จุรินทร์”มั่นใจส่งออกไทยปี 64 โตสองหลัก เดินหน้าช่วยSMEs ฝ่าวิกฤติโควิด

22 ก.ย. 2564 | 09:52 น.
อัปเดตล่าสุด :22 ก.ย. 2564 | 17:15 น.

“จุรินทร์” มั่นใจส่งออกไทยปีนี้ยังเป็นพระเอกขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย คาดทั้งปีโตมากกว่าเป้า4% อาจได้เห็นตัวเลข2หลัก พร้อมสั่งลุย"จับคู่กู้เงิน คลายทุกข์ SMEs" ประกาศแผนรัฐบาล"ฝ่าโควิด-19" ช่วยผู้ประกอบการ ร้านอาหาร-ส่งออก  

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ปาฐกถาพิเศษงาน Virtual Seminar “จับคู่กู้เงิน คลายทุกข์ SMEs” ของ หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ว่า กระทรวงพาณิชย์เข่าและและตระหนักถึงความลำบากของผู้ประกอบการโดยเฉพาะกลามคนตัวเล็กอย่างเอสเอ็มอีหรือสตาร์อัพ ที่เข้าไม่ถึงเงินทุน ดังนั้นกระทรวงผุดโครงการช่วยเหลือสำหรับกลุ่มคนตัวเล็ก 2โครงการ โดยโครงการแรกคือ  โครงการจับคู่กู้เงิน กับสถาบันการเงิน เพราะช่วงที่ผ่านมาที่ไทยเกิดวิกฤติโควิด-19 ปัญหาใหญ่ ซึ่งกลุ่มที่ได้รับผลกระทบหนักสุด  คือ ร้านอาหารจำนวนมากที่ขาดเงินหมุนเวียนเพื่อประกอบธุรกิจร้านอาหารได้ต่อไป  และ SMEsส่งออกก็ต้องการแรงสนับสนุนจากภาครัฐ นอกจากเงินทุนหมุนเวียนและต้องการเห็นภาครัฐเข้าไปมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มศักยภาพด้านการผลิต การตลาด โดยเฉพาะการต้องปรับตัวเข้าสู่โลก ยุค New Normal โครงการจับคู่กู้เงิน 2 โครงการจึงเกิดขึ้น 1.โครงการจับคู่กู้เงินสถาบันการเงินกับร้านอาหาร 2.โครงการจับคู่กู้เงิน สถาบันการเงินกับ SMEs ส่งออก

จุรินทร์”มั่นใจส่งออกไทยปี 64 โตสองหลัก  เดินหน้าช่วยSMEs ฝ่าวิกฤติโควิด

โดยโครงการจับคู่กู้เงิน สถาบันการเงินกับร้านอาหาร ร่วมกับ 5 สถาบันการเงิน ประกอบด้วบ1.ธนาคารออมสิน 2.ธ.ก.ส. 3.กรุงไทย 4. SME D Bank และ 5 บสย.  โดยตัวเลขร้านอาหารทั่วประเทศที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้ามีจำนวน 15,967 ราย เป็นบุคคลธรรมดา 103,000 ราย รวมร้านอาหารที่จดทะเบียนทั่วประเทศมีถึง 118,967 ราย เกิดการจ้างงานถึง 1,000,000 คน  ทั้งนี้จากการ วัตถุประสงค์ของโครงการนี้คือต้องการให้ร้านอาหารเข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยเงื่อนไขดอกเบี้ยพิเศษ และปลอดหลักทรัพย์ในบางกรณี

จุรินทร์”มั่นใจส่งออกไทยปี 64 โตสองหลัก  เดินหน้าช่วยSMEs ฝ่าวิกฤติโควิด

“โดยตั้งแต่เริ่มดำเนินช่วง2เดือน สถาบันการเงิน ปล่อยเงินกู้ให้ร้านอาหารได้ถึง 2,892 ราย เป็นวงเงิน 2,622 ล้านบาท เฉลี่ย 700,000 บาทถึง 1,000,000 บาทต่อราย สามารถช่วยคนตัวเล็กได้จริง

เพราะในวงเงินทั้งหมดที่ปล่อยกู้เป็นสตรีทฟู้ดหรือร้านอาหารริมถนนรายย่อยถึง 73% จำนวน 2,111 ราย วงเงินกู้ 1,914 ล้านบาท ร้านอาหารจำนวนมาก 5 ลำดับแรกอยู่ในต่างจังหวัด ทั้งสิ้น 1.อุดรธานี 465 ราย 763 ล้านบาท 2.ขอนแก่น 171 ราย 288.3 ล้านบาท 3.นครราชสีมา 323 ราย 239 ล้านบาท 4.ภูเก็ต 45 ราย 21 ล้านบาท และ 5.เชียงใหม่ 5 ราย 2.7  ล้านบาท ซึ่งช่วยคนตัวเล็กในต่างจังหวัดด้วยถือว่าบรรลุเป้าหมายทั้งหมดตามที่ได้ตั้งไว้”

