นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงศ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เปิดเผยในฐานะประธานกรรมการบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ว่า สำหรับความคืบหน้า การย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารหมอชิต2ของ บขส.จากสถานีที่ถนนกำแพงเพชร 2 ไปยังพื้นที่โซน C ย่านพหลโยธิน หรือที่หมอชิตเก่า ซึ่งปัจจุบันเป็นศูนย์บำรุงรถไฟฟ้าบีทีเอส. ขณะนี้ บขส.อยู่ระหว่างการเจรจากับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ถึงการขอเช่าพื้นที่ต่อเนื่องบริเวณที่ดินเช่าของรฟท.โดยไม่ขอย้ายพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากปัจจุบันบริเวณสถานีกลางบางซื่อที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ใกล้ดำเนินการแล้วเสร็จ ซึ่งจะทำให้เกิดการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดงและรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน รวมทั้ง ระบบขนส่งคมนาคม อาทิ ระบบราง ระบบรถ ระบบรถไฟฟ้า ขณะเดียวกันขอลดขนาดพื้นที่เช่าบางส่วน เหลือเพียง 58 ไร่ จากเดิม 73 ไร่ เพื่อให้เอกชนสามารถบริหารจัดการรถร่วมบางส่วนได้ ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการบูรณาการโดยเชื่อมต่อกับสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ระยะ
สำหรับเฟสแรกจะเริ่มหารือกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) โดยพื้นที่ด้านข้างบริเวณย่านพหลโยธินในปัจจุบันนี้ ในอนาคตมีแผนใช้พื้นที่ดังกล่าว เป็นสถานีชาร์จไฟฟ้าของรถโดยสาร ซึ่งเป็นรถพลังงานไฟฟ้า (อีวี) ของขสมก.ที่จะให้บริการกับประชาชน โดย บขส.ขอให้ขสมก.จัดรถวิ่งหมุนเวียน (ชัตเตอร์บัส) บริเวณสถานีกลางบางซื่อ ,สถานีขนส่งหมอชิต2 , เขตการเดินรถที่8, ตลาดนัดจตุจักร รวมถึงแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายอื่นๆที่ใกล้เคียง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้ใช้ระบบขนส่งสาธารณะ
"หากสามารถเจรจากับรฟท.ได้สำเร็จและไม่ต้องย้ายพื้นที่ เราอาจจะดำเนินการเฟส2 ในการสร้างสกายวอล์คเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางของประชาชนให้มีความสะดวกมากขึ้น จากระยะทางบริเวณสถานีกลางบางซื่อถึงสถานีขนส่งหมอชิต2 มีระยะห่างเพียง 800 เมตร เท่านั้น ซึ่งประชาชนจะได้รับประโยชน์และได้รับความปลอดภัยมากขึ้น ทั้งนี้เราจะต้องหารือกับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) อีกครั้ง"
อ่านข่าว บทเรียน"โควิด" บขส.ผุดไอเดีย ดึง"AI" รับแผน 5 ปีข้างหน้า
ที่ผ่านมาบริเวณที่ดินเช่าของรฟท.นั้น เดิมบขส.ขอเช่าพื้นที่ดังกล่าว มีการชำระอัตราเดิมตั้งแต่ปี 2544 จนถึงปัจจุบัน ทำให้รฟท.ไม่ได้รับประโยชน์จากพื้นที่บริเวณดังกล่าว เนื่องจากไม่มีสัญญา จึงได้มีการเจรจาหารือร่วมกันระหว่างบขส.และรฟท.ดำเนินการทำสัญญาให้ถูกต้องตามกฏหมาย เพื่อสามารถพัฒนาอาคารให้เป็นศูนย์กลางคมนาคมระบบขนส่งทางบก เบื้องต้นกำหนดให้สัญญามีอายุราว 5 ปี เนื่องจากที่ผ่านมาหลังจากบขส.ย้ายพื้นที่เช่ามาอยู่บริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารหมอชิต2 มีภาระผูกพัน ราว 120,000 ตารางเมตร ขณะนี้จะเริ่มดำเนินการเข้าไปใช้ประโยชน์พื้นที่ดังกล่าว คาดว่าจะใช้ระยะเวลา 5 ปี เพื่อใช้ประโยชน์ของพื้นที่ฯ ได้ทั้งหมด
