“โควิด-19”ทำกินเจปีนี้เงียบเหงา เงินสะพัดแค่4หมื่นล.ติดลบในรอบ14ปี

01 ต.ค. 2564 | 07:13 น.
อัปเดตล่าสุด :01 ต.ค. 2564 | 14:23 น.

หอการค้าเผยโควิดฉุดเศรษฐกิจทำกินเจปีนี้ไม่คึกคักสะพัดแค่ 4 หมื่นล้านบาทติดลบครั้งแรกในรอบ 14 ปีที่ 14.5 %   พร้อม ประเมินน้ำท่วม ล่าสุดเสียหาย 1.5 หมื่นล้านบาท กระทบ GDP 0.1-0.2 %

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  เปิดเผยถึงผลสำรวจ พฤติกรรมการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลกินเจ และความคิดเห็นต่อสถานการณ์ปัจจุบัน  จากกลุ่มตัวอย่าง 1,208 พบว่า  เทศกาลกินเจปีนี้ไม่คึกคัก  โดยมูลค่าการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลปีนี้มีมูลค่าอยู่ที่ 40,147 ล้านบาท หดตัว 14.5% ซึ่งเป็นการหดตัวครั้งแรกจากที่หอการค้าสำรวจมาตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปัจจุบัน  หรือหดตัวในรอบ 14 ปี ทั้งนี้ เป็นมาจากปัญหาเรื่องของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อความกังวลของประชาชนรวมไปถึงกังวลเรื่องของราคาสินค้าว่าจะปรับตัวสูงขึ้น

“โควิด-19”ทำกินเจปีนี้เงียบเหงา  เงินสะพัดแค่4หมื่นล.ติดลบในรอบ14ปี

เทศกาลกินเจปีนี้จะเห็นว่าผู้บริโภคยังมีความกังวลทั้งเรื่องของสถานการณ์ของโควิด ความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นเพราะเศรษฐกิจไทยหดตัวต่อเนื่อง และยังไม่กล้าที่จะกลับมาจับจ่ายใช้สอยเต็มที่ และกังวลเรื่องเงินในกระเป๋าด้วย ส่งผลให้การจับจ่ายซื้อสินค้า ปริมาณของสินค้าน้อยลงเมื่อเทียบปีที่แล้ว และยังห่วงว่าสินค้าจะราคาสูงขึ้น  พร้อมกันนี้  ประชาชนยังต้องการให้ภาครัฐเข้ามาเยียวยา ช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด  เนื่องจากยังมีปัญหาเรื่องของรายได้ แต่การกลับมาคลายล็อกในหลายธุรกิจส่งผลในไตรมาส 4 ทำให้ความเชื่อมั่นของประชาชนกลับมาดีขึ้น  และยังคาดหวังการกระตุ้นเศรษฐกิจในไตรมาส 4

อย่างไรก็ตามประชาชนยังเชื่อว่าเศรษฐกิจไม่น่าจะฟื้นเร็ว ยังต้องการแรงกระตุ้นจากภาครัฐ แต่ทั้งนี้ เชื่อว่าจะค่อยๆดี จากการคลายล็อคดาวน์  โดยใช้จับจ่ายในสิ่งที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตโดยคาดว่าการจับจ่ายของประชาชนจะอยู่ที่ 10,000-12,000 ล้านบาทต่อวัน ซึ่งดีขึ้นจากช่วงโควิดที่การใช้จ่ายอยู่ที่ 5,000-6,000 ล้านบาทต่อวัน

 

 

  และจากนี้จะส่งผลให้มีเม็ดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจในไตรมาส 4 อยู่ที่ 5-6 หมื่นล้านบาทต่อเดือน ส่วนการท่องเที่ยวประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่กล้าที่จะออกไปเที่ยวเต็มที่ ดังนั้น  การฉีดวัคซีนจะเป็นปัจจัยที่จะทำให้ประชาชนคลายความกังวลมากขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 4 เป็นต้นไป

