“จุรินทร์”ประกาศ17มาตรการเชิงรุก สั่งดูแลผลไม้ปี65ล่วงหน้า

07 ต.ค. 2564 | 10:13 น.
อัปเดตล่าสุด :07 ต.ค. 2564 | 17:21 น.

“จุรินทร์” เตรียมมาตรการเชิงรุกไว้ทั้งสิ้น 17 มาตรการ จัดทำมาตรการปี 65 ล่วงหน้า  พร้อมเร่งรับรอง GAP กระจายผลผลิต เพิ่มสภาพคล่อง ทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เร่งขายต่างประเทศ ขายออนไลน์ ดูแลเรื่องแรงงานเก็บผลไม้ และบังคับใช้กฎหมายเคร่งครัด

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้ลงพื้นที่จันทบุรี เพื่อประชุมหารือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับตัวแทนเกษตรกร ผู้ประกอบการ ผู้รับซื้อ ผู้ส่งออก ผู้บริการขนส่ง ทูตพาณิชย์ในต่างประเทศ และพาณิชย์จังหวัดที่มีสินค้าผลไม้ เพื่อเตรียมมาตรการดูแลผลไม้ปี 2565 เป็นการล่วงหน้าทั้งระบบ โดยได้กำหนดมาตรการเชิงรุกจำนวน 17 มาตรการ ที่จะนำมาใช้ดำเนินการ รองรับผลผลิตผลไม้ปี 2565 ที่คาดว่าจะมีประมาณ 3.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 8%

“จุรินทร์”ประกาศ17มาตรการเชิงรุก  สั่งดูแลผลไม้ปี65ล่วงหน้า
         
สำหรับทั้ง 17 มาตรการ ได้แก่ 1.การเร่งรัดตรวจและรับรอง GAP ซึ่งมีเป้าหมายในปี 2565 ไม่ต่ำกว่า 120,000 แปลง 2.การช่วยผู้ประกอบการหรือเกษตรกรหรือล้ง กระจายผลผลิตผลไม้ออกนอกแหล่งผลิต กิโลกรัมละ 3 บาท ปริมาณ 80,000 ตัน 3.การเสริมสภาพคล่องให้ผู้ส่งออก โดยจะช่วยเหลือดอกเบี้ย 3% และช่วยผู้ส่งออกที่ส่งออกผลไม้อีกกิโลกรัมละ 5 บาท ปริมาณ 60,000 ตัน 4.กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสนับสนุนให้มีการใช้พ.ร.บ.เกษตรพันธสัญญา การทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าผลไม้ โดยจะสนับสนุนให้มีการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อเกษตรกรได้ทราบว่าขายผลไม้ได้เท่าไร มีคนซื้อที่มีหลักประกัน เซ็นสัญญาตามกฎหมายชัดเจนไม่ต่ำกว่า 30,000 ตัน

“จุรินทร์”ประกาศ17มาตรการเชิงรุก  สั่งดูแลผลไม้ปี65ล่วงหน้า
         
5.การส่งเสริมการบริโภคผลไม้ในประเทศ ประสานงานกับสายการบินต่าง ๆ เปิดโอกาสให้โหลดผลไม้ขึ้นเครื่องบินในประเทศไทยฟรี 25 กิโลกรัม ตั้งแต่เดือนเม.ย.2565 6.การช่วยสนับสนุนกล่อง พร้อมค่าจัดส่งผลไม้ที่ขายตรงจากเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ ไปยังผู้บริโภค จำนวน 3 แสนกล่อง จากปี 2564 จำนวน 2 แสนกล่อง 7.กระทรวงพาณิชย์จะสนับสนุนให้มีรถเร่ รถโมบาย ไปรับซื้อผลไม้ และนำออกจำหน่ายสู่ผู้บริโภคโดยตรงในช่วงที่ผลไม้ออกมาก โดยปี 2565 จะสนับสนุนที่ 15,000 ตัน


 

