การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิด ประมูลโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ 5 โครงการ มูลค่า 128,374 ล้านบาท โดย 3 โครงการแรกได้เปิดประมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ไปในวันที่ 17 พ.ค.2564 เริ่มจาก สายเหนือ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กิโลเมตร มูลค่าก่อสร้าง 72,921 ล้านบาท อีก 2 สัญญาประมูลวันที่ 25 พ.ค.2564 เส้นทางสายอีสานรถไฟทางคู่ สายบ้านไผ่-นครพนม ระยะทาง 355 กิโลเมตร มูลค่า 66,848.33 ล้านบาท ปรากฎว่ามีข่าวว่าผู้ใหญ่รายหนึ่งมีการเรียก ผู้รับเหมารายใหญ่ 5 ราย ไปเจรจาเพื่อจัดแบ่งโครงการลดการแข่งขันราคาในการประมูล โดยจะแบ่งให้แต่ละรายได้โครงการเหล่านี้ไป
ปรากฎว่าใน 3 โครงการแรกนั้น
ขณะที่มีรายงานว่ามีเงินทอนในอัตรา 5-7%
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า เนื่อง จากสถานการณ์โควิดเศรษฐกิจชะลอตัวอีกทั้งต้นทุนค่าก่อสร้างพุ่งสุง หากจ่ายค่าตอบแทนมากถึง 7% เพื่อให้ได้งาน ไม่คุ้มค่า เพราะโครงการขนาดใหญ่ ที่ต้องใช้เทคนิคชั้นสูงทั้งเจาะอุโมงค์ถึงอย่างไรรายใหญ่ระดับเบอร์ต้นของประเทศมักได้งาน
สำหรับ การจ้างก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ แบ่งออกเป็น 3 สัญญา ประกอบด้วย
สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว วงเงิน 26,600 ล้านบาท ราคากลาง 26,599 ล้านบาท
สัญญาที่ 2 ช่วงงาว-เชียงราย วงเงิน 26,914 ล้านบาท ราคากลาง 26,913 ล้านบาท
สัญญาที่ 3 ช่วงเชียงราย-เชียงของ วงเงิน 19,407 ล้านบาท ราคากลาง 19,406 ล้านบาท
ขณะที่ การจ้างก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ สายบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม แบ่งออกเป็นสัญญา 2 สัญญา ประกอบด้วย
สัญญาที่ 1 ช่วงบ้านไผ่-หนองพอก วงเงิน 27,127 ล้านบาท ราคากลาง 27,123 ล้านบาท
สัญญาที่ 2 ช่วงหนองพอก-สะพานมิตรภาพ 3 วงเงิน 28,335 ล้านบาท ราคากลาง 28,333 ล้านบาท
ทั้งนี้ หากดูจากผลงานในเอกสารการประกวดราคา (ทีโออาร์) ของโครงการรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ มีเพียงแค่ 5 บริษัท ที่สามารถนำผลงานเข้ายื่นเสนอราคาได้ เช่น
1.บริษัทอิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
2.บริษัทช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
3.บริษัทซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
4.บริษัทยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง คิอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
5.บริษัทเอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด
“ฐานเศรษฐกิจ” สอบถาม ข้อเท็จจริงไปยัง นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่ารฟท. แต่ไม่สามารถติดต่อได้
นายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่ารฟท. ยืนยันว่า ไม่มีการเรียกรับผลประโยชน์อย่างแน่นอน แต่เนื่องจาก 2 ทางคู่สายเหนือ-อีสาน เป็นโครงการขนาดใหญ่ บริษัทรับเหมารายใหญ่จะให้ความสนใจ โดยซื้อเอกสาร 5 รายและยื่นซอง 4 ราย
นายอังสุรัสมิ์ อารีกุล ประธานกรรมการ บริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัดและอดีตนายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างฯ ระบุว่าบริษัทซื้อเอกสารประกวดราคา รถไฟทางคู่สายเหนือ เด่นชัย-เชียงราย-เชียง แต่เมื่อตรวจสอบเงื่อนไขทีโออาร์ พบว่ามีปัญหาอุปสรรคค่อนข้างมาก อาจได้ไม่คุ้มเสีย ทั้งระเบิดอุโมงค์ ต้นทุนเหล็กพุ่ง แรงงานขาด น้ำมันค่าขนส่ง ล้วนมีค่าใช้จ่าย จึงตัดสินใจไม่แข่งขันประมูลงาน แต่คาดว่า บริษัทรายใหญ่ 4-5 รายน่าจะได้งานไป
หน้า 1 ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,680 วันที่ 20 - 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
ข่าวที่เกี่ยวข้อง