ในช่วงวิกฤติโควิด-19 ที่เศรฐกิจฝืดเคือง ผู้นำยิ่งต้องการประสิทธิผลของงานที่เพิ่มขึ้น ทำให้มัวแต่ไปกดดันพนักงาน เพื่อให้ได้ผลตามที่ตัวเองต้องการ จนอาจทำให้หลงลืม Productivity หรือ การวัดประสิทธิภาพ (Efficiency) ของการผลิต (Production) ตลอดจนการทำงาน (Working) หรือแม้กระทั่งการบริการ (Service) ซึ่งทั้งหมดจะเกิดขึ้นได้ดี ก็ต่อเมื่อพนักงานมีความสุขกับการทำงานนั้น
ภาวะความกดดันในการทำงานอย่างที่ว่า สำหรับมนุษย์เงินเดือนแล้ว ย่อมเกิดขึ้นเป็นระยะ จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับผู้นำและเพื่อนร่วมงาน แต่เมื่อถึงจุดที่ต้องตัดสินใจ มนุษย์เงินเดือนยังห่วงที่จะก้าวออกจาก Comfort Zone
นายอภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา ผู้ก่อตั้ง และกรรมการบริหาร สลิงชอท กรุ๊ป ได้เขียนบทความ "ช้างตัวโตกับโซ่เล็กๆ" โดยหยิบยกเนื้อหาจากหนังสือชื่อ Winning Now, Winning Later เขียนโดยอดีต CEO ของบริษัท Honeywell
แต่ที่จะเล่าให้ทุกท่านฟังวันนี้ ไม่ใช่หนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสืออีกเล่มที่ไม่ได้เลือก ชื่อ The Elephent’s Dilemma เขียนโดย Jon Bostock
หนังสือเล่มนี้เริ่มต้นด้วยการเล่าให้ฟังว่า ลูกช้างถูกนำมาล่ามโดยโซ่เล็กๆ ที่ผูกติดอยู่กับหมุด เมื่อมันยังอายุน้อยกำลังวังชาไม่มาก โซ่และหมุดเล็กๆ แข็งแรงพอที่จะผูกลูกช้างไว้ได้
เมื่อช้างเติบใหญ่ แข็งแรงขึ้นกว่าเดิม ขาของมันก็ยังคงถูกล่ามด้วยโซ่เล็กๆ ที่ผูกติดกับหมุดอันเดิม อันที่จริง มันแค่กระตุกนิดเดียว โซ่ก็ขาดในพริบตา แต่ช้างเชื่อว่ามันไปไหนไม่ได้เพราะถูกล่ามโซ่ไว้ จึงไม่เคยแม้แต่คิดจะดึง
คนก็เหมือนกัน เมื่อทำงานไปนานๆ ก็เหมือนถูกผูกติดอยู่กับความมั่นคงปลอดภัยในฐานะมนุษย์เงินเดือน ไม่กล้าแม้แต่คิดว่า จะไปตามล่าหาฝันที่เคยวาดไว้
ผู้เขียนจึงเชิญชวนให้กล้าที่จะออกนอกพื้นที่สบาย (Comfort Zone) ด้วยการทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้