นายสุขทัศน์ ต่างวิริยะกุล รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงที่มาโครงการทุนการศึกษาบุตรเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. แนวคิดมาจากในอดีตที่ผมดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป็นแนวคิดของผม ผมมาจากนักเรียนทุน ไม่ได้ร่ำรวย แรงบันดาลใจ ณ วันที่เรียนในวันนั้น ยังไม่มีเงินกู้ กยศ. แต่ผมได้ทุนนักเรียนเรียนดี นักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรมราชินูถัมภ์ และพอมาเป็น ผอ.ฝ่าย ก็เห็นว่าเรื่องนี้ต้องทำ
“โดยวัตถุประสงค์จัดขึ้นเพื่อสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเรื่องยางพารา ที่มาจากบุตรเกษตรกรชาวสวนยางโดยตรง เพื่อให้เกิดแนวคิดร่วมในการพัฒนาอาชีพการทำสวนยาง โดยการสร้างบุคลากรในท้องถิ่นของตนเอง และสร้างนวัตกรรมให้เพิ่มมากขึ้นในการพัฒนาอาชีพการทำสวนยางในอนาคต”
นายสุขทัศน์ กล่าวว่า กยท. ได้ดำเนินการภายใต้นโยบายจัดสวัสดิการแก่เกษตรกรชาวสวนยาง ตาม พ.ร.บ. การยางแห่งประเทศไทย มาตรา 49 ( 5 ) ด้วยการจัดทำโครงการทุนการศึกษาบุตรเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563 ที่ผ่านมาเป็นปีแรกได้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์เป็นอย่างดี ดังนั้นในปีงบประมาณ 2564 กยท.จึงกำหนดดำเนินการโครงการทุนการศึกษาบุตรเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โดยจะมอบทุนการศึกษาต่อเนื่อง 4 ปี ปีละ 100,000 บาท แก่บุตรของเกษตรกรที่เรียนในระดับปริญญาตรีสาขาที่เกี่ยวข้องกับยางพาราจนจบการศึกษา จำนวน 10 ทุน รวมเป็นทุนการศึกษาทั้งหมด 4,000,000 บาท
โดยจะเริ่มรับสมัคร ตั้งแต่วันที่ 1-30 มิถุนายน 2564 สำหรับเงื่อนไขในช่วงสถานการณ์โควิดปรับเปลี่ยนวิธีการไม่เหมือนปี2563 กล่าวคือ มีการตั้งคณะทำงานพิจารณาหลักสูตร สรุปได้มี 3 หลักสูตร หลักสูตรเทคโนโลยีด้านยางพารา มี ทั้งหมด 6 ทุน 2.หลักสูตรเรื่องการตลาดและโลจิสติกส์ มีทั้ง 2 ทุน และหลักสูตรที่ 3 หลักสูตรด้านการจัดการสวนยางสวนป่ายั่งยืน 2 ทุน
ทั้งนี้ 6 หลักสูตร “ด้านเทคโนโลยีด้านยาง” เปิด 3 มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยละ 2 ทุน ได้แก่ 1.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี คณะวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาทโนโลยียางและพอร์ลิเมอร์ 2.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรมวัสดุ และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิ
ส่วนหลักสูตรการตลาดและโลจิสติกส์ ที่มหาวิทยาลัยบูรพา คณะโลจิสติกส์ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน จำนวน 2 ทุน ส่วนหลักสูตรการจัดการสวนป่าและสวนยางยั่งยืน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน คณะวนศาสตร์ สาขาวนศาสตร์ 1 ทุน และ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ สาขาวิชาเกษตรป่าไม้ จำนวน 1 ทุน
กยท.จะประกาศให้นักศึกษาที่ประสงค์จะขอรับทุนจะต้องเข้าไปสอบใน 6 มหาวิทยาลัยที่กำหนดนี้ให้ได้ก่อน ตรงกับหลักสูตรของเราด้วย หลังจากได้รับการตอบรับเข้ามหาวิทยาลัยแล้ว ภายในวันที่ 1-30 มิถุนายน จะต้องมาสมัครยื่นใบสมัครขอทุนการศึกษา เพื่อขอรับทุนกับ กยท.ในพื้นที่ที่สวนยางตั้งอยู่
ยกตัวอย่าง ขอรับทุน อยู่จังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่ผมอยากจะเรียนเรื่องการจัดการป่าไม้ ที่แม่โจ้ แพร่ ผมไปสอบได้แล้ว จะสมัครขอรับทุนผมต้องมายื่นที่ กยท. สุราษฎร์ธานีเพื่อ ขอรับทุน ซึ่งจะให้ผอ.จังหวัดของจังหวัดสุราษฎร์ธานี หรือทุกจังหวัดที่มีผู้สมัครไปยื่นให้รวบรวมผ่านเขต แล้วส่งมาที่ส่วนกลาง เพื่อที่จะประกาศรายชื่อทั้งหมดเท่าไร ทั้งนี้ในขั้นตอนการรับสมัครเสร็จก็จะมากำหนดวันคัดเลือก คาดประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับทุนวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 นี้
ส่วนการคัดเลือกจะกระจายการแต่งตั้งโดยตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 6 ชุด โดยจะมีกรอบแนวทางการคัดเลือกโควตามีที่ทุน มีผู้สมัครกี่คน และคัดเลือกให้อยู่ในกรอบของทุนที่ได้ แต่ถ้าไม่มีผู้สมัคร กยท.ให้สิทธิ์พิจารณาให้กับ มหาวิทยาลัยที่มีทุนอื่นได้
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้สนใจสามารถขอรับใบสมัครขอรับทุนการศึกษาได้ที่ กยท. ทุกแห่ง ทั่วประเทศ หรือสามารถดาวน์โหลดใบสมัครขอรับทุนการศึกษาได้ที่เว็บไซต์ การยางแห่งประเทศไทย กรอกข้อมูลการสมัครให้เรียบร้อย และยืนที่ กยท.เขต/จังหวัด/สาขา ตามที่ตั้งสวนยางของผู้ขอรับทุนการศึกษา