วันที่ 19 กรกฎาคม 2564 ที่สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครราชสีมา นายศักดิ์สิทธิ์ สกุลลิขเรศสีมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อ จ.นครราชสีมา โดยมีนายแพทย์นายวิญญู จันทร์เนตร รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา แพทย์หญิงอารีย์ เชื้อเดช รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด และ นพ.เจษฎ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง พร้อมประชุมระบบ zoom ไปยังอำเภอต่าง ๆ
โดยสถานการณ์พบผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่ จ.นครราชสีมา ระลอกใหม่ วันนี้ จ.นครราชสีมาพบมีผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงกว่าทุกวันที่ผ่านมาถึง 142 ราย ราย กระจายในพื้นที่ทั้ง 32 อำเภอ รวมยอดผู้ติดเชื้อสะสมระลอกใหม่ รวมยอดผู้ติดเชื้อระลอกใหม่ 3,136 ราย รักษาหายรวม 1,340 ราย รักษาอยู่ระบบโรงพยาบาล 1,760 ราย เสียชีวิตแบบใบไม้ร่วงเพิ่มอีก 1 ราย รวมผู้เสียชีวิตสะสม 36 ราย
ส่วนการฉีดวัคซีนทั้ง 32 อำเภอของทั้งจังหวัด ที่มีประชากรทั้งหมด 2 ล้าน 1 แสน 1 หมื่นคนเศษ บุคลากรทางการแพทย์ฉีดไปแล้วกว่า 372,000 โดส เข็มแรกกว่า 243,000 โดส หรือประมาณ 11% ส่วนเข็มที่ 2 จำนวนกว่า 128,000 โดส หรือ 6% ฉะนั้นยังเหลือประชาชนอีกกว่า 180,000 ราย ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเลย อย่างไรก็ตามเมื่อได้รับวัคซีนมาเพิ่ม ก็จะจัดการฉีดให้ได้เร็วที่สุดครบทั้ง 32 อำเภอ โดยวัคซีนจะต้องกระจายไป
สรุป ณ ขณะนี้สถานการณ์ทุกอำเภอทุกพื้นที่สีแดงหมด ไม่มีอำเภอใดเป็นสีเหลือง สีส้ม สีเขียวแล้ว
สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 เสียชีวิตรายที่ 36 ลำดับที่ 2620 เพศชายอายุ 52 ปี อ.ขามสะแกแสง ต.เมืองนาท มีโรคประจำตัวเบาหวาน มีประวัติอเดินทางมาจาก กทม. วันที่ 16 ก.ค. 64 รักษาที่ รพ.มหาราชฯ วันที่ 18 ก.ค. 64 อาการไม่ดีขึ้น ถึงแก่กรรม ( 08.00 น. )
ส่วนสถานการณ์การแพร่ระบาด มีรายงานผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ วันที่ 19 ก.ค. 2564 พื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุดรายวัน คือ อ.เมือง 29 ราย , อ.โนนสูง 13 ราย , รองมา อ.พิมาย 9 ราย , อ.ครบุรี 8 ราย , อ.บัวใหญ่ 7 ราย , อ.เมืองยาง 7 ราย ส่วนอำเภอละ 6 ราย มี 4 อำเภอคือ อ.โนนไทย,ประทาย,ปักธงชัย,สิงสาง และอำเภอละ 5 รายมี 4 อำเภอ ด่านขุนทด,บ้านเหลื่อม,สีดา,หนองบุญมาก ส่วน อ.ขามทะเลสอ 4 ราย , อ.ชุมพวง 3 ราย และ อำเภอละ 2 รายมี 5 อำเภอ และอำเภอละ 1 ราย มี 5 อำเภอ รวมทั้งสิ้น 142
สรุปความเสี่ยง/ประวัติสัมผัสเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง กทม. 41 ราย จ.ฉะเชิงเทรา 2 ราย , จ.ชลบุรี 1 ราย , จ.บุรีรัมย์ 1 ราย , จ.ปทุมธานี 6 ราย , จ.ปราจีนบุรี 1 ราย , จ.ลพบุรี 1 ราย , จ.สมุทรปราการ 10 ราย , จ.สมุทรสาคร 9 ราย , จ.อยุธยา 2 ราย ผู้ป่วยจาก กทม. กลับมารักษา 10 ราย , จ. ปทุมธานี กลับมารักษา 4 ราย , จ. สมุทรปราการ กลับมารักษา 1 ราย , จ.อยุธยา กลับมารักษา 1 ราย ส่วนการสัมผัสผู้ป่วย COVID-19 จำนวน 49 ราย อยู่ระหว่างการสอบสวน 3 ราย
นายศักดิ์สิทธิ์ สกุลลิขเรศสีมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า หลังจากที่ ศบค.ใหญ่ ที่ กทม.มีการเพิ่มมาตรการควบคุมการระบาดในพื้นที่เสี่ยง คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนครราชสีมา จึงมีมติในที่ประชุมเพื่อปรับมาตรการเช่นกัน เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค เพื่อรับมือประชาชนที่คาดว่าจะทะลักมายังพื้นที่
โดยได้กำหนดมาตรการเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 20 กค - 2 สค.2564 ให้ร้านอาหาร ซุปเปอร์มาเก็ต ตลาด ร้านสะดวกซื้อ ให้ปิดเวลา 21.00น รวมทั้งงดจำหน่าย/ดื่มสุราในร้าน รวมทั้งในพื้นที่บ้าน อาคาร หอพัก ห้ามมีการรวมกลุ่มดื่มสุราเช่นกัน ส่วนร้านตัดผม แต่งผม คลีนิคเสริมความงาม ศูนย์พระเครื่อง ให้ปิดชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 20 กค.-2 สค. 2564 โรงแรรมงดการจัดประชุมสัมมนาเด็ดขาด ในส่วนการงดออกจากเคหะสถาน ได้ปรับลดระเวลาลงมาเหลือ 21.00-04.00 น.
