นางสาวพรลัดดา เดชรัตน์วิบูลย์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท จัดการงาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า จ๊อบส์ ดีบี ได้ประเมินแนวโน้มทิศทางตลาดแรงงานหลังวิกฤต (Wake-up Talk : Job Market Projection after Crisis) พบว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 จำนวนความต้องการแรงงานในประเทศไทยทั้งจากบนแพลตฟอร์มหางาน และช่องทางสื่อกลางออนไลน์อื่นๆ ฟื้นขึ้นจากจุดต่ำสุดถึง 24.65% โดยได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดจากเดือนเมษายน 2563 และเดือนธันวาคม 2563 จากการระบาดระลอกที่ 2
จากข้อมูลพบว่า กลุ่มสายงานที่เป็นที่ต้องการมากที่สุด ได้แก่ 1) สายงานขาย บริการลูกค้า และพัฒนาธุรกิจ คิดเป็น 16.0% 2) สายงานไอที คิดเป็น 14.7% 3) สายงานวิศวกรรม คิดเป็น 9.8% ในด้านมุมมองกลุ่มธุรกิจพบว่า ธุรกิจที่มีอัตราการฟื้นตัวสูงสุดเมื่อเทียบกับครึ่งปีหลังของปี 2563 ได้แก่ 1) กลุ่มธุรกิจประกันภัย 2) กลุ่มธุรกิจอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 3) กลุ่มธุรกิจการผลิต
นอกจากนี้ ยังพบว่า อัตราการแข่งขันในการหางานของคนไทยมีอัตราส่วนการแข่งขันอยู่ที่ 1 ต่อ 100 ใบสมัคร โดยกระจุกตัวอยู่เพียงในเงินเดือนไม่เกิน 30,000 บาท ในด้านของสถานการณ์การจ้างงานของกลุ่มประเทศในอาเซียน 4 ประเทศเศรษฐกิจหลัก พบว่า ประเทศที่เริ่มกลับมามีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้น ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ ตามลำดับ
จ๊อบส์ ดีบี ได้คาดการณ์แนวโน้มการจ้างงานในไทยปี 2564 ว่า การจ้างงานจะฟื้นตัวอย่างข้าๆ ปริมาณการจ้างงานจะเริ่มเป็นบวกที่ 5% ตั้งแต่กลางปีนี้เป็นต้นไป และอาจจะเป็นต้นปี 2565 ถึงจะกลับมาในปริมาณเทียบเท่าก่อนโควิด -19
สายงานที่ปังแน่นอน คือ สายงานไอที เทคโนโลยี ซึ่งจะเป็นที่ต้องการในหลายธุรกิจ โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่บริหารข้อมูลขนาดใหญ่ และต้องปรับตัวเร็ว ที่สำคัญคือ ตลาดแรงงานทักษะสูง จะเป็นที่ต้องการมากขึ้น ไม่เฉพาะตลาดแรงงานไทย แต่รวมถึงตลาดแรงงานต่างประเทศ โลกการทำงานเปลี่ยนไป ทึกภาคส่วนต้องมีนโยบายอย่างจริงจังในการแข่งขันกับโลกยุคใหม่ โดยแรงงานไทย ต้องพยายามอัพสกิล รีสกิลให้มากขึ้น เพื่อทำให้ตัวเองยังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน รวมไปถึงเด็กในวัยเรียน ที่ควรเลือกเรียนในสิ่งที่เป็นที่ต้องการของตลาด
สำหรับสกิลที่ตลาดแรงงานต้องการมากๆ หนีไม่พ้นความรู้ด้านไอที ภาษา และการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนสกิลที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ Soft Skil ทั้งทักษะการสื่อสาร การทำงานเป็นทีมและการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน รวมไปถึง "META Skill" ทักษะใหม่ที่ขาดไม่ได้ในโลกยุคปัจจุบัน ทั้งการรู้จักหรือเข้าใจตัวเอง ความคิดสร้างสรรค์ และความยืดหยุ่นทางความคิด
ล่าสุด จ๊อบส์ ดีบี ได้เปิดตัวแคมเปญ “หางานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่เลือก” (Jobs That Matter) พร้อมเปิดตัวโซลูชันใหม่ให้ภาคธุรกิจและคนหางาน อาทิ การปรับอินเตอร์เฟซโฉมใหม่ การปรับฟีเจอร์ใหม่ ระบบเอไอใหม่ เพื่อรองรับการหางานของคนไทยทุกกลุ่มทั่วประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบัน จ๊อบส์ ดีบี มีจำนวนประกาศงานใหม่ต่อเดือนทั้งหมดกว่า 10,000 งาน
จ๊อบส์ ดีบี ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลและประเมินแนวโน้มทิศทางตลาดแรงงานหลังวิกฤต พบว่า ล่าสุดในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 จำนวนความต้องการแรงงานในประเทศไทยทั้งจากบนแพลตฟอร์มหางาน และช่องทางสื่อกลางออนไลน์อื่น ๆ ฟื้นขึ้นจากจุดต่ำสุดถึง 24.65% สะท้อนให้เห็นถึงสัญญาณการฟื้นตัวของตลาดแรงงานไทยผ่านจำนวนความต้องการแรงงานของผู้ประกอบการว่า ได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดจากช่วงเดือนเมษายน 2563 และเดือนธันวาคม 2563 จากการระบาดระลอกที่ 2 และคาดการณ์ว่าจำนวนประกาศงานทั้งประเทศจะกลับมาเป็นบวก 5% ในกลางปี 2564 (เมื่อเทียบกับกลางปี 2563) และจะฟื้นตัวเท่ากับก่อนวิกฤตการณ์โควิด–19 ในต้นปี 2565 หากไม่มีการระบาดระลอกใหม่
ในส่วนของความต้องการเมื่อแบ่งตามสายงาน จากจำนวนประกาศงานบน จ๊อบส์ ดีบี ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 พบว่า กลุ่มสายงานที่เป็นที่ต้องการมากที่สุด ได้แก่ 1) สายงานขาย บริการลูกค้า และพัฒนาธุรกิจ คิดเป็น 16.0% 2) สายงานไอที คิดเป็น 14.7% 3) สายงานวิศวกรรม คิดเป็น 9.8% และในส่วนของการฟื้นตัวของแต่ละกลุ่มสายงาน พบว่า กลุ่มสายงานที่มีจำนวนประกาศงานเติบโตขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับครึ่งปีหลังของปี 2563 ได้แก่ 1) สายงานการตลาดและประชาสัมพันธ์ คิดเป็น 29.7% 2) สายงานขนส่ง คิดเป็น 24.7% 3) สายงานการผลิต คิดเป็น 20.8% นอกจากนี้ ยังพบว่า มีสายงานใหม่ ๆ เกิดขึ้นจากอุปสงค์ในประเทศที่เปลี่ยนไปหลังวิกฤตการณ์โควิด-19 อาทิ นักพัฒนาเอไอ ที่ปรึกษาด้านบล็อกเชนและสกุลเงินดิจิทัล ผู้เชี่ยวชาญ Business Transformation รวมถึง Growth Officer
ด้านมุมมองกลุ่มธุรกิจพบว่า ธุรกิจที่มีสัดส่วนจำนวนประกาศงานสูงสุด ได้แก่ 1) กลุ่มธุรกิจไอที คิดเป็น 12.9% 2) กลุ่มธุรกิจการผลิต คิดเป็น 8.1% 3) กลุ่มธุรกิจการค้าปลีก-ส่ง คิดเป็น 6.6% และในส่วนของธุรกิจที่มีอัตราการฟื้นตัวสูงสุดเมื่อเทียบกับครึ่งปีหลังของปี 2563 ได้แก่ 1) กลุ่มธุรกิจประกันภัย คิดเป็น 42.9% 2) กลุ่มธุรกิจอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คิดเป็น 41.9% 3) กลุ่มธุรกิจการผลิต คิดเป็น 37.7% นอกจากนี้ยังพบว่า อัตราการแข่งขันในการหางานของคนไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นถึง 20% ในช่วงวิกฤตการณ์โควิด-19 และมีอัตราส่วนการแข่งขันอยู่ที่ 1 ต่อ 100 ใบสมัคร โดยการแข่งขันมีการกระจุกตัวอยู่เพียงในกลุ่มคนทำงานที่เงินเดือนไม่เกิน 30,000 บาท
สถานการณ์การจ้างงานของกลุ่มประเทศในอาเซียน พบว่า ประเทศที่มีจำนวนประกาศงานออนไลน์ลดลงมากที่สุดจากช่วงก่อนหน้าสถานการณ์โควิด-19 ได้แก่ 1) อินโดนีเซีย ลดลง 55.7% 2) ฟิลิปปินส์ ลดลง 46.6% 3) มาเลเซีย ลดลง 39.0% 4) ไทย ลดลง 35.6% ในขณะเดียวกัน จากจำนวนประกาศงานออนไลน์ล่าสุดในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 พบว่า ประเทศที่เริ่มกลับมามีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้น ได้แก่ 1) มาเลเซีย เพิ่มขึ้น 14.8% 2) อินโดนีเซีย ติดลบดีขึ้นเหลือ -16.4% 3) ไทย ติดลบดีขึ้นเหลือ -20.5% 4) ฟิลิปปินส์ ติดลบดีขึ้นเหลือ -37.7% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปี 2563
