ส่วนอัตราเจริญพันธุ์รวมในผู้หญิงไทย ขณะนี้ยังต่ำกว่าระดับทดแทน ถ้าเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่เคยมีอัตราเจริญพันธุ์รวมที่ต่ำ การที่อัตราเจริญพันธุ์รวมของประเทศไทย จะเพิ่มมากกว่าระดับทดแทนภายใน 10 หรือ 20 ปีข้างหน้านี้ น่าจะเป็นไปไม่ได้ จากประมาณการจำนวนประชากรของประเทศไทยในปี 2010 – 2040 (พ.ศ. 2553 - 2583) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประเมินว่า จำนวนประชากรไทยจะเพิ่มขึ้นจาก 63.8 ล้านคนในปี 2010 (พ.ศ. 2553) แตะระดับสูงสุดที่ 66.2 ล้านคนในปี 2030 (พ.ศ. 2573) และจากนั้น จะลดลงเป็น 63.8 ล้านคนอีกครั้งในปี 2040 (พ.ศ. 2583)

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยังสรุปอีกว่า จำนวนประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปี จะเพิ่มขึ้น 2.5 เท่า จาก 8.4 ล้านคนในปี 2010 (พ.ศ. 2553) เป็น 20.5 ล้านคนในปี 2040 (พ.ศ. 2583) ในขณะที่ประชากรที่มีอายุมากกว่า 70 ปีและ 80 ปี จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่า และประชากรผู้ที่สูงวัยมากสุด จะเพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 4 

เลี่ยง 3 ผลกระทบปัญหาสังคมสูงวัย

การเปลี่ยนผ่านประชากรอาจถูกคาดได้ว่า จะมีผลกระทบทางลบต่อความมั่นคงยามชรา ภายในปี 2040 (พ.ศ. 2583) อัตราส่วนภาวะต้องพึ่งพิง คาดว่าจะเป็น 58.3% สื่อว่าอัตราส่วนคือ ประชากรวัยทำงาน 2 คนต่อการดูแลประชากรสูงวัย 1 คน เมื่อเทียบกับ 7 คนในปี 2000 (พ.ศ. 2543) 

ถ้าไม่มีนโยบายที่คิดขึ้นใหม่ ประเทศไทยจะต้องรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางประชากรดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประเทศจะต้องเผชิญกับ 1. การเติบโตของเศรษฐกิจที่ช้าลง 2. แรงงานที่ลดลงอยู่เรื่อยๆ 3. การละเลยผู้สูงวัยที่มากขึ้น ถ้าประชากรชาวไทย มีค่าใช้จ่ายที่มากกว่ารายได้ และมีอัตราการออมที่ต่ำ 

รัฐบาลไทยควรจะมุ่งเน้นไปที่การสร้างความมั่นใจว่า ประชากรไทยจะมีความพร้อมทางด้านการเงินสำหรับช่วงสูงวัย ส่งเสริมการออมภาคครัวเรือน และสร้างประกันสังคมช่วงสูงวัย  สภาพแวดล้อมทางการเงินที่ดีและการจัดการทางการเงินที่ดีจำเป็นที่จะต้องถูกจัดให้เหมาะ เพื่อกระตุ้นการออมภาคครัวเรือน