วันที่ 22 กรกฎาคม 2564 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ประกาศแจ้งเตือนเฝ้าระวังภัยดินถล่มและน้ำป่าไหลหลากในระยะ 2 – 3 วันนี้ ( 22-24 ก.ค.) มีพื้นที่เสี่ยงทั้งหมด 19 จังหวัด ในช่วง 2-3 วันนี้ ได้แก่ จังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง น่าน พะเยา พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี หนองคาย เลย ระนอง ชุมพร พังงา ระยอง จันทบุรี และตราด
กรมอุตุนิยมวิทยา รายงาน สืบเนื่องจากร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ตอนบนของภาคเหนือและประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือตอนบน ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกหนักบางแห่ง
ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนตั้งแต่จังหวัดพังงาขึ้นมามีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้
อนึ่ง พายุโซนร้อนกำลังแรง “เจิมปากา” บริเวณประเทศจีนตอนบน ได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนแล้ว และมีศูนย์กลางอยู่บริเวณเมืองเหมาหมิ้ง มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน คาดว่าพายุนี้จะอ่อนกำลังลงตามลำดับ โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทย
- ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดกาญจนบุรี และราชบุรีอุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 33-35องศาเซลเซียสลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
ในช่วงนี้ เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดิน ไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน และควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก
- กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 25-27องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 33-35องศาเซลเซียสลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ในช่วงนี้ ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝนทำให้การสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์น้อย
- ภาคตะวันออก บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 25-27องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ระยะนี้ มีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักในบางพื้นที่เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกรวมทั้งเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล
คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนบน ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ในหน้าฝนนี้ อย่าลืม พกร่ม หรือเสื้อกันฝนออกไปด้วย