นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวเปิดงานสัมมนาประจำปี2563 โดยระบุว่า สถานการแพร่ระบาดของโควิด 19ได้ซ้ำเติมปัญหาปัญหาต่างๆของเศรษฐกิจไทยที่สะสมความเปราะบางมายาวนานรุนแรงชัดเจนขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความเสื่อมถอยของผลิตภาพทำให้ขาดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ ,
การขาดภูมิคุ้มกันในสังคมไทยความเหลื่อมล้ำที่อยู่ในระดับสูงและการกระจายผลประโยชน์ยังกระจุกตัวไม่ทั่วถึง ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง
ปีนี้จึงเป็นปีที่มีความท้าทายเพราะเมื่อเศรษฐกิจโลกชะลอเป็นความเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจไทยที่กำลังเผชิญกับวิกฤติด้านสาธารณสุขซึ่งยังไม่มีใครทราบว่าวิกฤติครั้งนี้จะจบลงอย่างไรกินเวลานานแค่ไหน
ขณะที่ผ่านมาได้พูดคุยเรื่องการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจกันมาอย่างต่อเนื่องในหลายเวทีแต่ก็ยังไม่เกิดผลจริง
หัวข้อสัมมนาของงานประจำปี2563ของธปท.จึงต้องการตอบโจทย์ "การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยทำอย่างไรให้เกิดได้จริง" คนไทยจะอยู่ดีกินดีได้อย่างยั่งยืนต้องมีหลักฐานที่ดีอย่างน้อย 3ด้านได้แก่ 1. มีผลิตภาพสูงมีความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ 2. ทั้งภาคครัวเรือนคนไทยและธุรกิจไทยต้องมีภูมิคุ้มกันที่ดีสามารถรับมือกับโลกที่ผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อนและคลุมเครือและ 3. การกระจายผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจะต้องทั่วถึงและไม่ซ้ำเติมความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยรุนแรงขึ้นในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา เห็นได้จาก คนไทยเผชิญความเหลื่อมล้ำตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดานอกจากเด็กจะมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าตั้งแต่แรกเกิด แล้วยังมีโอกาสเข้าถึงระดับอุดมศึกษาเพียง 5% ขณะที่เด็กจากครอบครัวฐานะดีเกือบทั้งหมดมีโอกาสเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้
ซึ่งความเหลื่อมล้ำในช่วงปฐมวัยยังส่งผลตลอดช่วงอายุสู่รุ่นลูกรุ่นหลานทั้งการทำงานการประกอบกิจการและรายได้ที่แตกต่างกันความเสียเปรียบมีการสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เห็นได้จากการกระจุกตัวทางเศรษฐกิจภาคครัวเรือนที่มีรายได้สูงสุดมีรายได้รวมกัน 20% ของรายได้ทั้งหมดของประชากรทั้งประเทศ และผู้ประกอบการรายใหญ่ที่สุดครองส่วนแบ่งรายได้ 85% ของการผลิตนอกภาคการเกษตรทั้งหมด เหล่านี้เป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหาทางสังคม นอกจากนี้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลผลิตมวลรวมจังหวัดต่อหัวหรือของจังหวัดที่สูงกว่าจังหวัดที่ต่ำกว่าถึง 18 เท่า
"เศรษฐกิจไทยได้แสดงให้เห็นความอ่อนแอทั้ง 3 ด้านดังกล่าวเพิ่มขึ้นทั้งระดับจุลภาคและระดับมหภาค"
อย่างไรก็ตาม การปฎิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจไม่ใช่เรื่องง่ายแต่เป็นเรื่องจำเป็นต้องเริ่มทำทันทีทั้งในระยะสั้นและระยะยาวโดยมีข้อควรคำนึงถึงที่สำคัญอย่างน้อย 3 ประการ ได้แก่ ประการแรกคือ เรื่องเงินเยียวยาและการฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งต้องทำควบคู่กันกับการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการพัฒนาทักษะแรงงานการเพิ่มผลิตภาพของผู้ประกอบการและการปรับตัวไปดูวิธีการทำธุรกิจที่มีศักยภาพสูงในโลกยุคหลังด้วย เพื่อรองรับโลกใหม่ที่จะเกิดขึ้น ท่ามกลางความไม่แน่นอนสูงระหว่างทาง
ดังนั้น ทั้งภาครัฐและเอกชนจะต้องจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เหมาะสมให้เกิดสมดุลทางการเยียวยาหรือการปกครองในช่วงสั้นและการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและวิธีการทำธุรกิจ
สำหรับระยะยาวนั้น ผลจากประเทศไทยสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ได้ดีทำให้มีโอกาสที่จะเดินหน้า โครงสร้างเศรษฐกิจและวิธีการทำธุรกิจได้เร็วกว่าประเทศ
นอกจากนี้ ภาครัฐจึงควรลดการออกมาตรการช่วยเหลือและเป็นการทั่วไปสำหรับทุกคนจะต้องเน้นไปให้ตรงจุดกับกลุ่มธุรกิจหรือกลุ่มคนที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษเพราะแรงงานและผู้ประกอบการแต่ละรายมีความสามารถในการฟื้นตัวไม่เท่ากันเนื่องจากเกิดผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจ กลุ่มธุรกิจและบุคคลแต่ละกลุ่มแตกต่างกันมาก
"ปฏิเสธไม่ได้ว่าภาครัฐขาดความรู้ความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจอาจจะไม่สามารถคัดสรรกลุ่มผู้ประกอบการที่สมควรได้รับความช่วยเหลือได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ยังต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนสูงหลายเรื่องภาครัฐจึงไม่จำเป็นต้องดำเนินการเองแต่อาศัยกลไกตลาด เป็นตัวช่วยรับรอง หรือสร้างแรงจูงใจให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยภาครัฐสนับสนุนกลไกเหล่านี้ให้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ"
ทั้งนี้ วิกฤติเศรษฐกิจโลกรอบที่ผ่าน พบว่า การที่ภาครัฐในหลายประเทศให้ความช่วยเหลือภาคธุรกิจที่มีประสิทธิภาพต่ำไม่สามารถปรับตัวได้อีกรอบ ถ้าความช่วยเหลือจากภาครัฐยุติลงหรือที่เรียกกันว่าเป็น "ซอมบี้ เฟิร์ม " การให้ความช่วยเหลือที่มากเกินควรกับธุรกิจเหล่านี้มีผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจอาการเหล่านั้นขาดแรงจูงใจในการปรับตัวและพัฒนาผลิตภัณฑ์แล้วกลไกการแข่งขันจะถูกบิดเบือนด้วยเพราะธุรกิจรับความช่วยเหลือเหล่านี้จะทำให้กำลังการผลิตส่วนเกินคงอยู่ต่อเนื่องคอยตัดราคาทำให้ธุรกิจที่ปรับตัวเองหรือมีศักยภาพสูงอยู่ก็จะอยู่ยากด้วย
ขณะเดียวกันภาครัฐก็จะสูญเสียทรัพยากรที่ควรนำไปใช้ส่งเสริมแรงงานและผู้ประกอบการที่มีศักยภาพทำให้การจัดสรรทรัพยากรของประเทศขาดประสิทธิภาพโดยรวม
ประการที่ 2 การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจจำเป็นต้องลดอุปสรรคทำให้กระบวนการโยกย้ายทรัพยากรมีต้นทุนต่ำลงและมีประสิทธิภาพมากขึ้นจะเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศในระยะต่อไป
ปัจจุบันยอมรับว่าการโยกย้ายทรัพยากรทางธุรกิจไม่ใช่เรื่องง่ายมีต้นทุนสูงและใช้เวลานานอุปสรรคที่สำคัญมากเรื่องหนึ่งเกิดจากกฎเกณฑ์ต่างๆของภาครัฐที่ไม่สอดคล้องกับโลกใหม่รวมถึงการออกกฎเกณฑ์ในอดีตที่มาเอากรอบอำนาจทางกฎหมายของแต่ละหน่วยงานเป็นตัวตั้งส่งผลให้เรื่องของโลกใหม่ที่อาจจะครอบคลุมหลายหน่วยงานเกิดขึ้นได้ยาก นอกจากนี้ยังมีกฎระเบียบที่ซ้ำซ้อนและไม่ยืดหยุ่น ขณะโลกที่กำลังเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว กฎระเบียบที่ยุ่งยากทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในภาคธุรกิจและสังคมด้วย เห็นได้จากผู้ประกอบการ SMEsจะมีต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยในการปฏิบัติตามกฎสูงกว่าบริษัทขนาดใหญ่มาก ซึ่งโครงการศึกษาวิเคราะห์ทบทวนกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ(Regulation Guillotine )พบกระบวนการไม่จำเป็น 424เรื่องและอีก472เรื่องที่ควรปรับปรุง ถ้าสามารถ ยกเลิกกฎเกณฑ์เหล่านี้จะเป็นมาตรการที่ตอบโจทย์ทั้งการฟื้นฟูเศรษฐกิจในช่วงสั้นๆและการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจในระยะยาวโดยไม่สร้างภาระให้งบประมาณของรัฐบาล
และประการที่ 3.การยกระดับท้องถิ่นต่างจังหวัด ต้องเป็นเป้าหมายสำคัญในการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ เพราะสังคมชนบทหรือท้องถิ่นต่างจังหวัดมีความเปราะบางมากขึ้นและเกิดปัญหาแรงงานสูงอายุในภาคเกษตร ปัญหายาเสพติด ปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์ คุณภาพการศึกษาที่ตกต่ำ แต่เมื่อเกิดโควิด-19 ทำให้การย้ายกลับของแรงงานมากกว่า 1 ล้านคน จึงเป็นโอกาสท้องถิ่นลดการพึ่งพิงส่วนกลางด้วยการใช้แรงงานศักยภาพพลิกฟื้นเศรษฐกิจท้องถิ่นโดยภาครัฐต้องส่งเสริมวางโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี เพื่อยกระดับภาคเกษตรและวิสาหกิจชุมชนเพิ่มอุปทานและกำลังซื้อในท้องถิ่น
“การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจไทย เป็นความท้าทายอย่างมาก ไม่ใช่เป็นทางเลือก แต่เป็นทางรอดของประเทศไทยที่พวกเราทุกคนต้องช่วยกัน"