"เรามองว่าถ้าไม่ดำเนินการให้ถูกต้องเราก็ไม่กล้าลงทุน เนื่องจากไม่มีสัญญาที่ชัดเจน หากเจรจาได้ หลังจากพื้นที่ที่บขส.ขอลดลงเหลือ 58 ไร่ จากเดิม 73 ไร่และขสมก.ขอลดลงเหลือเพียง 16 ไร่ จากเดิม 22 ไร่ ทำให้รฟท.มีที่ดิน เหลือ 21 ไร่ โดยรฟท.สามารถบริหารจัดการที่ดินให้เกิดประโยชน์ได้ ซึ่งจะช่วยให้กิจการของรฟท.ดำเนินการต่อไป ทั้งนี้นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เห็นชอบด้วยเช่นกัน โดยสั่งการให้ทั้ง 2 ฝ่ายเจรจาระหว่างกันให้ชัดเจน หลังจากนั้นเสนอต่อกระทรวงคมนาคมรับทราบอีกครั้งเพื่อเห็นชอบ"
นายสรพงศ์ กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกันนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ .รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้มอบนโยบายแก่บขส. ทั้งหมด 3 เรื่อง ประกอบด้วย 1.การบริหารงานต้องมีความโปร่งใส ยึดระเบียบข้อกฏหมายเป็นเกณฑ์ 2.การปรับปรุงและพัฒนาระบบเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการผู้โดยสาร รวมถึงช่วยลดภาระต้นทุนขององค์กร 3. การดูแลพนักงาน จะต้องได้รับผลตอบแทนในอัตราที่เหมาะสมและเกิดความเป็นธรรม รวมทั้งการพยุงสถานะทางการเงินของบริษัท ต้องมีการบริหารจัดการที่ดีท่ามกลางสถานการณ์ในปัจจุบัน
ขณะเดียวกันบขส.เตรียมดำเนินการจัดทำทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) รวมทั้งจัดทำตัวชี้วัดผลดำเนินงาน (KPI) เพื่อพยุงสถานะทางการเงินขององค์กรต่อได้ และไม่เป็นภาระให้แก่รัฐ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ แผนระยะสั้น 1.จำเป็นต้องสรรหาผู้ที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาดำเนินการ ดูแลองค์กร เนื่องจากปัจจุบัน ยังขาดแคลนผู้บริหารหลายส่วน 2. การพิจารณาดูแลทรัพยากรของบขส. ปัจจุบันมีรถทั้งหมด 472 คัน แบ่งเป็นรถที่มีอายุการใช้งาน ราว 28 ปี จำนวน 341 คัน รถที่มีอายุการใช้งานราว 8-10ปี จำนวน 131 คัน โดยบขส.ต้องดูแลค่าใช้จ่ายให้คุ้มค่าสำหรับการซ่อมบำรุงรักษาให้เหมาะสม รวมถึงรายรับและรายจ่ายต้องสมดุลกัน
ส่วนแผนระยะกลาง จะดำเนินการบริหารทรัพย์สินของ บขส.อย่างไรเพื่อให้มีรายรับที่เพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าปัจจุบันบขส.มีสถานะการเงินที่แข็งแรง เนื่องจากมีเงินฝากค่อนข้างมาก ทั้งนี้ในปัจจุบันบขส.มีการบริหารทรัพย์สินที่ดินทั้งหมด 4 แปลง ประกอบด้วย ย่านเอกมัย ,ย่าน 3 แยกไฟฉาย,ย่านปิ่นเกล้า,ย่าน ชลบุรี ซึ่งจำเป็นต้องแปลงทรัพย์สินให้เป็นทุน เพื่อเพิ่มรายได้ และสามารถพยุงอัตราค่าโดยสารให้กับประชาชนได้โดยที่ไม่ได้รับผลกระทบ
อย่างไรก็ตามแผนในระยะยาว จำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างองค์กร เนื่องจากในปัจจุบันบริษัทมีพนักงานจำนวน 3,000 คน รวมถึงเร่งเดินหน้าใช้เทคโนโลยีเข้ามาดำเนินการบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดความปลอดภัย เบื้องต้นเริ่มศึกษาระบบเทคโนโลยีจากต่างประเทศ โดยการทำ MOU ทั้งการตรวจสอบระบบการเดินรถ คนขับรถ ระหว่างการเดินรถ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดแก่ประชาชน นอกจากการติดตั้งระบบGPS บนรถแล้ว ควรเพิ่มระบบที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ตลอดเวลา รวมทั้งระบบการแจ้งเหตุที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันเวล