หรือคิดแค่ปริมาณโทรศัพท์มือถือใหม่ที่ออกสู่ตลาดปีละ 14 ล้านเครื่องในประเทศไทย และนับพันล้านเครื่องทั่วโลกแม้ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือจะให้ความสำคัญกับ “มาตรฐานทางอุตสาหกรรมต่อสิ่งแวดล้อม” มากขึ้น โดยปัจจุบัน ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือได้ยึดมาตรฐาน RoHS (Restriction of Hazardous Substances) ของสหภาพยุโรป ซึ่งมีการจำกัดสารอันตรายที่เป็นส่วนประกอบในแต่ละเครื่อง
"อรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์" ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารองค์กรและการพัฒนาที่ยั่งยืน ดีแทค กล่าวว่าโทรศัพท์มือถือ ประกอบไปด้วยสารประกอบทั้งที่รีไซเคิลได้และรีไซเคิลไม่ได้ ทั้งยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพราะฉะนั้น กระบวนการจัดเก็บและการคัดแยก จึงเป็นหัวใจสำคัญ
ดีแทคในฐานะหนึ่งในซัพพลายเชนของการบริโภคโทรศัพท์มือถือ จึงได้ริเริ่มโครงการ"ทิ้งให้ดี" เพื่อทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งในการรับผิดชอบและกระตุ้นให้คนไทยตระหนักรู้ถึงการบริหารจัดการขยะอิเล็คทรอนิกส์อย่างถูกต้อง โดยลูกค้าดีแทคสามารถทิ้งโทรศัพท์มือถือที่ไม่ใช้แล้วได้ที่จุดรับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ ที่ศูนย์บริการดีแทค 51 สาขาทั่วประเทศ ตามเว็บไซต์ https://dtac.co.th/sustainability/ewaste/ และดีแทคยังได้จัดกิจกรรมเชิญกูรูด้านมือถือและการออกแบบ มาให้ความรู้เรื่องขยะอิเลคทรอนิกส์ต่อเนื่อง
"เราเริ่มเก็บขยะอิเลคทรอนิกส์มาตั้งแต่ปี 2555 เช่น การให้ลูกค้าดีแทคนำมือถือ 2G มาแลกเป็น 3G และได้เดินหน้าจัดเก็บขยะอิเลคทรอนิกส์เหล่านี้มาเรื่อยๆ ด้วยเป้าหมายการเก็บให้ได้อย่างน้อยปีละ 5 หมื่นชิ้น รวมถึงการดูแลขยะที่เกิดจากดีแทคเอง อาทิ เสาสัญญาณ ขยะอิเลคทรอนิกส์ภายในออฟฟิศ และอื่นๆ"
โครงการ "ทิ้งให้ดี" คือหนึ่งในความพยายามสู่เป้าหมาย Zero Landfills หรือลดการฝังกลบขยะให้เหลือศูนย์ และดีแทคยังตั้งเป้าที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 30% ภายในปี 2565 อีกด้วย ซึ่งนี่คือส่วนหนึ่งของแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของดีแทค ที่จะเพิ่มความเข้มข้นและชัดเจนยิ่งขึ้นใน 2 ด้านหลัก คือ การสร้างคุณภาพให้สังคม และการดูแลสภาพแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ
นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40 หน้า 23 ฉบับที่ 3,632 วันที่ 3 - 5 ธันวาคม พ.ศ. 2563