และโครงการที่ 2 คือ โครงการจับคู่กู้เงินสถาบันการเงิน กับ SMEs ส่งออก  ทั้งนี้ไทยมี SMEs ประมาณ 3,100,000 ราย  ในในจำนวนนี้เป็น SMEs ที่ส่งออกประมาณ 30,000 รายที่เป็นเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์กับสถาบันการเงินโดยเฉพาะ EXIM Bank เป็นสถาบันการเงินหลักร่วมกับ บสย.ในการปล่อยกู้  ทั้งนี้เป็นที่ทราบดีว่า ยอดส่งออกรวม 100% มียอดส่งออกที่เป็น SMEs ที่มีส่วนแบ่งตลาดเพียง  11% ถือว่าน้อยมากทั้งที่มีปริมาณมาก ดังนั้นจึงเป็นกลุ่มที่รัฐต้องเข้าไปช่วยดูแลโดยเฉพาะทั้งนี้หน้าที่หลักในการดูแล SMEs ที่กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการ เช่น การตั้งกรอ.พาณิชย์ โดย การจับมือระหว่างกระทรวงพาณิชย์กับเอกชนทำงานร่วมกัน  เพราะการส่งออกรัฐจะทำงานโดยลำพังไม่ได้ดังนั้นเอกชนต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญในการผลักดันการส่งออกไทย ทั้ง สมาคมธนาคารไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือ(สรท.)นอกจากนี้กระทรวงมีแผนจะเชิญตัวแทนสมาพันธุ์SMEs มาเป็นตัวแทนเอสเอ็มอีทั่วประเทศ เพื่อช่วยสะท้อนปัญหาจับมือเดินไปข้างหน้าต่อไป

จุรินทร์”มั่นใจส่งออกไทยปี 64 โตสองหลัก  เดินหน้าช่วยSMEs ฝ่าวิกฤติโควิด

การเน้นให้ SMEs ในต่างจังหวัด สร้างผลิตผล มูลค่าสูง ทำรายได้ให้กับภาคการผลิตและการส่งออก ส่งเสริมให้ภาคการผลิตจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา

จุรินทร์”มั่นใจส่งออกไทยปี 64 โตสองหลัก  เดินหน้าช่วยSMEs ฝ่าวิกฤติโควิด

เช่น การขึ้นทะเบียนสินค้าง GI  ซึ่งขณะนี้มีสินค้าGIครบทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ

และไทยยังได้เลื่อนลำดับเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาจากลำดับ50ขึ้นมาอยู่ที่ลำดับ43ของโลก  และเร่งการเปิดด่านเพื่อส่งเสริมการค้าชายแดน โดยไทยมีด่านอยู่ทั่วประเทศ 97 ด่าน มีการปิดด่านในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ไป 20 กว่าด่าน  แต่กระทรวงพาณิชย์ได้มีการเจรจาขอให้มีการเปิดด่านเพิ่มมาเปิดเป็น 46 ด่าน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยเฉพาะSMEs   

นอกจากนี้ยังมีการจัดพื้นที่แสดงสินค้าให้กับผู้ประกอบการSMEs ในงานแสดงสินค้านานาชาติในต่างประเทศ ถึง 10 - 15%ของพื้นที่การจัดงานเพื่อให้คนกลุมนี้ได้นำสินค้าไปเปิดตลาด   รวมถึงการเร่งส่งเสริมภาคบริการยุคใหม่ ทั้งเรื่องคอนเทนท์ การส่งเสริมภาคบริการสุขภาพการบริการด้านการศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อดึงนักท่องเที่ยว ดึงนักศึกษาเข้ามาในประเทศ รวมทั้งแพลตฟอร์มโลจิสติกส์ต่างๆที่เดินหน้าเป็นรูปธรรม ต้องนับหนึ่งจากคนตัวเล็กที่เรียกว่า SMEs หรือสตาร์ทอัพและการสร้างแม่ทัพบุกตลาดในประเทศและตลาดโลกรุ่นใหม่ ในการเข้ามาทำรายได้ให้ประเทศ เป็นที่มาของโครงการปั้น Gen Z เป็น CEOจับมือกับมหาวิทยาลัยทั่วประเทศจัดการอบรมตั้งเป้าหมาย 12,000 คนในปีนี้ซึ่งได้รับการตอบรับเกินความคาดหมายถึง 20,000 คน

จุรินทร์”มั่นใจส่งออกไทยปี 64 โตสองหลัก  เดินหน้าช่วยSMEs ฝ่าวิกฤติโควิด

อย่างไรก็ตาม เมื่อรวม2โครงการ สามารถช่วยSMEsช่วยได้ 3,144 ราย เป็นเงิน 4,222 ล้านบาท โดยโครงการที่2ซึ่งยังไม่ปิดโครงการ ขณะนี้ สามารถช่วยผู้ประกอบการSMEs ได้ 252 ราย เป็นเงิน 1,600 ล้านบาท

“ต้องบอกว่าโครงการที่กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการ สามารถช่วยคนตัวเล็กจริง ช่วยร้านอาหารสตรีทฟู้ด ร้านอาหารรายย่อยได้ และกระจายไปยังต่างจังหวัดเป็นส่วนใหญ่ กระจายไปภาคการผลิตต่างๆไม่ว่าสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าเกษตร ภาคการเกษตร การสื่อสารและโลจิสติกส์ เป็นต้น หวังว่า SMEs ส่งออกจะได้มาใช้ประโยชน์ในโครงการจับคู่กู้เงินสถาบันการเงินกับ SMEs ส่งออกต่อไป" นายจุรินทร์ กล่าว

จุรินทร์”มั่นใจส่งออกไทยปี 64 โตสองหลัก  เดินหน้าช่วยSMEs ฝ่าวิกฤติโควิด

สำหรับการส่งออกไทยในปีนี้นั้น กระทรวงพาณิชย์มองว่า การขยายตัวยังคงเป็นไปตามเป้า4% และคาดว่าทั้งปีน่าจะขยายตัวมากกว่า4% หรือตัวเลข2หลักเพราะการส่งออกไทยถือว่าเป็นเครื่องยนต์ที่จะช่วยพยุงเศรษฐกิจไทยในช่วงวิกฤติที่เกิดขึ้นในขณะนี้