“กฟผ.” ยัน "โรงไฟฟ้าถ่านหิน" ยังมีความจำเป็นต่อต้นทุนค่าไฟ

16 ธ.ค. 2563 | 01:15 น.
อัปเดตล่าสุด :16 ธ.ค. 2563 | 12:28 น.

ผู้ว่า “กฟผ.” ยืนยัน “โรงไฟฟ้าถ่านหินยัง” มีความสำคัญต่อการลดต้นทุนค่าไฟฟ้า การกระจายสัดส่วนเชื้อเพลิง

นายบุญญนิตย์  วงศ์รักมิตร  ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยประเด็นเรื่องการทำยุทธศาสตร์พลังงานชาติ  ซึ่งจะไม่มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มเติมว่า หากเป็นนโยบายออกมาอย่างชัดเจน กฟผ. ก็พร้อมที่จะปฏิบัติตาม  แต่ในความคิดเห็นส่วนตัวก็เชื่อว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินยังมีประโยชน์ในเรื่องของต้นทุน  การกระจายสัดส่วนเชื้อเพลิง  และการกระจายความเสี่ยง

              ส่วนเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  กฟผ. เองก็ยังมั่นใจว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด  โดยอาจจะไม่ถึงขั้น 100% แต่ก็ดีที่สุดเท่าที่เทคโนโลยีจะทำได้  ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นได้จากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ  เมื่อมีการปรับปรุงทุกอย่าง  ผลกระทบต่อวิ่งแวดล้อมก็แทบจะไม่มี

“กฟผ.” ยัน \"โรงไฟฟ้าถ่านหิน\" ยังมีความจำเป็นต่อต้นทุนค่าไฟ

              “หากถามว่าในความคิดของคน กฟผ. เป็นอย่างไร  คงต้องเรียนว่าเราโตมากับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ  โรงไฟฟ้าถ่านหิน  ส่วนก๊าซนั้นมาที่หลัง  โดยมีความเชื่อมั่นว่าทั้ง 2 ประเภทเป็นสิ่งที่ดี  แต่ประเทศไทยทำไม่ได้สักอย่าง  โดยเราซื้อจากเพื่อนบ้านได้ทั้งหมด  โรงไฟฟ้าถ่านหินที่หงสา  เราก็ซื้อไฟฟ้าเข้ามา  เพราะฉะนั้นต้องทำความเข้าใจเรื่องดังกล่าวให้ดี  ไม่เช่นนั้นเราจะพึ่งพาก๊าซแทบจะ 100%”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผู้ว่า “กฟผ.” ป้ายแดงวางงบ 1 ล้านล้านรับแผน "PDP"

“กฟผ.” ผุดอุปกรณ์ชาร์จ “EV” แบบ 2 ทิศทางรายแรกของโลก

"กฟผ." เนรมิต "แม่เมาะ" พลิกโฉมท่องเที่ยววิถีใหม่สร้างรายได้ชุมชน  

              อย่างไรก็ดี  ต้องถือว่าเวลานี้โชคดี  เพราะมีพลังงานทดแทนเข้ามาช่วย  แต่ก็ยังไม่เสถียร  โดยต่อไปจะมีระบบแบตเตอร์รี่เข้ามา  มีระบบเศษขยะเข้ามาอีกมาก ซึ่ง กฟผ. ก็จะไปดำเนินการเรื่องการทำโรงงานกำจัดเศษจากประเภทดังกล่าว  โดยเวลานี้อยู่ในขั้นตอนของการศึกษาตามกระทรวงอุตสาหกรรม

นายบุญญนิตย์ กล่าวต่อไปอีกว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินไม่ได้แย่ขนาดนั้น  ประเด็นที่ว่าทั่วโลกมีการเลิกใช้  แต่ความเป็นจริงก็ยังมีใช้อยู่  เช่น ประเทศญี่ปุ่นก็จะกลับมาใช้  ขณะที่จีนก็ใช้เป็นจำนวนมาก แต่มาวันนี้ต้องการที่จะดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม  โดยประเทศไทยยังไม่ได้เป็นประเทศที่เจริญมากขนาดนั้น  ขณะที่รายได้เองก็ไม่ได้สูงมา  หากจะต้องใช้ไฟฟ้าในราคาหน่วยละ 12 บาทจะไหวหรือไม่  ปัจจุบันจ่ายกันอยู่ที่ปะมาณ 3 บาทกว่า  หากไม่มีโรงฟ้าแม่เมาะที่ยืนหยัดผลิตไฟฟ้ามาเกือบ 30 ปี  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยทำให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าลดลงได้เป็นอย่างดีที่สุด

              “โรงไฟฟ้าแม่เมาะ  เป็นโรงไฟฟ้าที่เป็นหลักให้กับผู้ใช้ไฟฟ้ามาตลอด  แต่พอถึงเวลาหนึ่งก็มาบอกว่าจะเลิกใช้ โดยต้องเรียนว่านั่นคือถ่านหินที่มีในประเทศ  ซึ่งเป็นถ่านหินที่มีคุณภาพแย่อย่างมาก  แต่เราก็ดูแลอย่างดี ส่วนโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ กฟผ. ต้องการสร้างที่ภาคใต้  จะเป็นการใช้ถ่านคุณภาพสูงจากต่างประเทศ  แต่ก็ด้วยความเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็แล้วแต่  ทำให้เราพลาดโอกาสไป  ต้องเรียนว่า กฟผ. ไม่ได้ประโยชน์อะไรด้วยเลย  ไม่ว่าจะเป็นก๊าซ  หรือถ่านหิน”