สจล.ไขปริศนา 3 ข้อ"ความดันลบ"

08 เม.ย. 2563 | 08:03 น.

สจล.ไขปริศนา 3 ข้อที่มา"ความดันลบ"

รศ.ดร.คมสัน  มาลีสี คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)  เผยว่า  การแพร่กระจายของเชื้อโรคในอากาศ  นับว่าเป็นปัญหาสำคัญทางการแพทย์และสาธารณสุข  ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด–19  ซึ่งเป็นเชื้อโรคอุบัติใหม่ที่สามารถแพร่กระจายได้ในอากาศได้ดี  ซึ่งปัจจุบันมีการแพร่ระบาดไปทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย  ที่พบว่ามีผู้ติดเชื้อไปแล้วหลัก1,000 ราย และมีจำนวนผู้ป่วยเสียชีวิต ประกอบกับสถิติของบุคลากรทางการแพทย์ที่ติดเชื้อจากการรักษาผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และเพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถดูแลผู้ป่วยได้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในช่วงสภาวการณ์เช่นนี้ 

หนึ่งในความหวังของการควบคุมปริมาณการกระจายของโรค คือ ห้องแยกโรคความดันลบ (Negative pressure room) เพราะด้วยคุณสมบัติที่เป็นห้องปรับความดันอากาศภายในห้องต่ำให้เป็น Negative  หรือมีแรงดันต่ำกว่าภายนอกห้อง เพื่อไม่ให้อากาศภายในห้องที่อาจจะมีเชื้อโรคปนเปื้อนไหลออกสู่ภายนอกห้อง โดยห้องดังกล่าวมีความพิเศษ ดังนี้ 

 สจล.ไขปริศนา 3 ข้อ\"ความดันลบ\"

•ระบบควบคุมความดันห้องเป็นลบ การปรับความดันภายในห้องให้เป็น Negative  หรือมีแรงดันต่ำกว่าภายนอกห้อง เพื่อไม่ให้อากาศภายในห้องที่อาจจะมีเชื้อโรคปนเปื้อนไหลออกมาสู่ภายนอก  ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อโรคที่อยู่ภายในห้องไม่ให้แพร่กระจายออกไปสู่ภายนอก

•เครื่องดูดอากาศเสียให้เป็นอากาศดี คือ ระบบมอเตอร์จะดูดอากาศที่เชื้อโรคอาจเจือปนผ่านเครื่องกรองอากาศฆ่าเชื้อโรคที่มีประสิทธิภาพสูงในการกรองอนุภาคขนาดเล็ก  เพื่อกรองเชื้อไวรัสและปล่อยออกมาเป็นอากาศดีสู่ภายนอกอาคาร 

 สจล.ไขปริศนา 3 ข้อ\"ความดันลบ\"

•ห้องกักเชื้อชั้นยอด จากประสิทธิภาพการควบคุมการไหลเวียนของอากาศ  จึงสามารถจำกัดบริเวณการเคลื่อนของเชื้อโรคให้อยู่ในบริเวณที่ควบคุมเท่านั้น   จึงทำให้จุดต่างๆ ของโรงพยาบาลมีความปลอดภัย  เพราะสามารถ “กักกันเชื้อโรค” ในบริเวณจำกัด 

สจล. โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ และศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ สจล. ได้วิจัยและพัฒนา ห้องแยกโรคความดันลบ (Negative pressure room) ที่มีความพิเศษดังนี้  สำหรับวัตถุประสงค์ในการผลิตห้องแยกโรคความดันลบ (Negative pressure room)  เพื่อช่วยลดต้นทุนในการผลิต ประกอบกับดีมานด์หรือความต้องการใช้งานที่สูงขึ้น แต่ปริมาณห้องมีไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งาน  และยังช่วยรองรับกับมาตรการการป้องกันและการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด–19 

 สจล.ไขปริศนา 3 ข้อ\"ความดันลบ\"

อย่างไรก็ตาม หลังจากทำการวิจัยและพัฒนาด้วยการปรับเปลี่ยนและหันมาใช้วัสดุทดแทน  ที่หาได้ภายในประเทศ อาทิ พัดลมอัดอากาศ และระบบกรองอากาศฆ่าเชื้อโรคแบบกรองอนุภาคขนาดเล็ก เป็นต้น ซึ่งมีคุณสมบัติเทียบเท่ากับวัสดุที่มีราคาแพงจากต่างประเทศ  ทำให้ทุนในการผลิตลดลงเหลือราว 150,000 ถึง 200,000 บาทต่อห้อง  จากปกติที่ต้องใช้เงินในการผลิตห้องละ 1 ล้านบาท  นอกจากนี้ทีมคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ยังเตรียมดัดแปลงห้องแยกโรคความดันลบ (Negative pressure room) ในรูปแบบเคลื่อนที่ได้ (Movable room) เพื่อความสะดวกในการขนย้าย  และสามารถเคลื่อนไปตั้งที่จุดคัดกรองในสถานที่ต่างๆ ตามความต้องการใช้งาน