“โควิด-19”ทำกินเจปีนี้เงียบเหงา  เงินสะพัดแค่4หมื่นล.ติดลบในรอบ14ปี

ด้านนางอุมากมล สุนทรสุรัติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  กล่าวว่า  ผลสำรวจพฤติกรรมการกิจเจของประชาชน ส่วนใหญ่ในปีนี้ 60.9 % จะไม่กินเจ เพราะกังวลเรื่องของเศรษฐกิจไม่ดี ไม่ได้ต้องการจะกินเจ มีเพียง 39.1% ที่ยังคงเงินเจอยู่  เพราะยังต้องการอยากจะทำบุญอยู่  ขณะที่  ช่องทางในการเลือกซื้ออาหารเจ 87.8% ไปซื้อด้วยตัวเอง  ผ่านร้านค้า  ตลาดสด ร้านสะดวกซื้อ  และ 12.2% ไม่ได้ไปซื้อด้วยตัวเอง โดยซื้อผ่านตัวกลาง เช่น ไลล์แมน  วินมอเตอร์ไซต์  ขณะที่การคาดว่าราคาอาหาร วัตถุดิบในการปรุงอาหารเจปี 2564 เทียบปีที่ผ่านมา 47.6% แพงขึ้น  45.5% เท่าเดิม  และ 6.9% ลดลง ส่วนการใช้จ่ายโดยรวยังคงเท่าเดิมรวมไปถึงปริมาณของกินที่ใช้ในการกินเจ  ขณะที่  แหล่งที่มาของเงินที่ใช้  81.9% จากรายได้ประจำ  7.7% เงินช่วยเหลือจากภาครัฐ  และ4.5% เงินออม

“โควิด-19”ทำกินเจปีนี้เงียบเหงา  เงินสะพัดแค่4หมื่นล.ติดลบในรอบ14ปี

ส่วนทัศนะทั่วไปเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจในปัจจุบันและอนาคต  พบว่า  การจับจ่ายของประชาชนลดลงทั้งเรื่องของการท่องเที่ยว  ซื้อรถคันใหม่  สินค้าคงทน เป็นต้น  และประชาชนส่วนใหญ่มองว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับมาฟื้นได้  คือ  ครึ่งปีหลัง 2565 อยู่ที่ 48.7%   โดยประชาชนยังห่วงเรื่องของโควิด  แต่จากคลายล๊อคดาวน์ในหลายกิจการ จะทำให้ประชาชนมีความกล้ามากขึ้นในการใช้ชีวิตและจะกลับมาใช้ชีวิตได้ปกติหลังจากนี้อีก 4 เดือน  ส่วนการเปิดประเทศประชาชนส่วนใหญ่มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย  เพราะยังกังวลว่าจะเกิดการแพร่ระบาดรอบใหม่

 

“โควิด-19”ทำกินเจปีนี้เงียบเหงา  เงินสะพัดแค่4หมื่นล.ติดลบในรอบ14ปี

อย่างไรก็ดี  สิ่งที่ต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือเพื่อให้เศรษฐกิจกลับมาเป็นปกติ  คือ  ต้องการเงินเยียวยาต่ออีก  และกระจายผู้ที่ได้รับมากขึ้น  ต้องการให้การเมืองเสถียรภาพ  ต้องการให้หาแหล่งเงินทุนอัตราดอกเบี้ยต่ำ  ต้องการให้กระตุ้นการลงทุนของนักลงทุน  ช่วยหางานสำหรับผู้ตกงานและแก้ไขปัญหาค่าครองชีพ

“โควิด-19”ทำกินเจปีนี้เงียบเหงา  เงินสะพัดแค่4หมื่นล.ติดลบในรอบ14ปี

นายวชิร คูณทวีเทพ ผู้อำนวยการสถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจ สถานการณ์น้ำท่วมปี 2564 จากประธานหอการค้าจังหวัดและภาคธุรกิจ ในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ พบว่า ความเสียหายส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่เกษตร ซึ่งเสียหายประมาณ 22.4 % ของพื้นที่ทั้งหมด ในขณะที่พื้นที่เศรษฐกิจ และพื้นที่สาธารณะได้รับผลกระทบน้อย และเมื่อเทียบกับปี 2554 ส่วนใหญ่มองว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นในปีนี้น้อยกว่า โดยคาดว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะคลี่คลายเฉลี่ยภายใน 9 วัน ส่งผลทำให้ความเสียหายล่าสุดของพื้นที่เกษตร ณ วันที่ 30 กันยายน อยู่ที่ 36 จังหวัด พื้นที่เสียหาย 3.9 ล้านไร่ คิดเป็น2.64% ของพื้นที่ทั้งหมด

“โควิด-19”ทำกินเจปีนี้เงียบเหงา  เงินสะพัดแค่4หมื่นล.ติดลบในรอบ14ปี

อย่างไรก็ตาม เมื่อประเมินผลกระทบในภาพรวม คาดว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากน้ำท่วมในปีนี้จะอยู่ที่ประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท กระทบต่อ GDP ลดลง0.1-0.2% แยกเป็นความเสียหายต่อ บ้านเรือนประชาชน 1.3 พันล้านบาท ระบบสาธารณะ 4.9 พันล้านบาท พื้นที่เกษตร 7.1 พันล้านบาท พื้นที่การค้าภาคธุรกิจ 1.3 พันล้านบาทและอื่นๆ 300 ล้านบาท