กรมทางหลวง เร่งซ่อมถนน-สะพานจมน้ำ100 แห่ง

17 ต.ค. 2564 | 07:50 น.
อัปเดตล่าสุด :17 ต.ค. 2564 | 15:01 น.

คมนาคม จี้กรมทางหลวง เร่งฟื้นฟูซ่อมแซมถนนหลังถูกน้ำท่วม กว่า100 แห่ง ให้ประชาชนสัญจรได้ เตรียมบุคลากร เครื่องมือ เครื่องจักร เต็มสูบ ขณะบางพื้นที่ยังได้รับอิทธิพลจากพายุทำให้มีปริมาณฝนตกอย่างต่อเนื่อง

 

กรณีนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมห่วงใยกำชับกรมทางหลวงเร่งซ่อมแซมฟื้นฟูเส้นทางให้ประชาชนสัญจรได้สะดวกปลอดภัยโดยเร็วที่สุดพร้อมเฝ้าระวังช่วยเหลือผู้ประสบภัย 24 ชั่วโมง โดยวันนี้ (17 ต.ค.2564) เวลา 13.30 น. สถานการณ์อุทกภัยพบทางหลวงถูกน้ำท่วม/ดินสไลด์  18  จังหวัด 59 สายทาง  การจราจรผ่านไม่ได้ 21 แห่งและพบว่าต้องเร่งซ่อมแซม กว่า100แห่ง 

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีความห่วงใยประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนเนื่องจากเส้นทางคมนาคมได้รับผลกระทบจากอุทกภัย  อีกทั้งท่านนายกรัฐมนตรี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังได้กำชับให้กระทรวงคมนาคม

เร่งสำรวจ ซ่อมแซม และแก้ปัญหาเส้นทางคมนาคมที่ได้รับความเสียหาย  จึงเร่งให้หน่วยงานในสังกัดให้เร่งซ่อมแซมฟื้นฟูเส้นทางเพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย รวมทั้งให้เร่งช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่ โดยจัดเตรียมบุคลากร เครื่องมือ เครื่องจักร เพื่ออำนวยความสะดวกในการสัญจรในพื้นที่เกิดเหตุอุทกภัยจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายและเฝ้าระวังสถานการณ์ 24 ชั่วโมง เนื่องจากขณะนี้บางพื้นที่ยังได้รับอิทธิพลจากพายุทำให้มีปริมาณฝนตกอย่างต่อเนื่อง

กรมทางหลวง เร่งซ่อมถนน-สะพานจมน้ำ100 แห่ง

สำหรับพื้นที่ที่ระดับน้ำลดลงได้บำรุงรักษาเส้นทางและเปิดให้ประชาชนสัญจรได้ตามปกติแล้ว แต่ยังมีบางพื้นที่ที่ยังมีน้ำท่วมขังอยู่จึงให้เร่งระบายน้ำ และสำหรับทางหลวงหมายเลข 2065 ตอน พล-ลำชี ที่ กม.33+600-33+707 ได้เร่งวางโครงสร้างสะพานเบลีย์ความยาว 107 เมตร ทอดข้ามจุดที่ได้รับความเสียหายจากอิทธิพลของพายุคาดว่าประมาณ 6-7 วันจะเปิดให้สัญจรได้ตามปกติ นอกจากนี้หน่วยงานในพื้นที่ยังได้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่อเนื่อง อาทิ แจกถุงยังชีพ ทำความสะอาดบ้านเรือนประชาชน ทำสะพานบริเวณวัดที่น้ำท่วมเพื่อให้สัญจรได้ชั่วคราว

สำหรับสถานการณ์ประจำวันที่ 17 ตุลาคม 2564  เวลา 13.30 น. พบทางหลวงถูกน้ำท่วม/ดินสไลด์ และสะพานชำรุด จำนวน 18 จังหวัด  ( 59 สายทาง 100 แห่ง)  โดยทางหลวงในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ได้แก่ 1) จ.ขอนแก่น   2) จ.มหาสารคาม 3) จ.นครราชสีมา 4) จ.ชัยภูมิ  5) จ.ลพบุรี  6) จ.นนทบุรี  7) จ.อ่างทอง  8)  จ.พระนครศรีอยุธยา  9) จ.สุพรรณบุรี 10) จ.อุทัยธานี 11) จ.เพชรบูรณ์ 12) จ.กรุงเทพมหานคร 13) จ.สมุทรปราการ 14) จ.ปราจีนบุรี 15) จ.สระแก้ว 16) จ.ชลบุรี  17) จ.ตาก 18) จ.กาญจนบุรี

 

โดยทางหลวงที่มีระดับน้ำสูง 5 สายทาง ได้แก่ ทล. 2  ท่าพระ – ขอนแก่น ระดับน้ำสูง 200 ซม.  ,ทล.213 มหาสารคาม-หนองขอน ระดับน้ำสูง 210 ซม.  ,ทล.32  นครหลวง-อ่างทอง ระดับน้ำสูง 125 ซม.  , ทล. 3263 อยุธยา–ไผ่กองดิน  ระดับน้ำสูง 175 ซม.  ,  ทล.340 สาลี-สุพรรณ ระดับน้ำสูง 125 ซม.  ซึ่งมีการจราจรผ่านไม่ได้ 21 แห่ง  ดังนี้

  1. จ.ขอนแก่น (การจราจรผ่านไม่ได้ 3 แห่ง) 

- ทล. 2 ท่าพระ – ขอนแก่น ช่วง กม.ที่ 329+913 (จุดกลับรถใต้สะพานกุดกว้าง) ระดับน้ำสูง 200 ซม.