ด้านนพ.เจษฎ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ผู้ช่วย ผอ.โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา กล่าวว่า รพ.มหาราชฯ ขณะนี้มีคนไข้ที่ป่วยโควิดและนอนรักษาอยู่ 245 คน ซึ่งตัวเลขเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกวัน เนื่องจากเรารับเข้ามามากกว่าที่จำหน่ายออก การรับเข้ามาแบ่งเป็น 2 อย่าง คือ
1.คนไข้เดินเข้ามาตรวจเองที่คลีนิคทางเดินหายใจ ที่หน้า รพ.มหาราชฯ กว่า 600 เคส เป็นบวก(โพสิทีฟ)ไปประมาณ 26 เคส หรือเกือบ 5% และ 2.เคสที่รับส่งต่อมาจาก รพ.ชุมชน เ มื่อวานเรามีคนไข้เพิ่มขึ้น 7 เคส ส่วนในจำนวน 245 เคส มีเคสที่หนักใส่ท่อเครื่องช่วยหายใจตอนนี้ 14 ราย ตัวเลขลดลง เนื่อองจากเคสนี้มีผู้เสียชีวิตเมื่อวานนี้ 5 เคส และวันนี้ 1 เคส
ส่วนเคสที่ต้องใช้ไฮโฟล์หรือออกซิเจนแรงดันสูง 34 เคส ซึ่ง 34 เคสนี้มีโอกาสที่จะต้องเปลี่ยนไปใส่ท่อช่วยหายใจประมาณ 5 เคส มีโอกาสที่อาการจะเริ่มหนักขึ้น ส่วนเคสที่ปอดอักเสบประมาณ 107 เคส หรือกว่า 40% รวมแล้วทั้งหมดอยู่ที่ 65% ของเคส ที่พักรักษาตัวที่รพ.มหาราชฯทั้งหมด อัตราการครองเตียงจะติดลบ เนื่องจาก 1 ห้องนอน 3 คนขั้นต่ำ และเช้านี้มีเคสที่จะต้องรับเพิ่มอีกกว่า 20 ราย
ส่วนเตียงของ รพ.สนามอาคารชาติชายฮอลล์ ยอดจำนวนผู้ป่วย 89 คน และอาคารลิปตพัลลภ ฮอลล์ 132 คน รวมแล้ว 221 คน โดยฮอลล์ชาติชายรับผู้ป่วยของทั้งจังหวัดฯที่พ้น 7 วันแล้ว มารับการรักษาตัวต่ออย่างเข้มข้น ซึ่งยังมีเตียงสนามว่างอยู่ 31 เตียง
เมื่อผ่าน 7 วันแล้วและพ้นวันที่ 10 ผู้ป่วยที่อาการดี จะย้ายไปยังอาคารลิปตพัลลภ ฮอลล์ ที่มี 132 คน ตอนนี้เตียงไม่ว่างคือ เต็มพอดี 100% ฉะนั้นทั้งหมด รพ.สนามเตียงว่างมีเพียง 31 เตียง ซึ่งวันนี้มีการวางแผนที่จะเพิ่มจำนวนเตียงคนไข้ที่อาคารชายชายฮออล์ได้อีก 50 เตียง เนื่องจากการที่จะไปเปิด รพ.สนามใหม่อีกแห่งก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งจะทำให้สถานการณ์เตียงมีความยืดหยุ่นได้มากขึ้น หรือน่าจะเพิ่มได้มากกว่า 50 เตียงหรือไม่ คงต้องไปตรวจสอบอีกครั้งช่วงบ่าย เพื่อรองรับผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยจากนอกพื้นที่จาก กทม.และปริมณฑล ที่ขณะนี้มียอดเดินทางกลับมารักษาที่ จ.นครราชสีมา แล้ว จำนวน 562 ราย นพ.เจษฎ์ฯกล่าว
ด้านแพทย์หญิงอารีย์ เชื้อเดช รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดฯ แจ้งต่อที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดฯ เฝ้าจับตาสถานการณ์การแพร่ระบาด จำนวน 9 คลัสเตอร์ อาทิ คลัสเตอร์กลุ่มพนักงานคอนโด ตำบลโปร่งตาลอง อ.ปากช่อง พนักงานนิติกรมีประวัติเดินทางไป กทม.รวม 9 ราย
