อะไรๆ ก็ ERC-20 แท้จริงแล้ว Ethereum มีบล็อคเชนระบบใดบ้าง?

16 พ.ค. 2563 | 02:00 น.
อัปเดตล่าสุด :17 มิ.ย. 2563 | 07:43 น.

ย้อนรอยสักนิด : ในโลกของสกุลเงินดิจิทัล Ethereum คืออะไร? แพลทฟอร์มที่เคลมตัวเองว่าเป็น Next-Generation แห่งระบบสัญญาอัจฉริยะและแอพลิเคชั่นไร้ตัวกลาง

 


Ethereum หรือ ETH นั้นคือชือสกุลเงินดิจิทัลและระบบบล็อคเชนตัวนึง  โดยมีพื้นฐานเป็นแพลทฟอร์มแบบ Open-source ที่ไร้ตัวกลางชื่อดังระดับโลก (เป็นรองเพียง Bitcoin เท่านั้น)  โปรเจคถูกพัฒนาขึ้นโดยนักพัฒนาชื่อดัง “Vitalik Buterin” 
โดยระบบนั้นได้เปิดกว้างให้นักพัฒนาสามารถพัฒนาแอพลิเคชั่นของตัวเองขึ้นมาบนพื้นฐานบล็อกเชนโดยใช้ภาษาเฉพาะของ ETH  ที่น่าสนใจคือทุกการทำงานของแอพลิเคชั่นของคุณจะเต็มเปี่ยมไปด้วยมูลค่าที่แฝงอยู่ในตัวและในระบบการทำงานทุกลำดับชั้น

 

รวมไปถึงการชูธงเรื่องคุณสมบัติเด่นของระบบ Smart contract ของ Ethereum Blockchain ที่สามารถทำให้ผู้พัฒนาสามารถรังสรรระบบการจัดการและสัญญาอัจฉริยะได้ทุกที่ทุกเวลา และระบบยังสามารถนำไปปรับใช้เข้ากับด้านอื่นๆ ได้อย่างกว้างขวาง  อาทิ การทำสัญญาอัจฉริยะให้กับทางห้องพักรายเดือน ที่จะมีการตรวจสอบข้อมูลและการทำตามเงื่อนไข รวมไปถึงจัดเก็บเงินค่าใช้บริการของผู้ใช้ห้องพักได้อย่างโปร่งใส ไร้อคติ และสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ 

 

หรือแม้กระทั่งข่าวที่น่าสนใจล่าสุด ที่ทางมหาวิทยาลัยในต่างประเทศเริ่มใช้เทคโนโลยีบล็อคเชนเข้ามาตรวจสอบเงื่อนไขการจบการศึกษา และยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ทางบริษัทที่จะทำการจัดข้างงานสามารถเข้ามาตรวจสอบได้อย่างละเอียด และโปร่งใสอย่างยิ่งอีกด้วย

 

สำหรับ Ethereum นั้นได้มีการเปิดตัวครั้งแรกขึ้นในวันที่ 23 มกราคม 2014 ก่อนที่จะเปิดขาย ICO เป็นครั้งแรกในวันที่ 22 กรกฏาคม 2014 โดยในตอนนั้น ETH มีราคาอยู่ที่ $0.31/เหรียญ (ประมาณ 8 บาทกว่าๆ)

 

 

อะไรๆ ก็ ERC-20 แท้จริงแล้ว Ethereum มีบล็อคเชนระบบใดบ้าง?

ขณะที่ในปัจจุบันราคาของ ETH ต่อเหรียญอยู่ที่ $190.93 หรือ 6,109 บาท/เหรียญ (สืบค้นเมื่อวันที่ 13/05/2020) อ้างอิงจากhttps://coinmarketcap.com/currencies/ethereum/

 

 

อะไรๆ ก็ ERC-20 แท้จริงแล้ว Ethereum มีบล็อคเชนระบบใดบ้าง?

ข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจ (สืบค้นเมื่อวันที่ 13/05/2020)

 

อะไรๆ ก็ ERC-20 แท้จริงแล้ว Ethereum มีบล็อคเชนระบบใดบ้าง?

รายละเอียดอื่นๆ ที่น่าสนใจ (ภาพจาก https://cryptoslate.com/coins/ethereum/)


 

 

มองในฝั่งของโทเค็นที่เปรียบเสมือนเชื้อเพลิงที่ขับเคลื่อนระบบ

 

ทีนี้เรามาดูเหรียญ ETH ในด้านของ Digital Asset กันบ้าง สำหรับโทเค็นที่ทำงานอยู่บนระบบบล็อคเชนของ Ethereum นั้นถูกสร้างขึ้นให้ทำงานเปรียบเสมือน “Gas” หรือ “เชื้อเพลิง” ที่หล่อเลี้ยงให้ระบบของ Decentralized App ต่างๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นสามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์  โดยเหรียญดังกล่าวนี้สามารถซื้อ - ขาย - เทรด - Airdrop หรือแม้แต่ใช้เป็นเสมือนค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมหรือใช้ใน Dapp ในระบบ

 

ระบบ ERC-20 ชื่อที่ออกสื่อบ่อยที่สุดของบล็อกเชน ETH

 

นอกจากนี้หากท่านผู้อ่านได้คลุกคลีกับวงการสกุลเงินดิจิทัลของไทยมาสักพักแล้วอาจจะเคยได้ยินผ่านๆ มาบ้าง ถึงเหรียญสกุลดังที่ถูกพัฒนาขึ้นบนบล็อกเชนของ ETH เช่นกัน อาทิ Qtum, TenX, Dragon coin , 0x , OmiseGo ฯลฯ  แท้จริงแล้วเหรียญเหล่านี้สามารถอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ว่าเป็น “โทเค็น” ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย based on Ethereum โดยพัฒนาผ่านระบบเฉพาะของ ETH ที่มีชื่อว่า ERC-20 นั่นเอง

 

หากจะอธิบายให้เห็นภาพ ERC20 ระบบที่เสมือนมีชุดระบบที่มีสิ่งเหล่านี้ให้นำไปใช้ได้แบบสำเร็จรูปอยู่แล้ว ได้แก่

-ชุดคำสั่ง

-เงื่อนไขที่ต้องการของระบบ

-Protocol กฏต่างๆ ของระบบ

 

ให้ทางนักพัฒนาสามารถนำหยิบยกไปต่อยอดการพัฒนาได้โดยง่ายและสะดวกสบาย เนื่องจากไม่จำเป็นต้องเริ่มทุกอย่างจากศูนย์
จริงๆ แล้ว Ethereum มีบล็อคเชนกี่ชนิดกันแน่? แล้วแต่ละระบบต่างกันอย่างไร?

นอกจาก ERC-20 ที่เราต่างคุ้นหูกันดีแล้ว บล็อคเชนของ Ethereum นั้นยังมีระบบ ERC-721 อีกตัวที่คุณผู้อ่านไม่ควรพลาด!

อะไรๆ ก็ ERC-20 แท้จริงแล้ว Ethereum มีบล็อคเชนระบบใดบ้าง?

ERC-721 : Non - Fungible Token
 
(รูปภาพจาก https://etherscan.io/tokens-nft สืบค้นเมื่อ 13/05/2020)

 

ระบบ ERC-721 : เมื่อไฟล์ในคอมพิวเตอร์กลายเป็นของสะสมหายากที่มีชิ้นเดียวในโลก

 

ระบบของ ERC-721 นั้นเป็นระบบที่มาพร้อมกับแนวคิด Non-Fungible หรือระบบของโทเค็นที่ “มีความเฉพาะตัว” ด้วยโค้ดที่สามารถทำให้ระบุความเป็นเจ้าของของสิ่งๆ หนึ่งลงบนโลกออนไลน์ได้อย่างชัดเจนและมีความเฉพาะตัว  ทำให้ระบบนี้มักถูกนำไปพัฒนาใช้กับการอ้างอิงมูลค่าของสินค้าหรือของสะสมหายากต่างๆ ที่ไม่เหมือนใคร

 

ความแตกต่างระหว่างระบบ ERC-20 ที่เราพูดถึงก่อนหน้ากับตัวนี้คือ ERC20 มักถูกนำไปใช้กับพวกโทเค็นที่ทำหน้าที่เป็น Digital asset หรือ Currency ในการใช้จ่ายหรือเป็นค่าธรรมเนียมในการใช้บริการ Dapp ต่างๆ

 

ในขณะที่ ERC-721 มักจะใช้กับการระบุตัวตนของของสะสมในรูปแบบดิจิทัลที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว  ไม่เหมือนใคร และไม่สามารถทำซ้ำขึ้นมาได้  เพิ่มความชัดเจนของผู้ที่ถือครองมันในมือและเสริมให้ของสะสมชิ้นนั้นๆ หายากและยิ่งแรร์ไปอีก  เพราะใครๆ ต่างก็ตรวจสอบได้จากทั้งระบบว่าของชิ้นนั้นจริงๆ แล้วมีกี่ชิ้นและปัจจุบันอยู่ในความครอบครองของใครบ้าง

 

สำหรับเกมที่ถูกพัฒนาบน ERC-20 แล้วมีชื่อเสียงที่สุดก็หนีไม่พ้น CryptoKitties เกมพัฒนาสายพันธุ์แมวที่เหมาะสำหรับคนชอบสะสม  เป็นเกมที่ถูกพัฒนาขึ้นในเดือนตุลาคมปี 2017

 

ในปัจจุบันนั้นไม่มีลูกแมวที่ถูกเพาะพันธุ์อยู่บนระบบจำนวน 1,918,941 ตัว มีผู้เล่นที่ลงทะเบียนไว้กว่า 85,917 addresses และมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนแมวในเกมมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5,160,055 ครั้ง
 

 

อะไรๆ ก็ ERC-20 แท้จริงแล้ว Ethereum มีบล็อคเชนระบบใดบ้าง?  

ภาพจาก https://etherscan.io/token/0x06012c8cf97bead5deae237070f9587f8e7a266d
(สืบค้นเมื่อ 13/05/2020)

 

อะไรๆ ก็ ERC-20 แท้จริงแล้ว Ethereum มีบล็อคเชนระบบใดบ้าง?

 

ตัวอย่างราคาแมวที่ตั้งซื้อขายกันด้วยหน่วยแลกเปลี่ยน “ETH” (ซื้อขายแลกเปลี่ยนกันด้วยเหรียญ ETH จริงจัง) ในหมวด Exclusive cat ที่มียอดกดไลค์จากผู้ใช้อื่นมากที่สุดและราคาสูงที่อยู่ที่ตัวละ 500 ETH หรือ $96,978 เลยทีเดียว

 

หากกำลังมองหา ETH เหรียญแรกมาเก็บไว้ในครอบครอง 

 

หลังจากอ่านบทความจบลง หากทางผู้อ่านเริ่มมองหาซื้อและจับจองเหรียญ ETH สักเหรียญด้วยเงินบาทไทย ทางผู้เขียนแนะนำให้ผู้อ่านทำการซื้อขายผ่านกระดานเทรดที่ได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้องจากหน่วยงานกลต. เท่านั้น  เพื่อความปลอดภัยและป้องกันมิจฉาชีพไปในตัว

 

สำหรับกระเทรดในไทยที่ได้รับความนิยมและยอดซื้อขายต่อวันสูงที่สุดเป็นอันดับ 1 ในปัจจุบันคือทางเว็บไซต์ Bitkub.com ซึ่งเป็นกระดานเทรดที่ได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้อง พร้อมทีมงาน support มืออาชีพที่พร้อมให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง

 

 

อ้างอิง
https://coinmarketcap.com/currencies/ethereum/
https://github.com/ethereum/wiki/wiki/White-Paper
https://cryptoslate.com/coins/ethereum/
https://etherscan.io/token/0x06012c8cf97bead5deae237070f9587f8e7a266d
https://blockgeeks.com/guides/erc-721-token/

 

 

ขอบคุณข้อมูลที่มา : Bitkub.com