โรงงานน้ำตาลทรายแห่งประเทศไทย โพสต์ ระบบการแบ่งปันผลประโยชน์ชาวไร่ 70% และโรงงาน 30% สำหรับ อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล ของประเทศไทย มีระเบียบ การคำนวณค่าอ้อย กำหนดให้รอบปีการผลิตน้ำตาลแต่ละปี เริ่มต้นตั้งแต่เดือนตุลาคม สิ้นสุดเดือนกันยายน โดยราคาอ้อยจะมี 2 ส่วน คือ
"ราคาอ้อยขั้นต้น" คำนวณจาก "สมมติฐาน" ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เช่น ปริมาณอ้อย ค่าความหวานอ้อย ผลผลิตน้ำตาล ราคาน้ำตาล ราคาโมลาส อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท เป็นต้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้อ้างอิงการซื้อขายอ้อยในช่วงฤดูหีบ
สำหรับ "ราคาอ้อยขั้นสุดท้าย" 63/64 ยังไม่ถูกประกาศอย่างเป็นทางการ ซึ่งคาดว่าทุกเขตจะมีจ่ายกับพี่น้องชาวไร่อ้อย อัตราต่ำสุด 60 บาท และสูงสุด 110 บาทต่อตัน เป็นเงินส่วนเพิ่มจากราคาอ้อยขั้นต้น 920 บาทต่อตัน (เพิ่มเป็น 960 ถึง 1,030 บาทต่อตัน)
"เงินช่วยเหลือชาวไร่อ้อย" หลายโรงงานเริ่มทยอยจ่ายแล้ว เริ่ม จาก บริษัท ไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม จำกัด สาขาสกลนคร มีความห่วงใยชาวไร่คู่สัญญา ในการดำเนินการปลูกอ้อย ประจำปีการผลิต 2565/2566 จึงขอประกาศ สำรองจ่ายเงินค่าอ้อยเบื้องสุดท้าย 50 บาท/ตัน (ก่อนประกาศไม่รวม CCS.) จะโอนเข้าบัญชี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ในวันที่ 22 ตุลาคม 2564 ทั้งนี้ยอดเงินที่โอนเข้าบัญชีเป็นยอดเงินที่ไม่หักภาษี
บริษัท ไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม จำกัด สาขาศรีเทพ จ่ายค่าอ้อยเบื้องสุดท้าย 60 บาท/ตัน นัดโอน 21 ต.ค.
มาต่อที่ บริษัท น้ำตาลสระบุรี จำกัด ประกาศกำหนดการสำรองจ่ายเงินค่าอ้อยขึ้นสุดท้าย ปีการผลิต 2563/2564 เพื่อเป็นการสนับสนุนเกษตรกรชาวไร่อ้อย ให้เกิดสภาพคล่อง เป็นเงิน 60 บาทต่อตันอ้อย โดยโอนเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย ในวันที่ 26 ตุลาคม 2564
บริษัท น้ำตาล ขอนแก่น จำกัด (มหาชน) สำรองเงินจ่ายค่าอ้อยเบื้องสุดท้าย 50 บาท/ตัน จะทำการโอนเข้าบัญชีในวันที่ 27 ตุลาคม 2564 ในกรณีที่ชาวไร่มีหนี้ค้างเก่า ทางบริษัทจะทำการหักหนี้ก่อนจ่าย