คลัสเตอร์กลุ่มพนักงานโรงแรมในอำเภอเมืองนครราชสีมา ( โคราปุระ รีสอร์ท) เริ่มต้นจากเชฟที่มีการติดเชื้อมาก่อน จำนวน 13 ราย โดยในจำนวนนี้มี 1 รายเป็นผู้ช่วยเชฟไปรับประมานอาหาร ดื่มเครื่องดื่มแอลลกอฮอล์ที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งแถวถนนช้างเผือก ทำให้พนักงานในร้านติดเชื้อ 5 ราย โดยอยู่ระหว่างการติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูงทั้งหมด ซึ่งร้านดังกล่าวได้ปิดทำความสะอาดแล้ว และมีการประกาศตามหาผู้ใช้บริการร้านอาหารให้รับบริการตรวจหาเชื้อทันที โดยพบเชื้อวันที่ 10 ก.ค. 2564
คลัสเตอร์จากโรงงานบีฟู๊ด โปรดักส์ อินเตอร์ เนชั่นแนล จำกัด จาก จ.ลพบุรี อาศัยอยู่ ต.ห้วยบง อ.ด่านขุนทด จำนวน 10 ราย และมีพบเพิ่มขึ้นอีก 2 ราย เกิดวงที่สองภายในครอบครัว โดยทีมปฏิบัติการสอบสวนโรคเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดฯเข้าไปตรวจดูแลแล้ว พร้อมทั้งมีคำสั่งห้ามเคลื่อนย้ายคนงานเข้าออกพื้นที่โดยเด็ดขาดเพื่อควบคุมการระบาดแล้ว
คลัสเตอร์ร้านอาหารในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ น้ำตกวังเณร ในพื้นที่ อ.สูงเนิน ซึ่งมีประชาชนไปใช้บริการร้านอาหารติดเชื้อ ทำให้มีการแพร่ไปสู่ประชาชนที่มาใช้บริการ รวม 11 คน โดยได้มีการสั่งปิดพื้นที่ดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 6-19 กค.2564 เพื่อสอบสวนโรคแล้ว คลัสเตอร์ครอบครัวขุดเจาะ ที่ อ.บัวใหญ่ ยังหาที่ไปที่มาไม่ได้ ร้านจำหน่ายโซล่าเซลล์มีลูกค้าจำนวนมากตรวจพบเชื้อ 5 ราย ทำการปิดหมู่บ้านแล้ว
ส่วนคลัสแตอร์ที่ต้องขอหารือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดฯ พนักงานโรงงานผลิตอะไหล่ ต.ลาดบัวขาว อ.สีคิ้วฯ โดยผู้ป่วยหญิงฝ่ายการตลาดคนหนึ่ง วันที่ 7 ก.ค.ไปหาครอบครัวที่ อ.พิมาย และวันที่ 12 ก.ค.เริ่มมีอาการไข้ ไม่รับรส และลางานไปตรวจ รพ.สีคิ้วฯ ผลพบติดโควิดรายแรก รวมทั้งมีการติดเพื่อนร่วมงาน รวม 2 ราย อย่างไรก็ตามทางโรงงานฯไม่ให้ความร่วมมือกับทีมสอบสวนโรคของ รพ.สีคิ้วฯ ขณะนี้จึงยังไม่สามารถดำเนินการได้
ซึ่งเคส อ.สีคิ้วนี้ นายศักดิ์สิทธิ์ฯ รอง ผวจ.นครราชสีมา ได้สั่งการให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดฯ ร่วมกับทีมสอบสวนโรคสาธารณสุขจังหวัดฯ ประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ ลงพื้นที่เข้าไปสอบสวนโรคภายในโรงงานฯได้ทันที หากยังไม่ให้ความร่วมมืออีก ให้ดำเนินการใช้อำนาจตามมาตรา 34 พ.ร.บ.ควบคุมโรค เข้าตรวจพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มเติม หรือสามารถใช้มาตรการเด็ดขาดสั่งปิดได้ทันที