- ทล. 2065 พล – ลำชี ช่วง กม.ที่ 33+625 น้ำกัดเซาะคันทางสไลด์ 

- ทล. 2065 พล – ลำชี ช่วง กม.ที่ 33+785 น้ำกัดเซาะคันทางสไลด์

2. จ.มหาสารคาม (การจราจรผ่านไม่ได้ 1 แห่ง) 

- ทล. 213 มหาสารคาม – หนองขอน ช่วง กม.ที่ 5+530 (อุโมงค์ท่าขอนยาง) ระดับน้ำสูง 210 ซม.

3. จ.นครราชสีมา (การจราจรผ่านไม่ได้ 2 แห่ง) 

-ทล.2150 คง-โนนไทย ช่วง กม.ที่ 40+000-41+000 ระดับน้ำสูง 20-55 ซม.

-               ทล.2369 พระทองคำ-ดอนไผ่ กม.ที่ 7+800-8+800 ระดับน้ำสูง 30+50 ซม.

 

4. จ.ชัยภูมิ (การจราจรผ่านไม่ได้ 3 แห่ง) 

- ทล.201 ช่องสามหมอ-บ้านแข้ กม. 185+000-185+300 (จุดกลับรถใต้สะพาน) ระดับน้ำสูง 20-60 ซม.

- ทล.201 ช่องสามหมอ-บ้านแข้ กม. 188+000-188+300 (จุดกลับรถใต้สะพาน) ระดับน้ำสูง 10-60 ซม.

- ทล.2484 ทางเลี่ยงเมืองภูเขียว กม.7+050-7+150 ระดับน้ำสูง 30-50 ซม.

5.จ.นนทบุรี (การจราจรผ่านไม่ได้ 3 แห่ง) 

- ทล. 302 สะพานพระนั่งเกล้า-ต่างระดับบางใหญ่ ช่วง กม.ที่ 16+950 (จุดกลับรถใต้สะพานคลองบางแพรก) ระดับน้ำสูง 30-35 ซม. 

- ทล. 302 สะพานพระนั่งเกล้า-ต่างระดับบางใหญ่ ช่วง กม.ที่ 17+000 (จุดกลับรถใต้สะพานคลองบางแพรกเพื่อมุ่งหน้าถนนกาญจนาภิเษก)  ระดับน้ำสูง 30-40 ซม. 

- ทล. 307 แยกสวนสมเด็จ-สะพานนนทบุรี ช่วง กม.ที่ 0+942 (จุดกลับรถใต้สะพานนนทบุรี) ระดับน้ำสูง 30 ซม.

 6.จ.อ่างทอง (การจราจรผ่านไม่ได้ 2 แห่ง) 

  - ทล.32  นครหลวง-อ่างทอง ช่วง กม.ที่ 32+607 (จุดกลับรถคลองกะท่อ) ระดับน้ำสูง 125 ซม. 

  - ทล.32  นครหลวง-อ่างทอง ช่วง กม.ที่ 33+200 (จุดกลับรถวัดค่าย) ระดับน้ำสูง 35 ซม. 

7. จ.พระนครศรีอยุธยา (การจราจรผ่านไม่ได้ 3 แห่ง) 

- ทล. 347 บางกระสั้น – บางปะหัน ช่วง กม.ที่ 40+860 (จุดกลับรถใต้สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา) ระดับน้ำสูง 15 ซม. 

- ทล. 3263 อยุธยา – ไผ่กองดิน ช่วง กม.ที่ 10+940 (จุดกลับรถใต้สะพานสีกุก) ระดับน้ำสูง 175 ซม. 

- ทล. 3263 อยุธยา – ไผ่กองดิน ช่วง กม.ที่ 11+100 (จุดกลับรถใต้สะพานสีกุก) ระดับน้ำสูง 175 ซม.

 

 8. จ.สุพรรณบุรี (การจราจรผ่านไม่ได้ 2 แห่ง) 

- ทล. 33 สุพรรณบุรี – นาคู ช่วง กม.ที่ 9+886 (สะพานคลองทับน้ำ) ระดับน้ำสูง 85 ซม. 

- ทล. 340 สาลี – สุพรรณบุรี ช่วง กม.ที่ 59+674 (สะพานเจ้าแม่ทับทิม) ระดับน้ำสูง 125 ซม. 

 

9. จ.ปราจีนบุรี (การจราจรผ่านไม่ได้ 1 แห่ง) 

- ทล. 33 ประจันตคาม – พระปรง ช่วง กม.ที่ 171+400-กม.171+900 ระดับน้ำสูง 15-50 ซม.

10. จ.กาญจนบุรี  (การจราจรผ่านไม่ได้ 1 แห่ง) 

- ทล. 3390 หนองรี – บ่อยาง ช่วง กม.ที่ 3+200-กม.4+200  ระดับน้ำสูง 70 ซม.

ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางหลวงเดินทางด้วยความระมัดระวังเพื่อความปลอดภัย พร้อมปฏิบัติตามป้ายเตือน ป้ายแนะนำและคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด และหากประชาชนต้องการสอบถามสภาพเส้นทาง สภาพการจราจร หรือต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานทางหลวง แขวงทางหลวง หมวดทางหลวงในพื้นที่ และสายด่วนกรมทางหลวง 1586  (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง) และสามารถติดตามการรายงานสถานการณ์สภาพเส้นทางได้ที่ทวิตเตอร์กรมทางหลวง @prdoh1 

 

กรมทางหลวง เร่งซ่อมถนน-สะพานจมน้ำ100 แห่ง