ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ โพสต์เฟซบุ๊กคลิ๊กดูรายละเอียด โดยระบุว่าเมื่อวานระหว่างนั่งรถไฟฟ้า BTS ไปงานศพที่วัดธาตุทอง ได้เห็นคลิปในจอของรถไฟฟ้าที่ไม่เคยคิดว่าจะได้เห็น คือการทวงหนี้ออกอากาศ ที่ทาง บีทีเอส BTS ชี้แจงว่ากทม.ค้างชำระหนี้จำนวนมากกว่า 30,000 ล้านบาท ซึ่งหนี้ก้อนนี้จะไม่เป็นภาระต่องบประมาณ ถ้า ครม.ยอมต่อสัมปทานให้ BTS อีก 30 ปี (2572-2602)
รถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย (แบริ่ง-สมุทรปราการ และ หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต)นี้ เดิมการก่อสร้างเป็นหน้าที่ของ รฟม.(กระทรวงคมนาคม) แต่ต่อมารัฐบาลมอบให้ กทม.ดูแล ทำให้ กทม.มีภาระหนี้สินในส่วนของงานก่อสร้างที่ รฟม.ได้ทำไปแล้วคือ
สรุปรวม กทม.มีหนี้หลักๆของรถไฟฟ้าสายสีเขียว 3 ก้อน รวมแล้วประมาณ 90,000 ล้านบาท โดยหนี้ก้อนที่ 2 และ 3 เป็นหนี้กับ BTS ประมาณ 30,000 ล้านบาท
ถ้าหนี้เหล่านี้ เป็นหนี้ที่ถูกทำขึ้นอย่างถูกต้องตามระเบียบ โปร่งใส มีการอนุมัติตามขั้นตอน กทม.ก็มีหน้าที่ต้องจ่ายหนี้เหล่านี้
หนี้ก้อนที่ 1 และหนี้ก้อนที่ 2 เท่าที่ผมมีข้อมูล ทางกระทรวงการคลังก็พร้อมจะหาแหล่งเงินกู้ให้ (เหมือนที่หาให้ รฟม.) ในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่าเอกชน และให้ กทม.ทะยอยจ่ายคืน
ส่วนหนี้ก้อนที่ 3 เรื่องการจ้างเดินรถนั้น คงต้องไปดูอีกทีว่า ได้มีการดำเนินการถูกต้องหรือไม่ เป็นอำนาจใครที่สั่งไม่ให้เก็บค่าโดยสาร ถ้า ครม.สั่งไม่ให้เก็บค่าโดยสาร ครม.ก็ควรจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายนี้ หรือถ้า กทม. เป็นผู้ไม่เก็บค่าโดยสารเอง ก็ต้องดูว่าอำนาจอนุมัติให้ไม่ต้องเก็บค่าโดยสารนี้เป็นของใคร ของสภา กทม. หรือ ของผู้ว่า กทม. หรือ ของบริษัท กรุงเทพธนาคม และจะเอาเงินส่วนไหนมาจ่าย
ถามว่าหนี้เหล่านี้ กทม.จะเอาเงินที่ไหนมาจ่าย ก็คงต้องตอบว่าหลังจากปี 2572 รถไฟฟ้าสีเขียวทั้งหมดจะกลับมาเป็นของ กทม. (ถึงแม้ว่าผู้บริหาร กทม. ที่ผ่านมา ได้ทำการจ้างเอกชนให้เดินรถล่วงหน้าไปถึงปี 2585 แล้ว) รายได้ค่าโดยสารและเชิงพาณิชย์เช่น ค่าโฆษณา ทั้งหมด ก็จะกลับมาเข้า กทม.โดยตรง 100% ซึ่งเราสามารถใช้รายได้ตรงนี้มาทะยอยจ่ายหนี้เหล่านี้ได้จนหมดสบายๆ และถ้ามีเหลือหลังหักค่าใช้จ่าย ก็สามารถลดค่าโดยสารให้ประชาชนได้อีก
ส่วนการจะให้สัมปทานเอกชนต่ออีก 30 ปี โดยใช้เหตุผลว่าเพื่อให้เอกชนรับภาระหนี้ในปัจจุบันไป ไม่ต้องเป็นภาระงบประมาณ คงต้องคิดให้ละเอียด รอบคอบ เพราะสุดท้ายแล้วคนจ่ายจริงๆก็คือประชาชน และ ต้นทุนทางการเงิน(ดอกเบี้ย)ของเอกชนสูงกว่าของรัฐบาล รวมทั้งต้องบวกกำไร และ ค่าความเสี่ยงต่างๆ รวมทั้งต้องมีการกำหนดค่าโดยสารในอนาคตไว้ล่วงหน้า ทำให้ กทม.จะไม่สามารถลดค่าโดยสารเพื่อช่วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชนได้ในอนาคตจะตัดสินใจอย่างไรก็ขอให้เอาประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้งนะครับ
(รูปนี้ผมไม่ได้ถ่ายเองนะครับ เพื่อนส่งต่อมา ขอบคุณท่านเจ้าของรูปด้วยนะครับ)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :