“สมาคมเพื่อนชุมชน” เดินหน้ายกระดับสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

27 พ.ย. 2563 | 01:20 น.
อัปเดตล่าสุด :27 พ.ย. 2563 | 08:19 น.

“สมาคมเพื่อนชุมชน” เดินหน้ายกระดับสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ พร้อมดันเป็นเมืองต้นแบบสำหรับพื้นที่อื่น

นายวริทธิ์ นามวงษ์ นายกสมาคมเพื่อนชุมชน (CPA) เปิดเผยภายหลังเปิดงานครบรอบ 10 ปี สมาคมเพื่อนชุมชน ว่า ในระยะต่อจะพยายามพัฒนาให้ยกระดับเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ  หรือเรียกว่าเป็นการออกจากคำว่าอุตสาหกรรมไปเลย  จากเดิมที่สามารถพัฒนาไปสู่การเป็นโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ  เป็นโรงงานที่สะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้แล้ว  โดยในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา CPA ก็เดินหน้ายุทธศาสตร์ดังกล่าวนี้มาตลอด

              “CPA ได้ดำเนินการโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจนได้ในระดับที่ 4 ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่สูงที่สุดที่สามารถทำได้  หากเทียบกับทั้งหมดในเมืองอุตสาหกรรมมาบตาพุด  เรียกว่าอยู่ในระดับที่สูงที่สุดในประเทศ  เพราะฉะนั้นในลำดับต่อไปก็จะยกระดับให้ขึ้นไปสู่ระดับ 5 ซึ่งเป็นเมืองแห่งความสุข (Happiness) หรือเป็นเมืองน่าอยู่คู่อุตสาหกรรม”

              ทั้งนี้  การดำเนินการดังกล่าว CPA ต้องการให้มีการพัฒนาร่วมกันระหว่างอุตสาหกรรม  ชุมชน  และภาครัฐ (Collaborative Model) เพราะ CPA คงไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง  จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยในพื้นที่  เพื่อร่วมกันผลักดัน โดยเป้าหมายในระยะยาวที่สำคัญก็คือต้องการให้เป็นเมืองต้นแบบ  และสามารถนำไปใช้กับพื้นที่อื่นในประเทศได้

“สมาคมเพื่อนชุมชน” เดินหน้ายกระดับสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

              “การเป็นโรงงานไม่ได้หมายความว่าแย่  หรือไม่ดีเสมอไป  แต่โรงงานที่อยู่คู่กับชุมชนนั้นสามารถทำได้ ในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมาก็พิสูจน์แล้วว่าทำได้จริง  แต่ต้องการทำให้ได้ดียิ่งขึ้นไปกว่านี้”

นอกจากนี้ จะส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายการพัฒนาในจังหวัดระยอง เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยอาศัยพื้นที่ต้นแบบที่ทางสมาคมฯ ได้พัฒนาร่วมกับภาคีเครือข่าย  อาทิ โรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ชุมชนเชิงนิเวศ  โรงเรียนเชิงนิเวศ และ วัดเชิงนิเวศ  รวมถึงโครงการต่างๆ ที่ดำเนินการสามารถแบ่งปันองค์ความรู้ หรือให้คำแนะนำแบบเพื่อนช่วยเพื่อนสู่พื้นที่อื่นๆ โดยเฉพาะในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ “อีอีซี” (EEC) เป็นต้น  ตลอดจนเปิดให้มีการเยี่ยมชมพื้นที่ต้นแบบ สำหรับองค์กร และหน่วยงานที่สนใจ

นายอรรถพล  ฤกษ์พิบูลย์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  และกรรมการผู้จัดการใหญ่  บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท. กล่าวว่า ในระยะต่อไปต้องการ CPA อยู่คู่กับชุมชนระยองตลอดไป  โดยที่ในลำดับต่อไปก็ต้องการสร่งความสุขให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน  หรือเรียกว่าทั้งโรงงานและชุมชนสามารถเดินไปได้ด้วยตนเอง  และมีความสุขร่วมกัน  ซึ่งอาจจะมีการเน้นเรื่องของสุขภาพเป็นพิเศษ  โดยจะมีการจัดตั้งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ  เพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย  เพราะฉะนั้นจึงน่าจะมีการมอบทุนให้กับชุมชนในจังหวัดระยอง  เพื่อให้นำไปศึกษาหาความรู้ทางด้านพยาบาลเพื่อนำกลับมาดูแล  และการให้ความรู้กับชุมชนให้ได้เข้าใจการดำเนินงานของโรงงาน  เพราะโรงงานต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง

              “10 ปีที่ผ่านมา ปตท. กับกลุ่มภาคีเครือข่ายที่เป็นเจ้าของอุตสาหกรรมที่ระยองได้มีการร่วมมือกันที่จะพยายามเป็นเพื่อที่ดีกับชุมชน  รวมถึงยกระดับการดูแล หรืออุตสาหกรรม เช่น แนะนำโรงงานกว่า 76 โรงงานในภาคีจนได้รับรางวัลโรงงานเชิงนิเวศทั้งหมด  ขณะที่ฝั่งของชุมชนก็พยายามดูแลทุกด้าน  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสุขภาพ  หรือสร้างความปลอดภัยให้กับชุมชนที่อยู่คู่กับโรงงาน

“สมาคมเพื่อนชุมชน” เดินหน้ายกระดับสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

              สำหรับ CPA นั้น ก่อตั้งจากความร่วมมือของกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุดคอมเพล็กซ์ (MTP) โดยการริเริ่มของ 5 บริษัท( กลุ่ม ปตท. เอสซีจี บีแอลซีพี ดาวประเทศไทย และโกลว์/GPSC) ปัจจุบันมีสมาชิก รวม 17 กลุ่มบริษัท 

 

10 ปีที่ผ่านมามีโครงการสำคัญ  เช่น  1.โครงการEco Industrial Town: จาก Eco Factory สู่ บ้าน วัด โรงเรียน ตำบล เชิงนิเวศความร่วมมือในกลุ่มอุตสาหกรรม ด้วยรูปแบบ เพื่อนช่วยเพื่อน ทำให้ 76 โรงงาน ในกลุ่มสมาชิกได้ผ่านการรับรองเป็นโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ครบ100% ในปี 2562 สมาคมฯ ได้ขยายความร่วมมือกับชุมชน โดยพัฒนา ชุมชน โรงเรียน วัด ตำบลเชิงนิเวศชุมชนเชิงนิเวศต้นแบบ (Eco Community) ที่ชุมชนเกาะกก ตั้งอยู่ในเทศบาลเมืองมาบตาพุด จ.ระยอง

โรงเรียนเชิงนิเวศต้นแบบ (Eco School) มีโรงเรียนนำร่อง คือ โรงเรียนวัดกรอกยายชาวัดเชิงนิเวศ (Eco Temple) มีทั้งหมด 21 วัด โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2561 โดยปัจจุบันมีวัดเชิงนิเวศนำร่องไปแล้วจำนวน 8 วัด อาทิ  วัดตะเคียนทอง วัดกรอกยายชา วัดหนองสนม วัดเขาไผ่วัดโขดหิน วัดหนองแฟบ วัดตากวน วัดห้วยโป่ง และปี พ.ศ.2562 ได้ขยายผลเพิ่มอีก 13 วัด ตำบลเชิงนิเวศ (Eco City) คือ ตำบลเนินพระ เป็นต้นแบบ ตำบลเชิงนิเวศ

,2.โครงการทุนพยาบาลเพื่อนชุมชน  สมาคมฯ ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข สนับสนุนทุนการศึกษาสาขาพยาบาลศาสตร์ ให้แก่เยาวชนในพื้นที่ โดยเริ่มให้ทุนรุ่นที่ 1 ตั้งแต่ปี 2554

,3.โครงการบุคลากรทางการแพทย์ ปัจจุบัน มีบุคลากรพยาบาลที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลรัฐ 9 แห่งในจังหวัดระยอง ที่สำเร็จจากทุนพยาบาลเพื่อนชุมชน จำนวนมากกว่า 400 คน ทำให้ชุมชนได้รับบริการด้านสาธารณสุขที่ดีมากขึ้น 

,4.โครงการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เพื่อนชุมชน เพื่อดูแลผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ห่างไกลโรงพยาบาล

และ5.โครงการการพัฒนาศักยภาพ อสม. (อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน) โดยสมาคมฯ ร่วมกับสาธารณสุขจังหวัดระยอง จัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพ อสม. ในพื้นที่มาบตาพุดคอมเพล็กซ์ เพื่อให้ อสม. มีความรู้ มีความพร้อมที่จะไปช่วยดูแลชุมชนครอบคลุม 6 ตำบล มีจำนวน อสม. ร่วมอบรมแล้ว ประมาณ 2,000 คน