ในลำดับต่อไป สจล. จะถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่โรงพยาบาลสิรินธร  ในการให้คำแนะนำและจัดสร้างห้องแยกโรคความดันลบ (Negative pressure room)  หรือห้องกักกันเชื้อโรค จำนวน 3 ห้อง ไว้ใช้ในโรงพยาบาล เพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด–19 และป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อโรคจากผู้ป่วยออกมาสู่ภายนอก  และคาดว่าจะเริ่มเปิดให้ใช้งานได้ในช่วงเดือนเมษายน 2563   นอกจากนี้ ยังได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลกลาง ในการจัดสร้างห้องแยกโรคความดันลบ (Negative pressure room), Clean room และ Anti room เพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด–19 ที่เข้ามารักษาตัวในโรงพยาบาลกลาง และยังได้ตั้งเป้าหมายที่จะผลิตห้องแยกโรคความดันลบให้กับโรงพยาบาลในพื้นที่กรุงเทพฯ อีก 10 แห่ง รองศาสตราจารย์.ดร.คมสัน กล่าวสรุป

 สจล.ไขปริศนา 3 ข้อ\"ความดันลบ\"

ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร. สกุล ห่อวโนทยาน อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวเสริมว่า นอกจากห้องแยกโรคความดันลบ (Negative pressure room) ที่เตรียมเปิดตัวที่โรงพยาบาลกลาง และโรงพยาบาลสิรินธรแล้ว ยังมีห้องแยกโรคความดันลบ (Negative pressure room) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช สจล. และบริษัท NL Development ที่ถูกจัดตั้งเสร็จสมบูรณ์ พร้อมใช้งานได้ทันที จำนวน 5 ห้องตรวจ ที่วชิรพยาบาล (โรงพยาบาลวชิระ)  เพื่อรองรับปริมาณผู้ป่วยที่เข้ามาคัดกรองเชื้อโควิด-19 ที่มีจำนวนมาก นอกจากนี้ คณะผู้พัฒนาห้องดังกล่าว มีความพร้อมในการแชร์ต้นแบบการสร้างห้องแยกโรคความดันลบ (Negative pressure room) ในต้นทุนที่ต่ำ  และได้มาตรฐาน ให้แก่โรงพยาบาล หรือหน่วยงานที่สนใจ เพื่อให้โรงพยาบาลทั่วประเทศมีห้องแยกโรคความดันลบ (Negative pressure room) ใช้ได้ทันต่อความต้องการตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

 สจล.ไขปริศนา 3 ข้อ\"ความดันลบ\"

อย่างไรก็ตาม สจล. และศูนย์นวัตกรรม KMITL GO FIGHT COVID-19  ยังคงตระหนักถึงความสำคัญกับมาตรการรักษาความสะอาดและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสต่างๆ  โดยเฉพาะในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งที่ผ่านมา สจล. ได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ในวงกว้าง จะเห็นได้จากการจัดสร้างประตูสแกนอุณหภูมิร่างกาย เพื่อคัดกรองผู้ป่วยโควิด–19 รวมถึงการผลิตเพื่อนำมาใช้สาธารณะ และเจลล้างมือ เพื่อแจกจ่ายให้กับบุคลากร นักศึกษา และประชาชนทั่วไป เป็นต้น  
สจล. ภายใต้โครงการ 60 ปี พระจอมเกล้าลาดกระบัง ไร้ขีดจำกัด (KMITL 60th Year: Go Beyond the Limit) มั่นใจว่าจากการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมดังกล่าว จะสามารถนำองค์ความรู้มาใช้เป็นต้นแบบในการจัดสร้างห้องแยกโรคความดันลบ (Negative pressure room) ให้กับหน่วยงานหรือโรงพยาบาลที่สนใจ โดยผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่ สำนักงานบริหารงานวิจัยและนวัตกรรมพระจอมเกล้าลาดกระบัง (KRIS) โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

 สจล.ไขปริศนา 3 ข้อ\"ความดันลบ\"