“จุรินทร์”ประกาศ17มาตรการเชิงรุก  สั่งดูแลผลไม้ปี65ล่วงหน้า

8.ประสานงานกับห้างท้องถิ่นและปั๊มน้ำมันต่าง ๆ เปิดพื้นที่ระบายผลไม้ให้กับเกษตรกร โดยเพิ่มปริมาณจากปี 2564 ที่ช่วย 1,500 ตัน ปี 2565 เพิ่มเป็น 5,000 ตัน 9.การส่งเสริมการขายผลไม้ในต่างประเทศ โครงการ Thai Fruits Golden Months ในตลาดจีน 12 เมือง 10.การเจรจาจับคู่ซื้อขายผลไม้ออนไลน์ มุ่งเน้นตลาดใหม่ เช่น อินเดีย และรัสเซีย เป็นต้น 11.จัดงานแสดงสินค้า THAIFEX-Anuga Asia เพื่อส่งเสริมผลไม้ไทยระดับนานาชาติ เดือนพ.ค.2565 12.จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ผลไม้ไทย 5 ภาษา

“จุรินทร์”ประกาศ17มาตรการเชิงรุก  สั่งดูแลผลไม้ปี65ล่วงหน้า

13.การอบรมให้ความรู้เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร ในเรื่องการค้าออนไลน์ เพื่อขายตรงให้กับผู้บริโภคและจะเพิ่มเติมหลักสูตรการส่งออกเบื้องต้นให้ด้วย ตั้งเป้าอย่างน้อย 1,000 ราย 14.มาตรการขอความร่วมมือจากผู้ว่าราชการจังหวัดที่เกี่ยวข้องในการเคลื่อนย้ายแรงงาน เพื่อให้สามารถดำเนินการเก็บผลไม้และส่งเสริมการขายผลไม้ 15.ในบางช่วงที่ขาดแคลนแรงงาน ให้ กอ.รมน. ส่งกำลังพลเข้ามาช่วยเก็บเกี่ยวและขนย้ายผลไม้ 16.กระทรวงพาณิชย์จะสั่งการให้ทีมเซลล์แมนจังหวัดและทีมเซลล์แมนประเทศประสานงานกันช่วยระบายผลไม้ของเกษตรกรทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ

“จุรินทร์”ประกาศ17มาตรการเชิงรุก  สั่งดูแลผลไม้ปี65ล่วงหน้า

และ 17.กระทรวงพาณิชย์และจังหวัด จะบังคับใช้กฎหมายโดยเคร่งครัด เพื่อให้เกษตรกรสามารถขายผลไม้ที่มีคุณภาพ และได้ราคาดี ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ โดยบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ กฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้าและกฎหมายชั่งตวงวัดโดยเคร่งครัด

 

“จุรินทร์”ประกาศ17มาตรการเชิงรุก  สั่งดูแลผลไม้ปี65ล่วงหน้า

นอกจากนี้ จะมีมาตรการพิเศษอีกหนึ่งอัน คือ จะเร่งรัดการเพิ่มมูลค่าจากพืชผลการเกษตรทั้งผัก ผลไม้ พืชเกษตรอื่น ๆ ให้เป็นสินค้าเกษตรมูลค่าสูง โดยการส่งเสริมให้มีการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เพราะสินค้าที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI จะสามารถเพิ่มมูลค่าได้ เฉพาะปี 2564 กระทรวงพาณิชย์ขึ้นทะเบียน GI ให้สินค้าทั่วประเทศไปแล้ว 152 รายการ และเมื่อต้นปีที่ผ่านมา สามารถจดทะเบียนสินค้า GI ได้ครบทั้ง 77 จังหวัดแล้ว และสินค้า GI ทั้งหมด 152 รายการ มีมูลค่ายอดขายถึง 40,000 ล้านบาท ส่วน จ.จันทบุรีมี GI แล้ว 3 ตัว คือ เสื่อจันทบูร พริกไทยจันท์ และล่าสุดทุเรียนจันท์ คาดว่าจะมียอดส่งออกปีหนึ่งไม่ต่ำกว่า 45,000 ล้านบาท