จ๊อบส์ ดีบี ได้ร่วมมือกับบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง บอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป (Boston Consulting Group) และ เดอะ เน็ตเวิร์ก (The Network) ในการจัดทำแบบสำรวจระดับโลก “ถอดรหัสลับ จับทิศทางความต้องการคนทำงานยุคใหม่” (Global Talent Survey) ฉบับที่ 1 จากผู้ตอบแบบสำรวจกว่า 2 แสนคน ใน 190 ประเทศ ภายใต้หัวข้อ “Where – ประเทศที่คนอยากทำงาน และการทำงานแบบเวอร์ชวล” เพื่อศึกษาความต้องการที่เปลี่ยนไปในแต่ละปีของแรงงานทั่วโลก โดยเฉพาะปีที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์โควิด-19 ทั้งนี้
จากผลสำรวจ พบว่า เกิดสองปรากฏการณ์สำคัญในช่วงวิกฤตการณ์โควิด-19 ซึ่งปรากกฏการณ์แรกคือ คนทำงานหันมาให้ความสนใจการทำงานแบบเวอร์ชวล โดยกว่า 57% ของคนทำงานทั่วโลกยินดีที่จะทำงานให้กับบริษัทที่อยู่ต่างพื้นที่ และ 50% ของคนไทยยินดีที่จะทำงานให้กับบริษัทที่อยู่ต่างพื้นที่ ซึ่ง 3 อันดับประเทศที่คนไทยอยากไปทำงานด้วยมากที่สุด ได้แก่ 1) ออสเตรเลีย 2) ญี่ปุ่น 3) สิงคโปร์ และ 5 อันดับแรงงานต่างชาติที่สนใจอยากมาทำงานให้กับบริษัทที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) มาเลเซีย 3) จีน 4) อินโดนีเซีย 5) รัสเซีย ซึ่งในปี 2020 ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับ 35 จากประเทศทั่วโลกที่คนทำงานต่างชาติสนใจอยากเข้ามาทำงาน ขยับขึ้นมาจากอันดับ 43 และ 39 ในปี 2014 และ 2018 ตามลำดับ
ปรากฏการณ์ที่สอง จากผลสำรวจของ จ๊อบส์ ดีบี คือ คนทำงานในประเทศไทยหลังวิกฤตการณ์โควิด-19 มีพฤติกรรมหันมาทำงานแบบเวอร์ชวลมากขึ้นในทุกสายงาน โดยเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยี ดิจิทัล วิทยาศาสตร์ ซึ่งทั้งสองปรากฏการณ์ดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของกลุ่มคนทำงานแบบเวอร์ชวล (Virtual Talent Pool) ที่จะมาเป็นกุญแจสู่ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ให้กับภาครัฐ นายจ้าง รวมถึงคนทำงานในยุคหลังวิกฤตการณ์โควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นโอกาสในการหางานในต่างประเทศโดยไม่ต้องโยกย้ายถิ่นฐาน หรือโอกาสในการหาคนทำงานที่ตรงตามความต้องการจากต่างประเทศ
ล่าสุด จ๊อบส์ ดีบี ได้ปรับรูปลักษณ์ตลอดจนทิศทางการดำเนินธุรกิจใหม่เพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน ผ่านการเปิดตัวแคมเปญ “หางานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่เลือก” (Jobs That Matter) และเปิดตัวโซลูชันใหม่ให้ภาคธุรกิจและคนหางาน อาทิ การปรับอินเตอร์เฟซโฉมใหม่ การปรับฟีเจอร์ใหม่ที่จะเน้นไปที่การสร้างประสบการณ์แบบเพอร์เซอนัลไลเซชัน (Personalization) ให้กับผู้หางาน ไม่ว่าจะเป็นระบบค้นหาด้วยข้อมูลอัลกอริทึม ทางลัดเข้าสู่โปรไฟล์ส่วนตัว และระบบเอไอแนะนำตำแหน่งงาน รวมถึงการพัฒนาโครงการ “ยกระดับความรู้ ก้าวสู่งานที่ใช่” (#levelupyourcareer) กิจกรรมยกระดับทักษะคนหางานผ่านคอร์สเรียนออนไลน์ “อัพสกิล รีสกิล” รวมกว่า 80 คอร์ส อาทิ ฟินเทคและอีคอมเมิร์ซ ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง ทักษะทางด้านภาษา อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน จ๊อบส์ ดีบี มีจำนวนประกาศงานใหม่ต่อเดือนทั้งหมดกว่า 10,000 งาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง