“นครสวรรค์” จุดพลุฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจปากน้ำโพ

21 เม.ย. 2562 | 08:40 น.

นายกเทศมนตรีนครนครสวรรค์ผนึกสกว.และเครือข่ายสมาคมการผังเมืองไทยยกร่างกฎบัตรนครสวรรค์มุ่งสร้างข้อตกลงร่วมรัฐเอกชนประชาชนและสถาบันวิชาการยกระดับการพาณิชย์และไมซ์เมืองปากน้ำโพเป็นศูนย์เศรษฐกิจใจกลางภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน

“นครสวรรค์” จุดพลุฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจปากน้ำโพ

นายจิตตเกษมณ์  นิโรจน์ธนรัฐ  นายกเทศมนตรีนครนครสวรรค์  เปิดเผย“ฐานเศรษฐกิจ” ว่าเทศบาลเมืองนครสวรรค์ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) สมาคมการผังเมืองไทยพร้อมเครือข่ายได้แก่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(Depa) สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ(องค์การมหาชน) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากรยกร่างกฎบัตรนครสวรรค์เพื่อสร้างข้อตกลงร่วมในการพัฒนาเมืองนครสวรรค์ให้เป็นศูนย์เศรษฐกิจใจกลางภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบนโดยใช้ประติมากรรม"พาสาน" บริเวณต้นแม่น้ำเจ้าพระยาและไมซ์พร้อมด้วยการพาณิชย์ด้านการเกษตรและการค้าปลีกเป็นตัวนำในการขับเคลื่อนซึ่งจะร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับหอการค้าและองค์กรภาคส่วนต่างๆ 

“นครสวรรค์” จุดพลุฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจปากน้ำโพ

สำหรับประติมากรรม"พาสาน"นั้นเทศบาลฯได้ก่อสร้างสร้างตามแบบที่ชนะเลิศจากการประกวดของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์โดยใช้งบประมาณก่อสร้าง120 ล้านบาทจะรับมอบงานจากผู้รับเหมาได้ในเดือนมิถุนายนนี้ต่อจากนั้นจะเปิดให้ประชาชนโดยทั่วไปเข้าชมได้อย่างเป็นทางการนอกจากนั้นเทศบาลฯจะออกแบบพัฒนาระบบการเข้าถึงพาสานที่ตั้งอยู่ใจกลางแม่น้ำให้เชื่อมต่อกับตลาดสดปากน้ำโพเพื่อให้เกิดการผสมผสานระหว่างการท่องเที่ยวและการพาณิชย์เข้าด้วยกันพร้อมทั้งการเชื่อมต่อเทศกาลตรุษจีนและประพณีสำคัญๆอื่นของเมืองนครสวรรค์ให้เป็นศูนย์กลางไมซ์และการท่องเที่ยวของพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างต่อไป 

 

สำหรับการยกร่างกฎบัตรนครสวรรค์นั้นเทศบาลฯจะจัดประขุมครั้งใหญ่ในวันที่26 เมษายน2562 เวลา13.00 น.โดยระดมผู้แทนส่วนราชการภูมิภาคเทศบาลองค์การบริหารส่วนตำบลหอการค้าผู้นำธุรกิจผู้แทนสถาบันการศึกษาพร้อมด้วยผู้นำชุมชนเพื่อให้ความเห็นต่อแนวทางการออกแบบยุทธศาสตร์การพัฒนาในระยะ10 ปีและการออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจปากน้ำโพต่อไป

ด้านนายฐาปนา  บุณยประวิตร  นายกสมาคมการผังเมืองไทย ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยการพัฒนากลไกเชิงพื้นที่เพื่อการออกแบบเมืองอย่างชาญฉลาดเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคม(SG-SBC) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) พร้อมด้วยองค์กรเครือข่ายกล่าวว่าตลาดปากน้ำโพและเมืองนครสวรรค์มีตำแหน่งที่ตั้งที่เหมาะสมต่อการพัฒนาเป็นศูนย์เศรษฐกิจขนาดใหญ่เนื่องจากรัฐบาลเตรียมแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมขนส่งรองรับทั้งโครงข่ายรถไฟทางคู่ซึ่งใกล้จะเปิดให้บริการโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงและโครงข่ายรถไฟสายล่างเชื่อมต่อนครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-แม่สอดซึ่งในอนาคตรถไฟสายนี้จะเป็นประตูเชื่อมโยงการขนส่งทางรางกับประเทศเมียนมาและอินเดีย 

“นครสวรรค์” จุดพลุฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจปากน้ำโพ

“โครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวจะสนับสนุนให้เมืองนครสวรรค์และตลาดปากน้ำโพเป็นศูนย์เศรษฐกิจขนาดใหญ่สามารถรองรับการลงทุนด้านการท่องเที่ยวการพาณิชย์อุตสาหกรรมและการขนส่งโลจิสติกส์ได้นอกจากนั้นประติมากรรมพาสานจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดึงดูดให้ย่านพาณิชยกรรมซึ่งได้แก่ตลาดเก่าปากน้ำโพและย่านพาณิชยกรรมใหม่ได้รับอานิสงค์การเพิ่มขึ้นของผู้เยี่ยมเยือนหรือแม้แต่ผู้มาประชุมสัมมนารูปแบบของอินเซนทีฟได้” 

“นครสวรรค์” จุดพลุฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจปากน้ำโพ

นายฐาปนากล่าวอีกว่าอย่างไรก็ตามเพื่อให้เกิดการฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจเป็นอย่างรวดเร็วและยั่งยืนจังหวัดและเทศบาลนครสวรรค์พร้อมด้วยภาคส่วนต่างๆควรเร่งรัดการจัดวางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาและจัดทำข้อตกลงร่วมกันในรูปของกฎบัตร(Charter) หรือมติร่วมของสังคม(Social Collaboration) ในการกำหนดทิศทางการพัฒนาให้เกิดความสมดุลทั้งมิติด้านสุขภาพโลกร้อนสิ่งแวดล้อมกายภาพโครงสร้างเศรษฐกิจที่อยู่อาศัยและระบบของเมือง 

 

“ทั้งนี้ภารกิจเร่งด่วนในช่วงนี้ได้แก่การออกแบบระบบการเชื่อมต่อโครงข่ายรถไฟทางคู่กับศูนย์เศรษฐกิจเมืองนครสวรรค์การเชื่อมโยงโครงข่ายกับบึงบอระเพ็ดและแหล่งท่องเที่ยวขนาดกลางและใหญ่ของจังหวัดการออกแบบระบบการเข้าถึงพาสานด้วยสะพานคนเดินหรือpedestrian bridge และสะพานเขียว(green bridge) การออกแบบถนนเขียวเพื่อเมืองการเดิน(green streets for walkable city) การออกแบบโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนในเขตเมืองการพัฒนาสวนเขียวและพื้นที่สาธาณะพร้อมการฟื้นฟูสถาปัตยกรรมตลาดเก่าปากน้ำโพเป็นต้น”

“นครสวรรค์” จุดพลุฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจปากน้ำโพ